http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,086,007
เปิดเพจ6,205,663

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

หากท่านพบว่าในองค์กรของท่าน มีบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความรับผิดชอบและจริยธรรม ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร

(อ่าน 489/ ตอบ 1)

เว็บมาสเตอร์

คำถาม  หากท่านพบว่าในองค์กรของท่าน มีบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความรับผิดชอบและจริยธรรม  ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร ให้องค์กรของท่าน มีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีความรับผิดชอบ เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการทำงาน และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้    จงอธิบาย   โดยมีองค์ประกอบในการให้คะแนน3 ส่วน ได้แก่ 1. หลักการ แนวคิดและทฤษฏี หรือระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 2. การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน 3. การกำกับ ติดตามและประเมินผล

ตอบ                        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่เกิดตามหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งมีความเป็นอิสระ (Autonomy) ในการปกครองตนเอง  โดยทั่วไปแล้ว อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือการจัดทำ“บริการสาธารณะ” จัดทำภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้แล้วทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงต้องยึดถือระเบียบกฎหมายในการปฏิบัติงาน และมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน          

                            ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรในองค์กรของข้าพเจ้า มีความรู้ความเข้าใจและมีความรับผิดชอบในงานที่ต้องปฏิบัติรวมถึงมีจริยธรรม ข้าพเจ้าขอเสนอแนวคิดในการบริหารจัดการ โดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล(Good Governance)มีองค์ประกอบที่สำคัญ6 ประการดังนี้ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส 4. หลักความมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า และยึดเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้  1.เกิดประโยชน์สุขของประชาชน  2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ  4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกิดความจำเป็น  5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์  6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ  7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562ตามมาตรา5 มาตรฐานทางจริยธรรม มี 7 ประการ คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่  (3) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม  (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ  (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ  (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ  และประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางทางจริยธรรมของข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมและเทศชาติ อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม มี9 ประการ ดังนี้ ) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ๒) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ ๓) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ๔) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย ๕) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ ๖) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ๗) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้ ๘) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๙) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร ทั้งนี้ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย และน้อมนำ“หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานด้วย          ในส่วนของการนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงานนั้น ในการแก้ไขปัญหาบุคลากรขาดความรู้หรือความเข้าใจในการปฏิบัติงาน  ต้องมีการจัดทำแผนงาน/โครงการอบรม และส่งเสริมให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้างทุกคน ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย รวมถึงมีการส่งพนักงานหรือลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นจัดขึ้นไว้ตามตารางการจัดอบรมในแต่ละหลักสูตรในแต่ละปี และมีกระบวนการจัดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประเภทของความรู้ 1. ความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์การทำงาน การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดได้ดีถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นความรู้ที่มักปรากฏในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบคนไทย 2. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เห็นชัดเจน จับต้องได้ ได้แก่ความรู้ที่เป็น ทฤษฎี ตำรา สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และ รายงานต่าง ๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้ควรเปลี่ยนสถานภาพสลับ ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา ความรู้ในตัวคน (Tacit Knowledge) ควรถูกสกัดออกมาเป็นตำรา คู่มือ เอกสาร และในทางเดียวกันเมื่อคนนำความรู้จากตำรา (Explicit Knowledge) ไปปฏิบัติ ต่อเมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน แล้วนำกลับไปปฏิบัติใหม่ ก็จะเกิดความรู้ (ที่เพิ่มขึ้น) ในตัวคน เป็นการพัฒนาหรือยกระดับหมุนเกลียวความรู้ให้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด โดยอาศัยกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน (KM Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้  1) การบ่งชี้ความรู้ – เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้ อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร  2) การสร้างและแสวงหาความรู้ – เช่น การสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, การจัดความรู้ที่ ใช้ไม่ได้แล้ว  3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบใน อนาคต  4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ – เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้ สมบูรณ์ 5) การเข้าถึงความรู้ – เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ – ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้าม สายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น  7) การเรียนรู้ – ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้> นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง   ในการแก้ไขปัญหาบุคลากรขาดความรับผิดชอบนั้นเป็นปัญหาเรื่องของคนที่มีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ เช่น มีทัศนคติที่เป็นลบกับงาน กับหัวหน้า หรือกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ / ทักษะไม่เพียงพอกับตำแหน่งหน้าที่ /ไม่ยอมรับหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลง /เรื่อยเฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น /ขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ /ไม่มีการพัฒนาและไม่ชอบการเรียนรู้ /ติดโซเชียล เน็ตเวิร์คจนทำให้ทำงานไม่เต็มที่ ฯลฯ  แนวทางในการแก้ไขปัญหา ขั้นแรกนั้นต้องแยกแยะ“คน” ในหน่วยงานนั้น (ถ้าจะเน้นแก้เฉพาะหน่วยงาน) หรือ คนในองค์กร (ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องคนทั้งองค์กร) ออกมาให้ชัดเจนครับ ว่ามีกี่กลุ่ม? กลุ่มที่สร้างปัญหา  กลุ่มนี้ถ้าสร้างปัญหาอย่างร้ายแรง เช่น ทุจริต หรือทัศนคติลบซ้ำซากไม่ยอมเปลี่ยนแปลงและยังชักนำคนอื่นๆ ให้มีทัศนคติลบไปด้วย หรือสร้างปัญหาซ้ำซากกับประชาชนแบบไม่แคร์อะไร “อย่าเก็บกลุ่มนี้ให้สร้างปัญหาต่อไปเป็นอันขาด!”  กลุ่มที่สร้างภาระ กลุ่มนี้อาจไม่ถึงกับสร้างปัญหา แต่สร้างภาระให้กับหน่วยงาน ส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่อยู่มานาน แต่ไม่มีการพัฒนา ไม่ชอบเรียนรู้ นับวันยิ่งเป็นภาระขององค์กร ขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กรว่าจะมองกลุ่มนี้ยังไง? เห็นว่าอยู่มานานก็ไม่อยากไปทำอะไรกับกลุ่มนี้ ส่วนมากจึงปล่อยให้กลุ่มนี้สร้างภาระต่อไป กลุ่มที่ไม่สร้างอะไรชัดเจน อาจเป็นกลุ่มที่ทัศนคติพอใช้แต่ขาดการเรียนรู้ ไม่มีใครเป็น Coach ให้ ควรให้โอกาสกลุ่มนี้ พัฒนาดีๆ จะกลายเป็นกลุ่มที่ช่วยสร้างผลงานหรือรายได้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมให้กับองค์กรได้ ส่วนกลุ่มที่สร้างผลงาน ให้กับหน่วยงานและองค์กร ไม่ต้องคิดมาก ดูแลรักษาและต่อยอดกลุ่มนี้ให้ดีที่สุด เพราะเป็น ชนกลุ่มน้อย ที่มีคุณค่าที่สุดของหน่วยงานและองค์กร! เมื่อแยกแยะแต่ละกลุ่มได้ชัดเจน การคุยและการ Coaching แต่ละกลุ่ม คือขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำ แล้วจะพบว่า แต่ละกลุ่มควรจะให้โอกาส จะพัฒนาอย่างไร กลุ่มไหนถึงที่สุดแล้วต้องตัดทิ้งอย่าลังเล! กลุ่มไหนที่ควรให้โอกาส? กลุ่มไหนที่ควรต่อยอด? หลังจากนั้นก็ต้องติดตามผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อ Feedback ให้แต่ละกลุ่มรับรู้และให้ผู้บริหารรับทราบ เพื่อที่จะหาข้อสรุปว่า กลุ่มที่ให้โอกาสแล้ว ดีขึ้นมากหรือน้อย? และยังมีกลุ่มที่จำเป็นต้องตัดทิ้งอีกหรือไม่? พูดง่ายๆ ก็คือ เงินที่จ่ายเป็นเงินเดือนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้กับกลุ่มที่ถูกตัดทิ้ง เป็นการใช้จ่ายที่ไร้ค่า แต่จะมีคุณค่ามากกว่าถ้ามาจ่ายให้กับกลุ่มที่ควรได้รับ ในท้ายที่สุด องค์กรหรือหน่วยงานของท่าน จะเหลือแต่ “กลุ่มคนที่มีคุณภาพสูง” กับ “กลุ่มคนที่มีคุณภาพใช้ได้” เพียง 2 กลุ่ม ภายในเวลากี่เดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานที่มีและวิธีการที่จะใช้ “คัดกรองและพัฒนา” ในแต่ละกลุ่ม คงเป็นหน้าที่ของผู้นำและผู้บริหารระดับสูงต้องตัดสินใจแล้วว่า จะให้องค์กรเป็นที่รวมของกลุ่มที่สร้างปัญหา กลุ่มที่สร้างภาระ กลุ่มที่ไม่สร้างอะไรชัดเจน กลุ่มที่สร้างผลงาน หรือให้องค์กร เป็นองค์กรที่มีแค่ 2 กลุ่มคือ “กลุ่มคนที่มีคุณภาพสูง” กับ “กลุ่มคนที่มีคุณภาพใช้ได้”          ในส่วนที่บุคลากรขาดจริยธรรมนั้น ก็ต้องนำค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม มี 9 ประการ ดังนี้  ๑) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ๒) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ ๓) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ๔) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย ๕) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ ๖) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ๗) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้ ๘) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๙) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร ทั้งนี้ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย และนำมาตรฐานทางจริยธรรม มี7 ประการ คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ (3) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ  มาปรับใช้กับบุคลากรทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้บุคลากรค่านิยมหลักในการประพฤติปฏิบัติตนและมีมาตรฐานทางจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน

         การกำกับ ติดตามและประเมินผล ในส่วนของการกำกับนั้น ควรให้หัวหน้ากอง มีการกำกับติดตามผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้าข่ายกรณีไม่มีความรู้และความเข้าใจ ขาดความรับผิดชอบและขาดจริยธรรม ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ และให้หัวหน้ากองรายงานผลให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ เพื่อปลัดจะได้นำเรียนท่านผู้บริหารทราบต่อไป และควรให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ อย่างน้อยเดือนละ2 ครั้ง เพื่อเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทำให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของบุคลากรดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์และเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและเกิดประโยชน์สุขของประชาชน  

สรุป                       จากแนวคิดในการบริหารจัดการที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอนั้น สามารถนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหากับบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความรับผิดชอบและขาดจริยธรรม ทำให้สามารถพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นเพื่อให้เกิดทักษะความรู้ ความสามารถและเกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีมาตรการในการกำกับพฤติกรรมและความประพฤติของบุคลากรดังกล่าวให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

CRพายุ โซนร้อน


Link: คลิ๊กที่นี่

เว็บมาสเตอร์

แนวข้อสอบสายบริหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2563

1.ข้อสอบอัตนัย ปลัดเทศบาล (ระดับกลาง) และ ปลัด อบต. (ระดับกลาง) ออกข้อสอบปรนัยและอัตนัย เหมือนกันทุกประการ ข้อสอบอัตนัยถามว่า "การจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี ท่านจะมีวิธีการอย่างไรให้การจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย" 1) กฎหมาย ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง 2) วิธีดำเนินการหรือกระบวนการดำเนินการ 3) การกำกับ ติดตามและประเมินผล

2.หัวหน้าสำนักปลัด เทศบาลและอบต. (ระดับกลาง) ใช้ข้อสอบปรนัยและอัตนัยชุดเดียวกัน อัตนัยถามว่า "พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก มีหลักแนวคิดทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไร มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร การติดตามและประเมินผลอย่างไร

ผอ.กองสาธารณสุข กลาง

ขยะเป็นวาระแห่งชาติ ในฐานะผอ.กองสาธารณสุขท่านมีแนวทาง วิธีการบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพอย่างไร

-หลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปใช้

-การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

-การกำกับ และติดตามและประเมินผล


ผอ.สวัสดิการสังคม กลาง

สังคมผู้สูงอายุหมายถึง ท่านเป็น ผอ.กองสวัสดิการสังคม จะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ยั่งยืนได้อย่างไร ตามหลักการ แนวติด ทฤษฎี หรือระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน การกำกับและติดตาม ประเมินผล

ตำแหน่ง ผอ.กองช่างระดับกลาง ถามว่า นักบริหารงานช่างระดับกลาง จะดำเนินการแก้ปัญหาเกษตรกร ด้านภัยแล้ง น้ำท่วม ได้อย่างไร1) แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2)วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติ 3)การกำกับ ติดตาม และประเมินผล

ผู้อำนวยการกองคลัง กลาง อัตนัย ถามว่า สร้างถนนคสล.และทางเท้า. ราคา.850,000 ในฐานะผอคลัง ท่านจะปฎิบัติอย่างไรตามรบ.พัสดุ60 จงอธิบาย

-แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- ขั้นตอน การนำไปปฏิบัติ

- การติดตามและประเมินผล

3.ปลัด อบต.และเทศบาล (ระดับต้น) ใช้ข้อสอบปรนัยและอัตนัยชุดเดียวกัน อัตนัยถามว่า "ท่านจะมีวิธีการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ของท่านอย่างไร 1) กฎหมาย ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง 2) วิธีดำเนินการหรือกระบวนการดำเนินการ 3) การกำกับ ติดตามและประเมินผล

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียน (น่าจะเหมือนกันทั้ง อบต.และเทศบาล ทั้งปรนัยและอัตนัย) อัตนัยถามว่า "นโยบายรัฐบาล ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ท่านสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับโรงเรียน ให้ตอบตาม1) แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2)วิํธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติ 3)การกำกับและติดตามประเมินผล

ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษาระดับต้น

เทศบาล

ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษา ท่านจะมีแนวทางบริหารงานอย่างไรให้บรรลุผลสำเร็จประมาณ

1) แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2)วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติ 3)การกำกับและติดตามประเมินผล

ข้อสอบอัตนัย. (หน.สป.ต้น)

ในองค์กรของท่าน ย่อมมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร ให้องค์กรของท่าน มีความเสี่ยงน้อย. และลดข้อผิดพลาดในการทำงานบังเกิดผลดีต่อองค์กรของท่าน โดยให้อธิบาย

-หลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปใช้

-การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

-การกำกับ และติดตามและประเมินผล

ข้อสอบอัตนัย. (หน.ฝ่าย ต้น)

หากท่านพบว่าในองค์กรของท่าน มีบุคลากรที่ขาดความรู้ ความเข้าใจขาดความรับผิดชอบ ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร ให้องค์กรของท่าน มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจมีความรับผิดชอบ โดยให้อธิบาย

-หลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปใช้

-การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

-การกำกับ และติดตามและประเมินผล

 ตำแหน่ง นักบริหารสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (ระดับต้น) อัตนัยถามว่า ท่านจะบรหารอย่างไร เพื่อให้ผู้บริหาร ประชาชน ได้รับความพึงพอใจ โดยให้อธิบาย

-หลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปใช้

-การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

-การกำกับ และติดตามและประเมินผล

ตำแหน่งผอ.กองคลัง ระดับต้น ถามว่า นักบริหารงานคลัง จะดำเนินการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง พ.ศ.2562 อย่างไร

1) แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2)วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติ 3)การกำกับ ติดตาม และประเมินผล

ข้อสอบอัตนัย ตำแหน่ง หน.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ระดับต้น ถามว่า หากท่านพบว่าในองค์กรของท่าน มีบุคลากรที่ขาดความรู้ ความเข้าใจขาดความรับผิดชอบ จริยธรรม ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร ให้องค์กรของท่าน มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจมีความรับผิดชอบ ทำให้องค์มีีประสิทธิภาพในการทำงาน ....😀😀😀และสามารถตอบสนองความต้องการของประชนได้✌️✌️✌️  โดยให้อธิบาย

-หลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปใช้

-การนำไปปฏิบัติ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

-การกำกับ และติดตามและประเมินผล 


ข้อสอบอัตนัย ตำแหน่ง นักบริหารท้องถิ่น (รองปลัด อบต.ต้น) ถามว่าท่านประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบริหารวานในตำแหน่งหน้าที่อย่างไร 

ข้อสอบอัตนัย ตำแหน่ง ผุ้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ระดับกลาง (อบต.) ข้อสอบอัตนัยถามประมาณว่า "สังคมผู้สูงอายุหมายถึงอะไร ท่านจะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้มีความยั่งยืนได้อย่างไร" ให้ตอบตาม1) แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2)วิํธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติ 3)การกำกับและติดตามประเมินผล 

ผอ.กองส่งเสริมการเกษตร (ต้น) ถามว่า ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะมีวิธีให้ประชาชนยอมรับนวัตกรรมอย่างไร? 1.หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2.วิธีการ และขั้นตอนการนำมาปฏิบัติ 3.การกำกับติดตามและประเมินผล 

ข้อสอบผอ.สวัสดิการกลางสังคมผู้สูงอายุหมายถึง... ในฐานะที่ท่านเป็นผอ.ท่านมีจะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนอย่างไรจงอธิบายในกรอบ 1.แนวคิดทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.การกำกับติดตามและประเมินผล


**นำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นความรู้ ให้คนที่เตรียมสอบในรอบต่อๆไป  ไม่ได้ ทำการพาณิชย์น่ะครับ

CR....ไม่ทราบแหล่งที่มา Copy ต่อๆกันมา  (มีคนจำมาจากการสอบ จึงสามารถให้เครดิตได้ ว่าเป็นของใครบ้าง)

(โดยผมเจ้าของเว็บไซต์ไม่ทราบแหล่งที่มา จึงไม่สามารถแหล่งที่มาครับ (คงไม่ไปฟ้องผม ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์น่ะครับ ++++5555


s://group.wunjun.com/valrom2012/topic/641079-11251

Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view