http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,084,873
เปิดเพจ6,204,253

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

(อ่าน 611/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

มาตรา 4
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า

(1) ราชการส่วนกลาง

(2) ราชการส่วนภูมิภาค

(3) ราชการส่วนท้องถิ่น

(4) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกา

(5) หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้

"เจ้าหน้าที่" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผูู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด

มาตรา 5 ละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ให้ฟ้องหน่วยงานของรัฐจะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ฟ้องกระทรวงการคลัง

มาตรา 6 ละเมิดไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ให้ฟ้องเจ้าหน้ให้ฟ้องเจ้าหน้าที่ จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรอืต้องรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ เข้ามาเป็นคู่ความในคดี

   ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ฟ้องมิใช่ผู้รับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึง 6 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด


มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น่รับผิดแก่หน่วยงานของรัฐได้ เมื่อปรากฎว่า การละเมิดจากความ "จงใจ" หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" เท่านั้น

มาตรา 9อายุความในการไล่เบี้ยมีอายุความ 1 ปีนั้บแต่วันที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย

มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่า จะเเป็นหน่วยงานที่ผู้นั้นสั่งกัดอยู่หรือไม่ก็ตาม จะต้องรับผิดต่อเมื่อ

   (1) การละเมิดนั้นเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

   (2) การละเมิดเกิดจากความ "จงใจ" หรือ "ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง"

   - อายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

   - มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ในกรณีที่หน่่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าต้องรับผิด


มาตรา 11 ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิด จะยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ได้ ให้หน่วยงานของรัฐออกใบรับคำขอและพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน หากไม่อาจพิจารณาได้ทันให้รายงานต่อรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะอนุมัติให้ขยายได้อีกไม่เกิน 180 วัน


**********************************************
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
โดยประพันธ์ เวารัมย์
***************
1. ถาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด รัชการใด

ตอบ พ.ศ.2539 ในรัชกาลที่ 9

2. ถาม พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้ไว้ ณ เมื่อใด

ตอบ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539

3. ถาม พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด

ตอบ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

4. ถาม พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใคร

ตอบ รัฐสภา

5 ถาม หน่วยงานของรัฐหมายถึงหน่วยงานใดบ้าง

ตอบ 1. กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม 2. ราชการส่วนภูมิภาค 3. ราชการส่วนท้องถิ่น 4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 5. หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตินี้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

6 ถาม หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายกรณีใด

ตอบ เฉพาะในกรณีที่ผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่

7. ถาม ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539ผู้เสียหายจะฟ้องต่อใคร ฟ้องเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่

ตอบ ฟ้องหน่วยงานของรัฐที่เป็นต้นสังกัด แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

8. ถาม หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่าหน่วยงานใดที่ต้องรับผิดชอบ

ตอบ กระทรวงการคลัง

9. ถาม หากเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายมิใช่เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นอย่างไร

ตอบ เป็นการเฉพาะตัว ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

10. ถาม ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิอย่างไร

ตอบ ให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ เข้ามาเป็นคู่ความในคดี

11. ถาม ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปกี่เดือน

ตอบ หกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด

12. ถาม ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้กรณีใด 

ตอบ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

13. ถาม สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะมีเพียงใดให้คำนึงถึงอะไร

ตอบ ให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้

14. ถาม ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับได้หรือไม่ และเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างไร

ตอบ นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับไม่ได้ และเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

15. ถาม ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความกี่ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย

ตอบ หนึ่งปี 

16. ถาม สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ให้มีกำหนดอายุความกี่ปี นับแต่เมื่อใด

ตอบ สองปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่

17. ถาม กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความกี่ปี นับแต่เมื่อใด

ตอบ หนึ่งปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

18. ถาม ผู้เสียหายไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ภายในกี่วัน

ตอบ เก้าสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

19. ถาม หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายภายในกี่วัน

ตอบ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

20. ถาม หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินกี่วัน

ตอบ หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

21. ถาม สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลใด

ตอบ ศาลปกครอง

22. ถาม ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ตอบ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี
*******************************************
สรุป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539

1.    เจ้าหน้าที่ หมายถึง ข้าราชการ  พนักงาน  ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น เช่น คณะกรรมการ
2.    หน่วยงานของรัฐ คือ กระทรวง  ทบวง  กรม  หรือ่ส่วนราชการที่เทียบเท่ากรม    ภูมิภาค  อปท. และรัฐวิสาหกิจที่เกิดจาก พรก.
3.    หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผลของการละเมิดจากการปฏิบัติงานของ จนท.ในกรณีนี้จะฟ้อง จนท.ไม่ได้ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ
4.    แต่ถ้ากลับกันการผลเสียหายจากการละเมิดนั้นเกิดจากการกระทำส่วนตัวให้ฟ้อง จนท.ผู้นั้น  จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
5.    หากมีความเสียหายที่ จนท.จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ก็ร้องขอต่อศาลให้  จนท.ผู้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้
6.    การที่ จนท.ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานไหนเลยไปทำการละเมิดขึ้นให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
7.    ในกรณีที่ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดหน่วยงาน หรือผิดคน ให้ขยายอายุความออกไป 6 เดือน นับจากวันที่มีการพิจารณาถึงที่สุด
8.    หลังจากหน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย หน่วยงานมีสิทธิให้ จนท.ชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐได้ในกรณีที่ จนท. ได้กระทำด้วยความจงใจประมาทเลินเล่ออย่างแรง
9.    นิยามคำว่า “กระทำโดยประมาทเลินเล่อ” หมายถึงการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามปกติวิสัย และพฤติการณ์  และผู้กระทำอาจช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้  แต่ก็ไม้ได้ใช้ให้เพียงพอ
10.    นิยามคำว่า “กระทำโดยประมาทเลินเล่นอย่างร้ายแรง” หมายถึงการกระทำโดยรู้สำนึกอยู่แล้วว่าเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดภัยหรือความเสียหาย  แต่ยังขืนทำโดยคิดว่าสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภัยหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้
11.    สิทธิในการชดใช้ต้องคำนึงถึง ความร้ายแรงแห่งการกระทำ  และความเป็นธรรมแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์
12.    ในกรณีที่มี จนท.หลายคนร่วมทำการละเมิด  ไม่ให้นำหลักการแบบลูกหนี้ร่วมมาใช้
13.    หลังจากหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้สินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย  ให้มีอายุความ 1 ปี ที่หน่วยงานจะเรียกร้องให้ จนท.  คืนสินไหมทดแทนแก่หน่วยงาน
14.    การกระทำโดยละเมิดหากไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการให้การบังคับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่ง และพานิชย์ ให้มีอายุความ 2 ปี
15.    กรณีที่หน่วยงานมีการพิจารณาแล้วว่า จนท.ไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าหากกระทรวงการคลังเห็นว่าควรรับผิดให้เป็นไปตามการพิจารณาของกระทรวงการคลัง  โดยให้มีอายุความ 1 ปี
16.    ผู้เสียหายจากการละเมิดได้ยื่นคำขอให้หน่วยงานพิจารณาชดใช้ค่าเสียหาย ให้หน่วยงานนั้นออกใบคำขอไว้เป็นหลักฐาน  และให้ทำการพิจารณาโดยเร็ว   และถ้าผู้เสียหายไม่พอใจผลการพิจารณาของหน่วยงานก็ให้มีสิทธิ์ในการฟ้องสาลปกครองภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากทราบคำพิจารณาของหน่วยงาน
17.    หน่วยงานต้องพิจารณาเรื่องที่มีผู้รองขอให้ชดใช้ค่าเสียหายภายใน 180 วัน
18.    ถ้าครบ 180 วันแล้วพิจารณาไม่เสร็จให้รายงานปัญหา และอุปสรรคต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
19.    รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีอำนาจในการอนุมัติให้มีการพิจารณาต่อจาก 180 วัน ได้ไม่เกิน 180 วัน
20.    ครม. กำหนดระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผ่อนชำระเงิน  โดยคำนึงถึงรายได้  ครอบครัว  ฐานะความรับผิดชอบ  และพฤติการณ์แห่งกรณี
21.    เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.ฉบับนี้ก็เพื่อ
1.    ความไม่เป็นธรรมใน ป.พ.พ. ที่มุ่งแน้นให้ได้เงินครบอย่างเดียว
2.    จนท.อาจจะทำโดยไม่ตั้งใจ หรือผิดพลาดเล็กน้อย
3.    ไม่ให้มีการใช้หลักลูกหนี้ร่วม  แต่ให้รับผิดชอบในส่วนที่ตนกระทำเท่านั้น
4.    เจ้าหน้าที่จะได้กล้าดำเนินการในกาปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
22.    หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดได้ ไมเกิน 5 คน
23.    การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดจะแต่งตั้งจากข้าราชการในหน่วยงานหรือจากหน่วยอื่นแล้วแต่หัวหน้าหน่วยงานจะเห็นสมควร
24.    ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบนั้นถ้าหากเกิดภัยธรรมชาติในกรณีส่วนภูมิภาควงเงินไม่เกิน 400,000 บาท   และถ้าเป็น อปท.หรือรัฐวิสาหกิจในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
25.    พรบ.ฉบับนี้มีผลในการบังคับใช้ 15 พฤศจิกายน 2539
**************************************************











Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view