http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,160,022
เปิดเพจ6,305,639

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

สรุปครบ! จบทุกสาระสำคัญ ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่น 62

(อ่าน 756/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์






วันที่ 20 ธันวาคม 2562 กองการเลือกตั้งท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้เผยแพร่ สรุปสาระสำคัญในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 มีรายละเอียดดังนี้

1. การประกาศให้มีการเลือกตั้ง

      • ก่อนครบวาระ ไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือกรณีที่จะต้องมีการเลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. ใดเพราะเหตุอื่นใด ให้หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแจ้งให้ ผอ.กต.จว. ทราบเพื่อเตรียมการจัดให้มีการเลือกตั้งและให้ ผอ.กต.จว. รายงาน กกต. ทราบโดยเร็ว (ระเบียบฯ ข้อ 6)
      • ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นเสนอร่างประกาศให้มีการเลือกตั้งต่อ ผอ.กต.จว. เห็นชอบตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง แล้วให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นประกาศให้มีการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน ส่งสำเนาประกาศฯ ให้ ผอ.กต.จว. เพื่อรายงาน กกต. โดยเร็ว (ระเบียบฯ ข้อ 7)กรณีต้องดำเนินการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 110 หรือ มาตรา 111 หรือมาตรา 112 แห่ง พรบ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นรายงานเหตุที่ต้องดำเนินการเลือกตั้งใหม่ให้ ผอ.กต.จว.ทราบ เพื่อประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนวันเลือกตั้งใหม่ไม่น้อยกว่า 30 วัน ผอ.กต.จว. ปิดประกาศฯ ณ สำนักงาน กกต.จว. และแจ้ง กกต.ท้องถิ่น, ผอ.กกต.ท้องถิ่น ดำเนินการต่อไป (ระเบียบฯ ข้อ 8)
    • ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ปิดประกาศให้มีการเลือกตั้งฯ ณ ที่ทำการ อปท. ส่งให้นายอำเภอ เพื่อปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่ที่เห็นสมควร (ระเบียบฯ ข้อ 9)   2. การเตรียมการเลือกตั้ง
      • ให้ ผอ.กต.จว. และ ผอ.กกต.ท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 10)เมื่อมีประกาศให้มีการเลือกตั้งฯ ให้ ผอ.กต.จว. แจ้งขอความร่วมมือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นนั้น รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ (ระเบียบฯ ข้อ 11)

    • 3. เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง (เกณฑ์จำนวนราษฎร 150,000 คน ต่อ สมาชิกสภา กทม. 1 คน เศษราษฎรถ้าเกิน 75,000 คน ให้มีสมาชิกสภา กทม.เพิ่มขึ้นอีก 1 คน) (ระเบียบฯ ข้อ 12)

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง (จำนวนสมาชิก อบจ.ที่พึงมีให้ใช้เกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วย อบจ. กำหนด ดังนี้ 1) ราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 24 คน 2) ราษฎรเกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 30 คน 3) ราษฎรเกิน 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 36 คน 4) ราษฎรเกิน 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 42 คน 5) ราษฎรเกิน 2,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิก อบจ. ได้ 48 คน

สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล เขตเลือกตั้งละ 6 คน

สมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเมือง เขตเลือกตั้งละ 6 คน

สมาชิกสภาเทศบาลนคร ให้แบ่งเทศบาลเป็นสี่เขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลนคร เขตเลือกตั้งละ 6 คน

      • สมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเมืองพัทยา เขตเลือกตั้งละ 6 คน

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์ พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ดังนี้

    1) กรณี อบต.ใด มี 1 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต. 6 คน

    2) กรณี อบต.ใด มี 2 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 3 คน
    3) กรณี อบต.ใด มี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 2 คน
    4) กรณี อบต. ใด มี 4 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 1 คน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวนราษฎรมากที่สุด 2 เขตเลือกตั้งแรก ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกสภา อบต.เพิ่มขึ้นอีกเขตเลือกตั้งละ 1 คน
    5) กรณี อบต.ใด มี 5 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 1 คน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวนราษฎรมากที่สุดให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกสภา อบต.เพิ่มขึ้นอีก 1 คน กรณี หมู่บ้านใด มีจำนวนราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกันเป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน
 4. การแบ่งเขตเลือกตั้ง

    • ให้ ผอ.กต.จว. ดำเนินการเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยพิจารณา จำนวนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 13)

    1) จำนวนราษฎรใกล้เคียงกันมากที่สุด

    2) พื้นที่ของแต่ละเขตเลือกตั้งติดต่อกัน
    3) ตำบลที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุดเป็นหลัก
    4) การเคยเป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน
    5) ความสะดวกในการคมนาคมระหว่างกัน
    ให้ ผอ.กต.จว. ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย
    1) แผนที่ภาพสี
    2) บรรยายแนวเขตโดยรอบพื้นที่หรือระบุท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง
    3) ทุกรูปแบบต้องมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกัน ผลต่างไม่ควรเกินร้อยละสิบ
    4) ประกาศให้ประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะส่งให้ ผอ.กต.จว. ภายใน 10 วัน นับแต่วันประกาศ
    ให้มีคณะกรรมการแบ่งเขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย
    ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย      เป็นประธาน
    ปลัดจังหวัดหรือผู้แทน              เป็นกรรมการ
    เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือผู้แทน         เป็นกรรมการ
    โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหรือผู้แทน       เป็นกรรมการ
    พัฒนาการจังหวัดหรือผู้แทน             เป็นกรรมการ
    ท้องถิ่นจังหวัดหรือผู้แทน             เป็นกรรมการ
    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นกรรมการ
    ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด                       เป็นกรรมการและเลขานุการ
    สำหรับคณะกรรมการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
    ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย               เป็นประธาน
    ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย                                     เป็นกรรมการ
    ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพฯ                          เป็นกรรมการ
    ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพฯ                     เป็นกรรมการ
    ผู้อำนวยการสำนักการโยธากรุงเทพฯ                         เป็นกรรมการ
    ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียนกรุงเทพฯ       เป็นกรรมการ
    ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพฯ                     เป็นกรรมการและเลขานุการ



    • ภายใน 3 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็น ให้คณะกรรมการแบ่งเขตเลือกตั้ง นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาประกอบการพิจารณา รวบรวมสรุปพร้อมผลการพิจารณาอย่างน้อย 3 รูปแบบพร้อมความเห็น เรียงลำดับความเหมาะสมเสนอ กกต.โดยเร็ว กรณี กกต.ได้ประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งของ อปท. ใดไว้แล้ว หาก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง ให้ใช้เขตเลือกตั้งที่ กกต.ได้ประกาศไว้แล้วมาใช้เป็นเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป (ระเบียบฯ ข้อ 14)

      5. เขตเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น 
    • ให้ใช้เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 15)

      6. หน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง

    • เมื่อมีประกาศให้มีการเลือกตั้ง ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น แจ้งนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น จัดทำร่างประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง เสนอต่อ กกต.ท้องถิ่น เพื่อพิจารณา และให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นประกาศ หน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง ตามมติ กกต. ท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน โดยดำเนินการปิดประกาศ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 16)



    1) ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    2) ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียง
    3) ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 1 ชุด
    4) ผอ.กกต.ท้องถิ่น เก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด




      • หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น โดยความเห็นชอบของ กกต.ท้องถิ่น ประกาศเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 18)

      • คูหาลงคะแนนให้มีจำนวน 3 คูหาเป็นอย่างน้อย (ระเบียบฯ ข้อ 21)

    • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้ง มีหน้าที่จัดหาวัสดุ อุปกรณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งและสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งของ กกต. ท้องถิ่น และ ผอ.กกต.ท้องถิ่น (ระเบียบฯ ข้อ 21)

      7. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



      • ก่อนวันครบวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. 60 วัน หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องมีการเลือกตั้งเพราะเหตุอื่นใดให้หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นของ อปท. นั้น เป็น ผอ.กกต. ประจำ อปท. (ระเบียบฯ ข้อ 27)

ผอ.กกต.ท้องถิ่น อาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคล แต่งตั้งผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ (ระเบียบฯ ข้อ 28)

ผอ.กกต.ท้องถิ่น พ้นจากหน้าที่เมื่อ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 29)

กรณีที่ ผอ.กต.จว. เห็นว่า ผอ.กกต.ท้องถิ่น กระทำการในทางที่อาจเกิดความเสียหายแก่การจัดการเลือกตั้ง หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำตักเตือน ให้รายงานต่อ กกต. เพื่อมีคำสั่งให้ระงับ ยังยั้ง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือสั่งให้พ้นจากหน้าที่

    • เมื่อ กกต. มีคำสั่งให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นพ้นจากหน้าที่ ถ้า กกต. เห็นสมควรให้ดำเนินการทางวินัยด้วย ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาของ ผอ. กกต.ท้องถิ่น (ระเบียบฯ ข้อ 30)

      8. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




    • เมื่อมีกรณีต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้ กกต.แต่งตั้ง กกต.ท้องถิ่น ให้เป็นไปตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 31)
         1) กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้มี กกต.ท้องถิ่น จำนวน 5 คน แต่งตั้งจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดที่เป็นเขตเลือกตั้ง หรืออาจแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดนั้นซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ จำนวนไม่เกิน 2 คน
         2) เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มี กกต.ท้องถิ่น จำนวน 3 คน แต่งตั้งจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดที่เป็นเขตเลือกตั้ง หรืออาจแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดนั้นซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ จำนวนไม่เกิน 2 คน




    • กกต.ท้องถิ่น ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 32)



    1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
    2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันสมัครหรือวันที่ได้รับการทาบทาม
    3) มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต



    • กกต.ท้องถิ่น ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 33)



    1) ติดยาเสพติดให้โทษ
    2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
    3) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
    4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟืองไม่สมประกอบ
    5) อยู่ในระหว่างระงับ หรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
    6) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
    7) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
    8) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ไม่ว่าจะได้รับโทษ หรือไม่ได้รับโทษ โดยพ้นโทษหรือต้องคำพิพากษามายังไม่ถึง 5 ปีนับถึง วันเลือกตั้ง




      • ให้ผอ.กกต.ท้องถิ่น ดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น กกต.ท้องถิ่น โดยประกาศรับสมัครก่อนวันที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระการดำรงตำแหน่ง ไม่น้อยกว่า 45 วัน และมีระยะเวลาการรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วัน หากมีผู้สมัครไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ดำเนินการทาบทามบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ให้ครบตามจำนวน ภายใน 3 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการรับสมัคร (ระเบียบฯ ข้อ 34)







      • ให้ ผอ.กกต. ท้องถิ่น ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ประวัติและพฤติการณ์ของผู้สมัคร/ทาบทาม เสนอรายชื่อและผลการตรวจสอบให้ ผอ.กต.จว. ภายใน 10 วันนับแต่วันปิดรับสมัคร (ระเบียบฯ ข้อ 35)







      • ภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อผู้สมัครทาบทามจากผอ.กกต. ท้องถิ่น ให้ ผอ.กต.จว. พิจารณาคัดเลือกบุคคล หากไม่สามารถคัดเลือกบุคคลได้ครบตามจำนวนที่กำหนด ให้ ผอ.กต.จว. ทาบทามบุคคลให้ครบตามจำนวนและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเรียงลำดับตามตัวอักษร พร้อมทั้งประวัติและเหตุผลในการคัดเลือก ส่งให้ เลขา กกต. เพื่อเสนอต่อ กกต. พิจารณา ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 36)

          1) กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้คัดเลือกให้เหลือจำนวน 5 คน โดยมีข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐอย่างน้อย 3 คน
              2) เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล ให้คัดเลือกให้เหลือจำนวน 3 คน โดยมีข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐอย่างน้อย 1 คน 







      • เมื่อ กกต. พิจารณาแต่งตั้ง กกต.ท้องถิ่น แล้วให้เลขา กกต. แจ้งผลการพิจารณาให้ ผอ.กต.จว. เพื่อแจ้งให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นทราบ (ระเบียบฯ ข้อ 38)







      • ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น จัดประชุมผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็น กกต.ท้องถิ่น เพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธาน และแจ้งผลให้ ผอ.กต.จว.ทราบ เพื่อลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 39)







      • การประชุมของ กกต.ท้องถิ่น ต้องมีกรรมการอยู่ในการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นองค์ประชุม โดยให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นเป็นเลขานุการ (ระเบียบฯ ข้อ 42)







      • ให้ กกต.ท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ประกาศให้มีการเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 43)






 9. คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง




      • ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น โดยความเห็นชอบของ กกต.ท้องถิ่น แต่งตั้ง กปน. ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 45)

          1) กรณีมีการเลือกตั้ง ส.ถ.และ ผ.ถ.พร้อมกัน ให้มี กปน. จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน กรรมการ 8 คน
          2) กรณีมีการเลือกตั้งเฉพาะ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. ให้มี กปน. จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน กรรมการ 6 คน

        ประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งให้พิจารณาแต่งตั้งจากข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สำนักงานกำหนด
         






    • กรณีที่ กปน.เห็นว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใด ให้ กปน.ประชุมและมีมติมอบหมาย กปน.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการกล่าวโทษตามหน้าที่และอำนาจ (ระเบียบฯ ข้อ 49)



  10. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง




      • ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ประสานผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือนายอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการอื่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง อย่างน้อยที่เลือกตั้งละ 2 คน (ระเบียบฯ ข้อ 51)






    • ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น โดยความเห็นชอบของ กกต.ท้องถิ่น แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง กรณีที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่เพียงพอที่เลือกตั้งละ 2 คน ให้แต่งตั้งผู้มีสิทธิเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้งเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวน ทั้งนี้ ในที่เลือกตั้งแต่ละแห่งต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างน้อย 1 คน (ระเบียบฯ ข้อ 52)




  11. เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย




      • ให้ ผอ.กกต .ท้องถิ่น ร้องขอให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้งตามสภาพพื้นที่และความเหมาะสม (ระเบียบฯ ข้อ 54)






    • ให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 55)



    1) รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตเลือกตั้ง
    2) อานวยความสะดวกและจัดระเบียบการจราจร
    3) สนับสนุนช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ท้องถิ่น ละ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
    4) รับแจ้งเหตุในวันเลือกตั้ง
    5) จับกุมและควบคุมตัวผู้กระทำความผิดส่งพนักงานสอบสวน
 12. การอบรมเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง



    • ก่อนการเลือกตั้ง ให้ กกต.ท้องถิ่น และ ผอ.กกต.ท้องถิ่น จัดให้มีการอบรม กปน./รปภ. โดยให้ ผอ.กต.จว.กำกับดูแล (ระเบียบฯ ข้อ 56)



 13. การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้แจ้งเหตุฯ โดยยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งและภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง  (ระเบียบฯ ข้อ 61)



    • นายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถูกจำกัดสิทธิให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 66)



  14. บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง




      • ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่แทน ผอ.กกต.ท้องถิ่น ในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ การแจ้งเจ้าบ้าน การแจ้งเหตุฯ การแก้ไขรายการบัญชีรายชื่อฯ (ระเบียบฯ ข้อ 70)







      • ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น จัดทำบัญชีรายชื่อฯ จำนวน 6 ชุด เสนอให้ กกต.ท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 71)






    • เมื่อ กกต.ท้องถิ่นพิจารณาเห็นชอบบัญชีรายชื่อฯ แล้วให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 72)



    ชุดที่ 1 ปิดประกาศ ณ ว่าที่การอำเภอ
    ชุดที่ 2 ปิดประกาศ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ชุดที่ 3 ปิดประกาศ ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณไกล้เคียง
    ชุดที่ 4 แก้ไขปรับปรุงให้ตรงกับชุดที่ 5 และปิดประกาศ ณ ที่เลือกตั้ง (แทนชุดที่ 3)
    ชุดที่ 5 ใช้ปรับปรุงแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
    ชุดที่ 6 มอบ กปน.ใช้หมายเหตุการออกเสียงลงคะแนน (มีปก)




      • กรณีผู้สมัครหรือผู้ใดต้องการบัญชีรายชื่อฯ ให้ขอคัดสำเนาจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง (ระเบียบฯ ข้อ 73)






    • ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังเจ้าบ้าน (ระเบียบฯ ข้อ 74)




  15. การเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง



    • การดำเนินการเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 74 และ 84)




  16. การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง



    • เมื่อมีประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดแล้ว ให้ ผอ.กต.จว. แจ้งรายชื่อบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ผอ.กกต.ท้องถิ่นทราบทันที เพื่อแจ้งนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น (ระเบียบฯ ข้อ 89)



 17. การย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ



    • การดำเนินการต่อไปนี้ให้สันนิษฐานว่าเป็นการย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งโดยมิชอบ
      1) การย้ายบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปซึ่งไม่มีชื่อสกุลเดียวกันกับเจ้าบ้านภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้าน
      2) ย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านโดยมิได้อาศัยอยู่จริง
      3) ย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านโดยเจ้าบ้านไม่ยินยอม (ระเบียบฯ ข้อ 90)




  18. การยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง



    • เมื่อเสร็จสิ้นกำหนดเวลาสมัครรับเลือกตั้ง ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นสรุปผลการรับสมัครรับเลือกตั้งให้ ผอ.กต.จว.ทราบ  (ระเบียบฯ ข้อ 95)




  19. การตรวจสอบสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง



    • ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับสมัครและไม่ได้รับสมัคร ภายใน 7 วันนับแต่วันปิดรับสมัครและติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่เลือกตั้ง หรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควร พร้อมทั้งส่งให้สนง.กกต.จว. จ านวน 1 ชุด (ระเบียบฯ ข้อ 97)




  20. ตัวแทนผู้สมัครประจำ ณ ที่เลือกตั้ง



    • ผู้สมัครยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนผู้สมัครประจำ ณ ที่เลือกตั้งต่อ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 102)




  21. การวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือก ตั้งภายหลังประกาศรายชื่อผู้สมัคร
    กรณีผู้สมัครไม่มีชื่อในประกาศรายชื่อผู้สมัคร




      • ผู้สมัครผู้ใดไม่มีรายชื่อในประกาศรายชื่อผู้สมัคร มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รับสมัครพร้อมหลักฐาน ณ สนง.กกต.จว. ภายใน 3 วันนับแต่วันที่ ผอ.กกต.ท้องถิ่นประกาศรายชื่อผู้สมัคร (ระเบียบฯ ข้อ 104)

      • ให้ ผอ.กต.จว. แจ้งการรับคำร้องไปยังสนง.กกต. ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่ได้รับคำร้อง (ระเบียบฯ ข้อ 105)






    • ให้มีคณะกรรมการพิจารณาสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. ประจ าจังหวัด แต่งตั้งโดย ผอ.กต.จว. ประกอบด้วย (ระเบียบฯ ข้อ 107)




  1) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด      เป็นประธาน
  2) หัวหน้ากลุ่มงานของ สนง.กกต.จว. หนึ่งคน      เป็นกรรมการ
  3) พนักงานของ สนง.กกต.จว. ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสืบสวนและไต่สวนระดับกลางหรือระดับต้น หนึ่งคน  เป็นกรรมการและเลขาฯ
  โดยให้มีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง วินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเบื้องต้นและจัดทำความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง




      • ให้คณะกรรมการฯ กำหนดวัน เวลา และสถานที่นัดพิจารณาภายใน3 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจาก ผอ.กต.จว. และแจ้งผู้ร้อง และผอ.กกต.ท้องถิ่นทราบโดยเร็วก่อนวันพิจารณา พร้อมส่งสำเนาคำร้องให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่นทราบเพื่อยื่นคำคัดค้านคำร้องก่อนเริ่มการพิจารณา (ระเบียบฯ ข้อ 108)







      • การรับฟังการชี้แจงของทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 2 วันนับแต่วันนัดพิจารณา แล้วรายงานข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาโดยเร็ว (ระเบียบฯ ข้อ 109)






    • ให้ กกค. พิจารณาสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและมีคำสั่ง ดังนี้



    1) สั่งให้ยกคำร้อง
    2) สั่งให้รับสมัคร (สำนักงาน กกต.จัดทำคำวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่ กกต. มีมติ) (ระเบียบฯ ข้อ 110)
    กรณีความปรากฏหรือได้รับแจ้งว่าผู้สมัครไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
    1) กรณีความปรากฏต่อ กกต.หรือ ผอ.กกต.ท้องถิ่น (ระเบียบฯ ข้อ 111)
      - เมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าผู้สมัครผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ กกต.วินิจฉัยโดยเร็ว กรณีความปรากฏก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ให้ กกต.วินิจฉัยให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน
      - เมื่อความปรากฏต่อ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ให้รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน พร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อ กกต.เพื่อวินิจฉัยโดยเร็ว     
    2) กรณีได้รับแจ้งว่าผู้สมัครไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 111)
      - บุคคลใดเห็นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องพร้อมพยานหลักฐาน ณ สนง.กกต.จว.
  22. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร




      • เมื่อจะมีการเลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. เมื่อใดแล้ว ให้ ผอ.กต.จว. ประกาศ กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครก่อนประกาศให้มีการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 119)
          1) ขนาดพื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์
          2) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
          3) จำนวนหน่วยเลือกตั้ง
          4) ดัชนีราคาผู้บริโภคตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์
        เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ให้ ผอ.กต.จว. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไม่เกิน 7 คน ประกอบด้วย
          1) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด      เป็นประธาน
          2) ปลัดจังหวัดหรือผู้แทน            เป็นอนุกรรมการ
          3) พาณิชย์จังหวัดหรือผู้แทน            เป็นอนุกรรมการ
          4) ท้องถิ่นจังหวัดหรือผู้แทน           เป็นอนุกรรมการ
          5) ผู้แทนหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลอื่นที่ประธานอนุกรรมการเห็นสมควรเป็นอนุกรรมการ
          6) พนักงานของสำนักงานที่ ผอ.กต.จว.มอบหมาย   เป็นเลขานุการ
        สำหรับกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะอนุกรรมการไม่เกิน 7 คน ประกอบด้วย
          1) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร   เป็นประธาน
          2) ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย       เป็นอนุกรรมการ
          3) ผู้แทนสำนักงานปกครองและทะเบียน กทม.     เป็นอนุกรรมการ
          4) ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์              เป็นอนุกรรมการ
          5) ผู้แทนสำนักการคลังกรุงเทพมหานคร       เป็นอนุกรรมการ
          6) ผู้แทนหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลอื่นที่ประธานอนุกรรมการเห็นสมควร เป็นอนุกรรมการ
          7) พนักงานของสำนักงานที่ ผอ.กต.กทม.มอบหมาย   เป็นเลขานุการ







      • กรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งและไม่ต้องดำเนินการรับสมัครรับเลือกตั้งใหม่ ผู้สมัครแต่ละคนใช้จ่ายได้ไม่เกินหนึ่งในสาม ของจำนวนเงินที่กำหนด (ระเบียบฯ ข้อ 120)







      • กรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งและมีการรับสมัครรับเลือกตั้งใหม่ ผู้สมัครแต่ละคนใช้จ่ายได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่กำหนด






    • ผอ.กต.จว. ปิดประกาศกำหนดเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้งอย่างน้อยแห่งละ 1 ชุดภายใน 3 วันนับแต่วันที่ออกประกาศฯ (ระเบียบฯ ข้อ 121)




 23. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้ง




      • ให้ผู้สมัครแต่ละคนยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้งพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นจริงด้วยตนเองหรือมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นยื่นแทนต่อ ผอ.กต.จว. ภายใน 90 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 124)







      • ผอ.กต.จว. จัดทำประกาศบัญชีรายรับและรายจ่ายของผู้สมัครแต่ละคน ปิดประกาศ ณ สนง.กกต.จว. ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและที่อื่นที่เห็นสมควร ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้ง และเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด (ระเบียบฯ ข้อ 125)






    • กรณีผู้สมัครยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมีเหตุสงสัย ให้ ผอ.กต.จว.สอบหาข้อเท็จจริงโดยมอบหมายพนักงานของ สนง.คนหนึ่งหรือหลายคนทำการสอบหาข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดยื่น หรือภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีเหตุอันควรสงสัย (ระเบียบฯ ข้อ 126)




 24. บัตรเลือกตั้ง




      • ก่อนนำบัตรเลือกตั้งไปใช้ในการเลือกตั้.งครั้งใด เมื่อใด ให้มีการประทับตราหรือเครื่องหมายตามแบบที่ ผอ.กต.จว. กำหนด (ระเบียบฯ ข้อ 133)






    • การจัดส่งบัตรเลือกตั้ง ให้กระทำได้โดยวิธีการ ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 134)
        1) มอบหมายบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือหน่วยงานหรือองค์กรที่ กกต.กำหนด
        2) ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น แต่งตั้งข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือลูกจ้าง จำนวน 3 คน เป็นคณะกรรมการรับบัตรเลือกตั้งเดินทางไปรับบัตรเลือกตั้ง
        3) วิธีการอื่นตามที่ กกต.กำหนด
      ทั้งนี้การจัดส่งโดยวิธีการใดให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น เป็นผู้กำหนดโดยความเห็นชอบของ ผอ.กต.จว. โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย




  25. การดำเนินการนับคะแนนเลือกตั้ง




      • กรณีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ออกเสียงลงคะแนน ให้ กปน. ดำเนินการตรวจสอบ ถ้าจำนวนบัตรเลือกตั้งยังไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้รายงานพร้อมเหตุผลของการนับคะแนนที่ไม่ตรงนั้นต่อ ผอ.กกต.ท้องถิ่น และ ผอ.กต.จว. เพื่อให้ กกต.พิจารณาสั่งการ (ระเบียบฯ ข้อ 165)







      • ในการยุบรวมถุงใส่บัตรเลือกตั้ง ให้แจ้งตัวแทนผู้สมัครที่ร่วมสังเกตการณ์ทราบด้วย (ระเบียบฯ ข้อ 170)






    • ภายหลังการนับคะแนนเลือกตั้งหรือการรวมคะแนนเสร็จแล้วถ้ามีการร้องเรียนหรือคัดค้านการนับคะแนนหรือการรวมคะแนนให้ ผอ.กต.จว. นำรายงานเหตุการณ์ประจำที่เลือกตั้ง และแบบคัดค้านมาประกอบการพิจารณา หากไม่มีการคัดค้านหรือไม่มีการบันทึกในรายงานเหตุการณ์ประจำที่เลือกตั้งและไม่มีแบบคัดค้านมิให้ ผอ.กต.จว. รับไว้เป็นเรื่องร้องเรียนหรือคัดค้าน เว้นแต่ กกต.จะสั่งเป็นอย่างอื่น (ระเบียบฯ ข้อ 174)




  26. การประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง



    • เมื่อ กกต.ท้องถิ่นได้รับรายงานผลการนับคะแนนจาก กปน.แล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนจัดทำประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งของแต่ละเขตเลือกตั้งหรือของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น พร้อมรายงานผอ.กต.จว. โดยเร็ว (ระเบียบฯ ข้อ 174)




  27. การประกาศผลการเลือกตั้ง




      • เมื่อ ผอ.กต.จว. ได้รับประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งจาก กกต.ท้องถิ่นแล้วเห็นว่าการเลือกตั้งและการนับคะแนนเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้รายงานต่อ กกต. เพื่อพิจารณาประกาศผลการเลือกตั้ง ภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ดังนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 178)
         
          1) เขตเลือกตั้งใดที่มีจำนวน ส.ถ.หรือ ผ.ถ. ได้หนึ่งคนให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดและมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
          2) เขตเลือกตั้งใดที่มี ส.ถ. มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงลำดับลงมาในเขตเลือกตั้งนั้นและได้คะแนนมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวน ส.ถ.ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น
          3) เขตเลือกตั้งใดที่มีผู้สมัครเป็น ส.ถ. น้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวน ส.ถ.ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้ง หรือกรณีที่เขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัคร ผ.ถ. เท่ากับจำนวน ผ.ถ.ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครนั้นจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้คะแนนเสียงเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นและมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด







      • กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ กกต. ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนให้แล้วเสร็จและประกาศผลการเลือกตั้ง หรือจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือดำเนินการอื่นที่จำเป็น แล้วแต่กรณีโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 179)






    • กรณีที่ผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากันอันเป็นเหตุให้มี ส.ถ. หรือ ผ.ถ.เกินจำนวนที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ให้ กกต.ท้องถิ่น จัดให้มีการจับสลากภายใน 3 วันนับแต่วันประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 181)



  28. การเปลี่ยนที่เลือกตั้งใหม่




      • ก่อนวันเลือกตั้ง ถ้าการออกเสียงลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งใดไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น กำหนดที่เลือกตั้งใหม่โดยเร็วและปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และสถานที่ที่เห็นสมควร แต่ถ้าไม่อาจกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ได้ ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น และปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และสถานที่ที่เห็นสมควร แล้วรายงาน ผอ.กต.จว. และ กกต. โดยเร็ว (ระเบียบฯ ข้อ 184)






    • กรณีมีเหตุตามข้อ 184 เกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง ให้ กปน.ประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น และปิดประกาศไว้ที่บริเวณใกล้ที่เลือกตั้ง แล้วรายงานต่อ ผอ.กกต.ท้องถิ่น เพื่อรายงาน ผอ.กต.จว.และกกต. โดยเร็ว (ระเบียบฯ ข้อ 185)




 29. การนับคะแนนเลือกตั้งใหม่



    • ให้ กกต. สั่งให้มีการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหรือเขตเลือกตั้งใด เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้
        1) จำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ ตามมาตรา105 แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. พ.ศ. 2562
        2) มีผู้ร้องเรียนโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าการนับคะแนนเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามมาตรา 106 แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ถ./ผ.ถ. พ.ศ. 2562
        3) ในกรณีที่ปรากฎภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งว่าการนับคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใดหรือในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามมาตรา 105 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. พ.ศ. 2562 เมื่อ กกต.มีคำสั่งให้มีการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ ตาม (1) หรือ (2) ให้ผอ.กต.จว. ควบคุมการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ กกต.มีคำสั่ง หากเป็นการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ตาม (3) ต้องกระทำภายใน 90 วันนับแต่วันที่ประกาศการเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 189)



 30. การออกเสียงลงคะแนนใหม่




      • ให้ กกต.สั่งยกเลิกการเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งใดและสั่งให้มีการออกเสียงลงคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้น เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้  (ระเบียบฯ ข้อ 202)
          1) มีบัตรเลือกตั้งชำรุดหรือสูญหาย
          2) มีบัตรเสียเป็นบัตรปลอม
          3) ผลการนับคะแนนเลือกตั้งปรากฏว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ออกเสียงลงคะแนน ตามมาตรา 105 แห่งพ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. พ.ศ. 2562






    • กรณี กกต.มีคำสั่งให้มีการออกเสียงลงคะแนนใหม่ ให้ขยายระยะเวลาในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยแจ้งเหตุได้ตั้งแต่วันที่มีการประกาศให้มีการออกเสียงลงคะแนนใหม่จนถึงระยะเวลาภายใน 7 วันนับแต่วันออกเสียงลงคะแนนใหม่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ต่อ ผอ.กกต.ท้องถิ่น ก่อนวันออกเสียงลงคะแนนใหม่ไม่น้อยกว่า 5 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 203)




 31. การเลือกตั้งใหม่




      • ให้ ผอ.กต.จว. ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่และดำเนินการให้มีการรับสมัครเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้ง เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (ระเบียบฯ ข้อ 206)
          1) กรณี ไม่มีผู้สมัครได้คะแนนมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดตามมาตรา 110 แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. พ.ศ. 2562
          2) กรณี ผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด ตามมาตรา 111 แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ.พ.ศ. 2562 ให้ผอ.กต.จว. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีเหตุที่ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ 







      • ให้ย่นระยะเวลาการประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งใหม่ก่อนวันเลือกตั้งใหม่ไม่น้อยกว่า 15 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 208)







      • ให้ย่นระยะเวลาการแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังเจ้าบ้าน ก่อนวันเลือกตั้งใหม่ไม่น้อยกว่า 10 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 209)







      • ให้ย่นระยะเวลาการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ ก่อนวันเลือกตั้งใหม่ไม่น้อยกว่า5 วัน (ระเบียบฯ ข้อ 210)







      • ให้ย่นระยะเวลาการรับสมัครรับเลือกตั้ง สามารถกำหนดน้อยกว่า5 วันได้ (ระเบียบฯ ข้อ 211)






    • ให้ย่นระยะเวลาในการประกาศรายชื่อผู้สมัคร โดยให้ประกาศให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันนับแต่วันปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 212)




  32. การคัดค้านการเลือกตั้ง



    • สิทธิการยื่นคัดค้านการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง หรือที่ตนสมัคร ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึง 30 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งเว้นแต่
        1) การคัดค้านเพราะเหตุตามมาตรา 60 หรือ มาตรา 62 แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ถ./ผ.ถ. พ.ศ. 2562 ให้ยื่นได้ตั้งแต่วันเลือกตั้งจนถึง 180 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
        2) การคัดค้านเกี่ยวกับการนับคะแนนให้คัดค้านในระหว่างเวลาที่ยังนับคะแนนไม่แล้วเสร็จหรือในกรณีคัดค้านการรวมคะแนน ให้คัดค้านก่อนวันประกาศผลการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง (ระเบียบฯ ข้อ 214)




  33. การเก็บรักษา




      • ให้ ผอ.กกต.ท้องถิ่น แต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอีกไม่น้อยกว่าสองคน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับการเก็บรักษาและเอกสารที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หลังจากสิ้นสุดการนับคะแนนให้ (ระเบียบฯ ข้อ 215)






    • ผอ.กกต.ท้องถิ่น สำเนาบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชุดหมายเหตุการลงคะแนนเก็บรักษาไว้ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง พร้อมส่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชุดหมายเหตุการณ์ลงคะแนนให้นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตรวจสอบการใช้สิทธิและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถูกจำกัดสิทธิ เมื่อนายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถูกจำกัดสิทธิแล้ว ให้ส่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชุดหมายเหตุการณ์ลงคะแนนให้ ผอ.กต.จว. เป็นผู้เก็บรักษาต่อไป (ระเบียบฯ ข้อ 216)




 34. การทำลายบัตรเลือกตั้งและเอกสารที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง



    • บัตรเลือกตั้งที่จะทำลายได้ตามระเบียบนี้ ได้แก่ (ระเบียบฯ ข้อ 217)
        1) บัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนนแล้ว
        2) บัตรเลือกตั้งที่เหลือเต็มเล่ม
      กรณีต้นขั้วของบัตรเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้งที่เหลือไม่เต็มเล่มให้มีระยะเวลาการเก็บรักษาตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเก็บรักษาและทำลายเอกสารโดยอนุโลม




ที่มา
https://poonamtongtin.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/732/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A!%20%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%20%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%20%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95.%20%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%2062





















Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view