หากท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารในตำแหน่งที่ท่านสมัครเข้ารับการสรรหา ท่านจะมีวิธีปฏิบัติราชการอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
เว็บมาสเตอร์ |
คำถาม หากท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารในตำแหน่งที่ท่านสมัครเข้ารับการสรรหา ท่านจะมีวิธีปฏิบัติราชการอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จงอธิบาย (30 คะแนน) ตอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่เกิดขึ้นตามหลักการกระจายอำนาจ ซึ่งมีความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง โดยทั่วไปแล้ว อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือการจัดทำ“บริการสาธารณะ” จัดทำภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่สมัครเข้ารับการสรรหา นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ( ตำแหน่งที่เราสมัคร ) โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.ด้านแผนงาน 2. ด้านบริหารงาน 3. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล 4. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ ดังนั้น หากดิฉัน ได้รับการการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ขอเสนอแนวทางในการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ดังต่อไปนี้ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางด้านภาษีท้องถิ่น เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้เริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สิน ของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและเป็นสากลเช่นเดียวกับนานาประเทศ และแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีแบบเดิมที่บังคับใช้มาเป็นเวลานาน โดยที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายฉบับนี้เป็นหน้าที่ โดยตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลรูปแปลงที่ดินและข้อมูลเอกสารสิทธิที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมที่ดิน ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์ โดยอาศัยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้ ๑. พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ๒. กฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ๓. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ๔. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ๕. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ๖. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของมูลนิธิฯ ๗. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การดาเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก่อนเริ่มการจัดเก็บภาษีให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งพนักงานสำรวจ พนักงานประเมิน และพนักงานเก็บภาษี เพื่อให้มีหน้าที่และอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ขั้นตอนการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การสำรวจที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น มีความมุ่งหมายเพื่อให้ทราบว่ามีที่ดินรายใด แปลงใดอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสำรวจรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินแปลงนั้น เช่น สำรวจขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลักษณะของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ และอายุของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ทำการคำนวณที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเสียภาษีต่อไป ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การจัดทาบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อเจ้าพนักงานสำรวจสำรวจรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเรียบร้อยแล้ว ให้นำข้อมูลที่ได้มากรอกลงในแบบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และแบบบัญชีรายการห้องชุด เพื่อปิดประกาศให้ประชาชนทราบและจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบ ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขั้นตอนการจัดทำและประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษี และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษี มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1. กรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่จะจัดส่งบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุดให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุดนั้นตั้งอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ 2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด บัญชีเทียบเคียงราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ได้รับจากกรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ มาปิดประกาศให้ประชาชนทราบ 3. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำข้อมูลรายการที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ที่สำรวจได้ตามบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และบัญชีรายการห้องชุด มาจัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด โดยมีขั้นตอนในการคำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด และการประเมินภาษี การรับชาระภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มกรณีชาระภาษีเกินกาหนดระยะเวลา และการคืนเงินภาษี การอุทธรณ์การประเมินภาษี แนวทางการบังคับภาษีค้างชำระ การรายงานข้อมูล ให้ดำเนินการดังนี้ 1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งข้อมูลรายงานสรุปผลการจัดเก็บภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีของปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย จำนวนผู้เสียภาษี จำนวนเงินภาษีที่จัดเก็บได้ จำนวนผู้ค้างชำระภาษี และจำนวนเงินภาษีค้างชำระ ให้แก่คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดภายในเดือนมกราคมของทุกปี เพื่อรวบรวมและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีให้แก่กระทรวงมหาดไทยภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยรายงานผ่านระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดทำขึ้น 2. ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นประมวลผลข้อมูลที่ได้รับแล้วจัดส่งข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องให้กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเดือนมีนาคมของทุกปี สรุป แนวทางในการดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางด้านภาษีท้องถิ่น เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่นนั้น ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย กฏกระทรวง และประกาศกระทรวงการคลัง รวมถึงประกาศกระทรวงมหาดไทยด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สิน ของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและเป็นสากลเช่นเดียวกับนานาประเทศ ส่งผลให้ท้องถิ่นสามารถมีเงินรายได้ที่เพียงพอและนำเงินภาษีดังกล่าวมาจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน Link: คลิ๊กที่นี่ |
แสดงความคิดเห็น