ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
เว็บมาสเตอร์ |
ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มาตรา6เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ และป้องกันปัญหาการทุจริต ให้หน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้และกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามความใน พระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ หรือส่วนงานของหน่วยงานของรัฐที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง เกิดความยืดหยุ่นและมีความคล่องตัว หากรัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐนั้น ประสงค์จะจัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เอง ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ก็ให้กระทําได้โดยต้องดําเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่ในต่างประเทศที่หน่วยงานของรัฐหรือส่วนงาน ของหน่วยงานของรัฐตั้งอยู่มีกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติหรือจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของต่างประเทศนั้น เป็นการเฉพาะหรือกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติตามวรรคสอง จะกําหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา 56 เป็นอย่างอื่นก็ได้่ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติตามวรรคสองและวรรคสามต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 7พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
(2) การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธีรัฐบาล
ต่อรัฐบาลหรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของประเทศนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(3) การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
หรือการจ้างที่ปรึกษาทั้งนี้ที่ไม่สามารถดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ได้
(4) การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิ หรือเอกชนต่างประเทศ ที่สัญญาหรือข้อกําหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(5) การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิ หรือเอกชนต่างประเทศ ที่สัญญาหรือข้อกําหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น โดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ ซึ่งจํานวนเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่ใช้นั้นเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
(6) การจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐโดยใช้เงินบริจาครวมทั้งดอกผลของเงินบริจาคโดยไม่ใช้เงินบริจาคนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างตาม (1) (2) และ (3)ที่ได้รับยกเว้นมิให้นําพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยประกาศ ดังกล่าวจะกําหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างใดตาม (1) (2) หรือ (3) ต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่ออนุมัติให้ได้รับยกเว้นเป็นรายกรณีไปก็ได้
การยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดทั้งหมด หรือแต่บางส่วนนอกเหนือจากการยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของ คณะกรรมการนโยบาย กรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางของพระราชบัญญัตินี้โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการ ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง
การจัดซื้อจัดจ้างตาม (6) นอกจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องดําเนินการตามวรรคสี่แล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐนั้นรายงาน ผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการนโยบายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด มาตรา8การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้
(1) คุ้มค่าโดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีราคาที่เหมาะสม และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน (2) โปร่งใสโดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทําโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มี การแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอมีหลักฐานการดําเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน (3) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยต้องมีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกําหนดเวลาที่เหมาะสม โดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ (4) ตรวจสอบได้โดยมีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุหากการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างมีนัยสําคัญ หรือเกิดจากกรณีเร่งด่วน หรือมีเหตุผลหรือความจําเป็นอื่น การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยอนุโลม มาตรา8การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้
(1) คุ้มค่า (2) โปร่งใส (3) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (4) ตรวจสอบได้ มาตรา 20ให้มีคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ประกอบด้วย (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังซึ่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่
2.1 ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
2.2 ปลัดกระทรวงการคลัง
2.3 ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
2.4 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
2.5 ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
2.6 อัยการสูงสุด
2.7 อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2.8 ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
2.9 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
2.10 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย
ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการของกรมบัญชีกลาง ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายจํานวนสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา27ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ประกอบด้วย (1) ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ (2)กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ 2.1 อธิบดีกรมบัญชีกลาง 2.2 ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี 2.3 ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2.4 ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2.5 ผู้แทนสํานักงบประมาณ 2.6 ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด 2.7 ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น [i] [/i]2.8 ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (3)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ Link: คลิ๊กที่นี่ |
เว็บมาสเตอร์ |
หมวด 2 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนรวมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานขอรัฐตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ หมวด 3 คณะกรรมการ มาตรา 21 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี (3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (4) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (5) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (6) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (7) ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ มาตรา 22กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นประธาน (2) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ 2.1 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2.2 ปลัดกระทรวงการคลัง 2.3 ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2.4 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 2.5 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ 2.6 อัยการสูงสุด 2.7 อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2.8 ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 2.9 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 2.10 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสภาวิศกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแห่งละ 1 คน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรมสถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย
|