http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,082,340
เปิดเพจ6,200,801

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

แนวข้อสอบเศรษฐกิจพอเพียง

(อ่าน 499/ ตอบ 1)

เว็บมาสเตอร์

#แนวข้อสอบเศรษฐกิจพอเพียง

ความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยในด้านใดมากที่สุด
ก. ความอ่อนแอทางวัฒนธรรม ข. การพึ่งพิงการส่งออกมากเกินไป
ค. การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ง. ความนิยมสินค้าจากต่างประเทศ
คำตอบ ง. ความนิยมสินค้าจากต่างประเทศ

การสร้างความสมดุลของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเน้นให้เกิดกับสิ่งใดมากที่สุด
ก. ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ข. ความสมดุลระหว่างสินค้าต่างประเทศกับสินค้าไทย
ค. ความสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมกับเกษตรกรรม
ง. ความสมดุลของความเจริญทางเทคโนโลยีกับ ภูมิปัญญาไทย
คำตอบ ง. ความสมดุลของความเจริญทางเทคโนโลยีกับ ภูมิปัญญาไทย

สาเหตุใดจึงต้องมีการประกาศใช้เศรษฐกิจพอเพียง
ก. สินค้าเกษตรมีราคาสูง ข. เศรษฐกิจมีการขยายตัวสูงขึ้น
ค. ปริมาณสินค้าในการบริโภคมากเกินไป ง. เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค
คำตอบ ก. สินค้าเกษตรมีราคาสูง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกในปีพ.ศ. 2504 เป็นต้นมาไทยมีการเน้นหนักในการ พัฒนาในด้านใด
ก. การทหาร ข. การเกษตร
ค. อุตสาหกรรม ง. ด้านการบริการ
คำตอบ ข. การเกษตร

จุดกำเนิดของแนวคิดทฤษฎีใหม่ของหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดใด
ก. จังหวัดสระบุรี ข. จังหวัดเชียงใหม่
ค. จังหวัดกาฬสินธ์ ง. จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำตอบ ก. จังหวัดสระบุรี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยเน้นการพัฒนาในด้านใดเป็นสำคัญ
ก. เน้นการส่งออก ข. เน้นการออม
ค. โครงสร้างพื้นฐาน ง. เน้นการกระจายรายได้
คำตอบ ข. เน้นการออม

ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการพึ่งพอตนเองตาม แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง
ก. การพึ่งตนเองทางด้านสังคม ข. การพึ่งตนเองทางด้านจิตใจ


ค. การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ ง. การพึ่งตนเองทางด้านการเมืองการปกครอง
คำตอบ ง. การพึ่งตนเองทางด้านการเมืองการปกครอง

หลักการใดไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง
ก. การพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ข. การสร้างนิสัยนิยมไทย
ค. การบริการดินและน้ำอย่างเหมาะสม ง. การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อการผลิตสินค้า
คำตอบ ง. การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อการผลิตสินค้า

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ประชาชน ดำเนินชีวิตในลักษณะใด
ก. ดำเนินชีวิตในลักษณะใด ข. ดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด
ค. ดำเนินชีวิตทางสายกลางยึดความพอดี ง. ดำเนินชีวิตเพื่อสร้างความสะดวกสบายตนเอง
คำตอบ ค. ดำเนินชีวิตทางสายกลางยึดความพอดี

ความพอเพียงทางเทคโนโลยีตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายว่าอย่างไร
ก. การใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน ข. การไม่ใช้เทคโนโลยีในการผลิต


ค. การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิต ง. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการผลิต
คำตอบ ก. การใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน

ความพอเพียงด้านสังคมตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงสิ่งใด
ก. สังคมเข้มแข็ง ข. สังคมมีหลากหลาย
ค. คนในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี ง. คนในสังคมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร
คำตอบ ค. คนในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี

การสร้างความพอเพียงด้านจิตใจของประชาชนหน่วยทางสังคมใดที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างความพอเพียง
ก. ศาสนา ข. การปกครอง
ค. ทางการศึกษา ง. สถาบันครอบครัว
คำตอบ ก. ศาสนา

คุณธรรมด้านใดที่มีความสำคัญกับหลักเศรษฐกิจ พอเพียงมากที่สุด
ก. เป็นคนมีศีลธรรม ข. มีความละอายต่อบาป
ค. เป็นผู้มีความโอบอ้อมอารี ง. มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร
คำตอบ ง. มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร

หลักการใดไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง
ก. การพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ข. การสร้างนิสัยนิยมไทย
ค. การบริการดินและน้ำอย่างเหมาะสม ง. การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อการผลิตสินค้า
คำตอบ ง. การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อการผลิตสินค้า

แนวทฤษฎีใหม่ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรใดมากที่สุด
ก. มนุษย์ ข. ทรัพยากรน้ำ
ค. ทรัพยากรดิน ง. ทรัพยากรป่าไม้
คำตอบ ค. ทรัพยากรดิน

ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขององค์ ดำเนินชีวิตแบบใด
ก. ดำเนินชีวิตที่พอเพียง ข. ตามยถากรรม
ค. ดำเนินชีวิตตามปกติ ง. ดำเนินชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย
คำตอบ ก. ดำเนินชีวิตที่พอเพียง

การทดลองเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ครั้งแรกที่จังหวัดใด
ก. จังหวัดกาฬสินธุ์ ข. จังหวัดฉะเชิงเซา
ค. จังหวัดสระบุรี ง. จังหวัดสุราษฎ์ธานี
คำตอบ ค. จังหวัดสระบุรี

เนื้อที่ในการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่จะต้องมีเนื้อที่ประมาณกี่ไร่
ก. ประมาณ 5 ไร่ ข. ประมาณ 10 ไร่
ค. ประมาณ 20 ไร่ ง. ประมาณ 30 ไร่
คำตอบ ข. ประมาณ 10 ไร่

ทฤษฎีใหม่และการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงมุ่งแก้ไขปัญหาในด้านใดในสังคมเป็นสำคัญ
ก. ความยากจน ข. ปัญหาการก่อการร้าย
ค. ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ง. ปัญหาความแตกแยกของประชาชน
คำตอบ ก. ความยากจน

หลักการของทฤษฎีใหม่มีทั้งหมดจำนวนกี่ขั้น
ก. 2 ขั้น ข. 3 ขั้น
ค. 4 ขั้น ง. 5 ขั้น
คำตอบ ข. 3 ขั้น

พื้นที่ส่วนที่ 2 ในทฤษฎีเน้นให้ประชาชนปลูกข้าวเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ก. ไว้จำหน่ายในท้องถิ่น ข. แลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดอื่น


ค. เพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ง. เพื่อส่งไปยังต่างประเทศเพื่อจำหน่าย
คำตอบ ค. เพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว

ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่ 2 เป็นการสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ระดับใด
ก. ระดับบุคคล ข. ระดับครอบครัว
ค. ระดับสังคมหรือชุมชน ง. สร้างความเข้มแข็งให้กับญาติพี่น้อง
คำตอบ ค. ระดับสังคมหรือชุมชน

เศรษฐกิจแบบฟองสบู่เริ่มปรากฏในประเทศไทยเมื่อใด
ก. ปี พ.ศ. 2537 ข. ปี พ.ศ. 2538
ค. ปี พ.ศ. 2539 ง. ปี พ.ศ. 2540
คำตอบ ง. ปี พ.ศ. 2540

ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ของไทยมีสาเหตุมาจากปัจจัยใดมากที่สุด
ก. การขยายตัวทางด้านเกษตรกรรม
ข. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
ค. การขยายตัวของการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ
ง. การขยายตัวทางด้านการลงทุนด้าน อสังหาริมทรัพย์
คำตอบ ง. การขยายตัวทางด้านการลงทุนด้าน อสังหาริมทรัพย์

ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยรัฐบาลได้นำค่าเงินบาทไปผูกยึดติดกับค่าเงินของประเทศใด
ก. อังกฤษ ข. ฝรั่งเศส
ค. สหรัฐอเมริกา ง. แคนนาดา
คำตอบ ค. สหรัฐอเมริกา

การแก้ปัญหาวิกฤติของไทยตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ประชาชนหันมาประกอบอาชีพใด
ก. รับจ้าง ข. การทำการเกษตร
ค. การทำธุรกิจส่วนตัว ง. ลูกจ้างบริษัทเอกชน
คำตอบ ข. การทำการเกษตร

เศรษฐกิจแบบฟองสบู่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลชุดใด
ก. พลเอกสุจินดา คราประยูร ข. รัฐบาลชุด นายชวน หลีกภัย
ค. รัฐบาลชุด นายบรรหาร ศิลปอาชา ง. รัฐบาลชุด นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
คำตอบ ข. รัฐบาลชุด นายชวน หลีกภัย

การประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดใด
ก. นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ข. พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ค. พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ง. นายชวน หลีกภัย
คำตอบ ค. พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ


          1. ข้อใดไม่ใช่หลักการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง


           1. หลักการจัดการ   พึ่งพากันเองเป็นหลัก
           3. พึ่งพาตนเองเป็นหลัก      4. หลักการประหยัดมัธยัสถ์ให้มากที่สุด

 


          2. นักเรียนสามารถปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวได้อย่างไร


                  1.  ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน   2. หารายได้เข้าครอบครัว
              พัฒนาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น   4. อบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว

 


          3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงระดับเกษตรกร


     เป็นเศรษฐกิจเพื่อการเกษตรที่เน้นพึ่งพาตนเอง   2.   เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
       3.   ส่งเสริมให้ลงทุนเพื่อหวังผลกำไร   4. อบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว

 


          4. จุดมุ่งหมายของการผลิตสินค้าตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะอย่างไร


              1.สนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก  สนองความต้องการของครอบครัวเป็นหลัก
              3. สนองความต้องการของชุมชนเป็นหลัก      4. สนองความต้องการของต่างประเทศเป็นหลัก

 


          5. การพระราชทานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ เนื่องจากประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ใด


               1. เกิดความวุ่นวายทางการเมือง    2. เกิดภัยธรรมชาติรุนแรง
          เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ   4. เกิดความแตกแยกในสังคมอย่างหนัก

 


          6. วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจะใช้แนวทางใด


       1. การสั่งการของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ     2. การใช้ความคิดอย่างรอบคอบของตนเองเป็นสำคัญ
    การใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา    4. การใช้กำลังความเด็ดขาดในการแก้ปัญหา

 


          7.การจะดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ปฏิบัติจะต้องมีคุณธรรมสำคัญในข้อใดสำคัญที่สุด


                ความขยันหมั่นเพียร   2. ความซื่อสัตย์สุจริต
                    3. ความกตัญญูกตเวที   4.  ความเมตตากรุณา

 


          8. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะที่สำคัญของหลักการ “ เศรษฐกิจพอเพียง ”


                   1. พึ่งตนเองเป็นหลัก      2. รวมตัวกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                   3. ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่  ให้ความสำคัญกับการอุตสาหกรรม

 


          9. อาชีพใดน่าจะเกี่ยวข้องกับ “ ทฤษฎีใหม่ ” มากที่สุด


                 1. ข้าราชการ      2.  ค้าขาย 
                 3. นักธุรกิจ  เกษตรกรรม

 


          10. การจัดสรรที่ดินในการทำการเกษตรตามแนว “ การเกษตรทฤษฎีใหม่ ” แบ่งพื้นที่ สระน้ำ:ปลูกข้าว:ปลูกพืช:ที่อยู่อาศัย ตามหลักได้ถูกต้องตรงกับข้อใด


                   30% : 30% : 30% : 10%   2.   20% : 40% : 10% : 30% 
                    3.  20% : 30% : 20% : 30%   4.   20% : 10% : 30% : 40%

 


          11. ตามหลักทฤษฎีใหม่ให้แบ่งพื้นที่เป็น ๔ ส่วน กิจกรรมใดรวมอยู่ในส่วนของที่อยู่อาศัย


               1. ปลูกไม้ยืนต้น   2. เลี้ยงปลา  
           เลี้ยงเป็ด ไก่   4. ปลูกพืชผักและสมุนไพร

 


          12. “มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี” ตามเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง


           มีความพร้อมรับสถานการณ์   2. มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ 
               3. ภูมิความรู้   4. มีความกระตือรือร้น   

 


          13. ข้อใดสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด


                  1.  การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
                  2.  การสั่งสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ
              การสร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควรไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ
                  4.  การส่งเสริมสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคในชุมชนออกไปขาย

 


          14. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนาเรื่องใด


               มัชฌิมาปฏิปทา    2. สติสัมปะชัญญะ
                  3.   ศีล สมาธิ ปัญญา   4. สัมมาอาชีวะ

 


          15. หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ระเบิดจากข้างใน” หมายถึง


                  1.  ขยายชุมชนจากเล็กไปใหญ่   สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
                  3. เน้นการเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ในชุมชน       4. การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

 


          16.  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เน้นการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร


               1. โครงการแก้มลิง   2. โครงการแกล้งดิน   
          โครงการธนาคารข้าว   4. โครงการปลูกหญ้าแฝก

 


          17. โครงการแก้ไขและป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร


               1. โครงการแกล้งดิน    โครงการแก้มลิง
               3.  โครงการธนาคารข้าว     4.    โครงการปลูกหญ้าแฝก

 


          18.  โครงการลดปัญหาดินเปรี้ยว


             1. โครงการแก้มลิง  โครงการแกล้งดิน
             3. โครงการธนาคารข้าว      4. โครงการปลูกหญ้าแฝก

 


          19. โครงการป้องกันปัญหาดินพังทลาย


                   1. โครงการแก้มลิง    2.  โครงการแกล้งดิน
                  3.  โครงการธนาคารข้าว โครงการปลูกหญ้าแฝก  

 


          20. หลักการพัฒนาตามโครงการพระราชดำริที่ทรงเน้นมากที่สุด คือ


               1. ความทันสมัย   ความยั่งยืน
               3. ความเหมาะสมกับพื้นที่       4.  ความจำเป็น

 #แนวข้อสอบท้องถิ่น# ดักข้อสอบเตรียมปี 2566#

 #เฟซบุ๊กฝึกทำแนวข้อสอบท้องถิ่นหรือส่วนราชการอื่นๆ

https://www.facebook.com/groups/1539791162903094

เว็บไซต์ https://prapun2523.blogspot.com





#ฟังคลิปเสียงเฉลย
#ข้อ 1 ดูเฉลยที่




แนวข้อสอบท้องถิ่น ข้อ 2
ดูพร้อมเฉลยและคำอธิบายได้ที่
























































































































































#แนวข้อสอบท้องถิ่น
#ข้อ 1 ดูเฉลยที่


แนวข้อสอบท้องถิ่น ข้อ 2 

ดูพร้อมเฉลยและคำอธิบายได้ที่

#ติดตามข้อสอบพร้อมเฉลยจะทยอยลงเรื่อยๆได้ที่นี่ จนถึงวันสอบครับ (ไม่มีไฟล์ให้โหลดนะครับ แต่สามารถดูผ่านเว็บบล็อคนี้ครับ#
#ฝึกทำที่เฟซบุ๊ก  https://www.facebook.com/groups/1539791162903094
#หากต้องการสนับสนุนค่ากาแฟ#
10 - 40 - 60 - 100 บาท
แล้วแต่จะอนุเคราะห์นะครับ
ไม่ได้บังคับ



























































/
********************************
ให้กำลังใจ
 finish ForU โชคดีเฮงๆ









Link: คลิ๊กที่นี่

เว็บมาสเตอร์

หลักการพัฒนาชุมชนทั้ง 10 ประการ นี้ นิรุติ ไชยกูล (ม.ป.ป. : 3) ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2534 : 11 – 12) และสัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541 : 15 - 16) ได้เสนอแนะและอธิบายไว้ ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 10 ประการ ดังต่อไปนี้


(1) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน  เป็นกระบวนที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในทุกขั้นตอน คือ ร่วมคิด ร่วมตัดสิ้นใจ ร่วมวางแผน ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมประเมินผล ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลของการพัฒนา ทั้งในรูปของบุคคล กลุ่มและองค์กร อย่างแท้จริงและด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่ด้วยความเกรงใจหรือถูกบังคับ การมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเป็นหลักการพื้นฐานของการพัฒนาชุมชน เพราะเป็นการสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองมองเห็นและตระหนักถึงศักยภาพหรือพลังความรู้ ความสามารถของตนเอง เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนและงานพัฒนาชุมชน (Sense of Belonging) สามารถดำเนินงานพัฒนาชุมชนของตนได้สำเร็จ และนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง


               (2) หลักการพึ่งตนเองของชุมชน  จุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาชุมชน คือ การพึ่งตนเองของประชาชน (Self Reliance) ตามศักยภาพหรือพลังความสามารถที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งศักยภาพของคน ทรัพยากร และสิ่งต่างๆ ให้ประชาชนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นผู้รู้สภาพความเป็นจริงของปัญหาในชุมชนมากกว่าผู้อื่น และต้องดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนนานกว่าผู้อื่น การพึ่งตนเองได้ของชุมชนเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล และเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาชุมชนเพราะศักยภาพสูงสุดของชุมชน ก็คือ การพึ่งตนเองในด้านต่างๆ โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือหรือพึ่งพาชุมชนอื่นอีกต่อไปนั้นเอง ดังนั้น รัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ จึงพึงตระหนักในหลักการพัฒนาชุมชนข้อนี้  เนื่องจากปัญหาประการหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ การเข้าไปให้ความช่วยเหลือชุมชนมากเกินไป จนเกิดความเคยชิน ไม่สามารถพึ่งตนเองได้


               (3) หลักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การพัฒนาชุมชนเป็นกิจกรรมที่เป็นของส่วนร่วมไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การทำงานร่วมกันของประชาชนในรูปของกลุ่มและองค์กร จึงเป็นหลักการของการพัฒนาชุมชนที่สำคัญประการหนึ่ง กลุ่มและองค์กรเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานพัฒนาชุมชน เป็นแหล่งกลางของการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติและร่วมกันรับผิดชอบ กลุ่มและองค์กรยังเป็นแหล่งผนึกกำลังหรือความรู้ ความสามารถของชุมชนทำให้เกิดศักยภาพหรือพลังในการพัฒนาชุมชนอย่างเต็มที่ ทั้งยังส่งเสริมหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักการพึ่งตนเองของประชาชนที่กล่าวมาแล้วให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อไปอีกด้วย นอกจากนี้กลุ่มและองค์กรยังช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าการพัฒนาชุมชนจะไม่ประสบความล้มเหลว เพราะถึงแม้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสบปัญหาและไม่เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนา แต่กลุ่มและองค์กรยังคงมีอยู่ สามารถดำเนินงานพัฒนาต่อไปได้อีก


               (4) หลักการค้นหาและพัฒนาผู้นำ ผู้นำในการพัฒนาชุมชนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมีบุคลิกภาพเด่นเป็นพิเศษ เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลในชุมชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งที่ได้รับการแต่งตั้ง และได้รับการเลือกตั้งได้เป็นผู้นำกลุ่มหรือคนอื่นๆ เพื่อร่วมกันดำเนินงานพัฒนาให้บรรลุเป้าหมาย ผู้นำท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน เพราะเป็นผู้ที่ประชาชนในชุมชนเคารพนับถือ สามารถจูงใจและก่อให้ความศรัทธาในหมู่ประชาชนได้ จึงมีลักษณะเป็นตัวเชื่อมประชาชนกับผู้ที่เกี่ยวข้องในงานพัฒนาชุมชน เป็นผู้มีบทบาทในการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มขึ้นในชุมชน ผู้นำชุมชนจึงเป็นหลักอันสำคัญในการพัฒนาชุมชน ดังนั้นการค้นหาและการพัฒนาผู้นำ จึงเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


               (5) หลักการประสานงาน การพัฒนาชุมชนมีบุคคล กลุ่มและองค์กรเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานพัฒนาชุมชนจึงต้องใช้หลักการประสานงานเป็นหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การประสานงานเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประสานคน ประสานทรัพยากร ประสานแผนและโครงการ ประสานผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น อันเป็นการร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งการพัฒนาสิ้นสุดลง การประสานงาน มีทั้งลักษณะที่แบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ และร่วมมือกันรับผิดชอบในกิจกรรมร่วมกัน ทำให้การพัฒนาชุมชนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ เป็นไปตามลำดับ ไม่ซ้ำซ้อน ประหยัดแรงงาน ทรัพยากร และเวลา


               (6) หลักความเข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชน วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ประชาชนยอมรับและนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน วัฒนธรรมเกิดจากการกระทำหรือผลงานของมนุษย์ ทั้งที่เป็นวัตถุ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ เป็นต้น วัฒนธรรมบางอย่างอาจจะเป็นภูมิปัญญาของชุมชน คือ เกิดจากชาวบ้านในชุมชนเอง วัฒนธรรมในแต่ละชุมชนอาจจะเหมือนหรือแตกต่างไปจากชุมชนอื่นก็ได้ แต่มีลักษณะร่วมกันประการหนึ่งคือ มีความสำคัญต่อการทำกิจกรรมของประชาชนในชุมชน และจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเข้าใจในวัฒนธรรมและวิธีการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนนั้นเอง


               (7) หลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน ปรัชญาและความคิดของระบอบประชาธิปไตยกับปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน มีความคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้ความสำคัญแก่ประชาชน ให้ประชาชนมีสิทธิ อิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ในการดำรงชีวิตตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น หลักการพัฒนาชุมชนประการหนึ่ง คือ หลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน คือ กิจกรรมพัฒนาชุมชนต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนในชุมชน ด้วยความสมัครใจไม่ใช่ถูกบังคับ เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกันจะใช้เสียงข้างมากตัดสิน ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีโอกาที่จะแสดงความคิดเห็นได้เท่าเทียมกัน มีความสำคัญทัดเทียมกัน และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเท่าเทียมกัน เป้นต้น


               (8) หลักการสบทบ การพัฒนาชุมชนมุ่งที่จะให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยใช้ประชาชนและทรัพยากรในชุมชนเป็นสำคัญ แต่ขีดความสามารถของประชาชนและชุมชนนั้นมีขีดจำกัด กล่าวคือ มีขีดความสามารถในระดับหนึ่ง ไม่สามารถระดมมาใช้อีกได้ต่อไป การสนับสนุนช่วยเหลือจากภาครัฐบาลและเอกชนที่อยู่ภายนอกชุมชน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่การสนับสนุนช่วยเหลือนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสนับสนุนส่งเสริมที่เป็นแนวทางไปสู่การช่วยเหลือตนเองและการพึ่งตนเองได้ของชุมชน ไม่ใช่ต้องพึ่งพารัฐบาลและองค์การเอกชนตลอดไป ดังนั้น หลักการสมทบจึงเป็นการสมทบกันระหว่างขีดความสามารถทั้งหมด  ที่ชุมชนมีอยู่กับการสนับสนุนส่งเสริมของรัฐบาลและองค์กรเอกชนต่างๆ  อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการพัฒนาของชุมชนต่อไป


               (9) หลักการขยายผล การพัฒนาชุมชนมีโครงการและกิจกรรมดำเนินงานหลายโครงการและหลายกิจกรรม โครงการและกิจกรรมใดที่ปประสบความสำเร็จแล้ว ควรเป็นแบบอย่างให้กับโครงการและกิจกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน  ทั้งโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในชุมชนเดียวกัน และที่ดำเนินการอยู่ในชุมชนอื่นๆ เพราะตัวอย่างของความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนจะกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาไม่ท้อถอยในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา และยังใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการพัฒนาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จให้เหมาะสม และนำไปสู่ความสำเร็จในที่สุด หลักการขยายผลนี้ควรจะทำในลักษณะที่เป็นเชิงรุก คือ การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจาการพัฒนาให้ชุมชนอื่นๆ ได้รับรู้ด้วยรูปแบบ และวิธีการต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อชุมชนอื่นๆแล้ว ยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนในชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา และนำไปสู่การพัฒนาอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย


               วิธีการขยายผลอีกอย่างหนึ่ง คือ การสร้างเครือข่ายชุมชน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ ไว้ด้วยกัน เพื่อเรียนรู้กระบวนการพัฒนาชุมชนของกันและกัน และสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน จะทำให้การพัฒนาชุมชนแผ่ขยายออกไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมากยิ่งขึ้น


               (10) หลักการจัดการชุมชน คือ คนในชุมชนมีความสามารถในการจัดการตนเอง  และชุมชนได้ มีความสามารถในการวางแผนและโครงการ สามารถจัดกระบวนการหรือเตรียมการเพื่อดำเนินการตามแผนงานและโครงการได้ มีทักษะในการดำเนินการตามแผนและโครงการ และสามารถทำการประเมินผลงานได้ด้วยตนเอง หลักการจัดการชุมชน เป็นหลักการสำคัญที่สนับสนุนส่งเสริมหลักการพัฒนาชุมชนอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย

s://www.facebook.com/prapun2523

Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view