กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ (เปิดรับสมัครวันที่ 24 ต.ค. 62 - 15 พ.ย. 62)
เว็บมาสเตอร์ |
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ (เปิดรับสมัครวันที่ 24 ต.ค. 62 - 15 พ.ย. 62) ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครสอบ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน รายละเอียดประกาศ พพ.
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 1. แนบท้ายประกาศรับสมัครฯ (เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน)
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 2. แนบท้ายประกาศรับสมัครฯ (นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ)
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 3. แนบท้ายประกาศรับสมัครฯ (นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ) คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 4. แนบท้ายประกาศรับสมัครฯ (นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ) คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 5. แนบท้ายประกาศรับสมัครฯ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ) คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 6. แนบท้ายประกาศรับสมัครฯ (นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ) การรับสมัครสอบ
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต 24 ตุลาคม 2562 - 15 พฤศจิกายน 2562 ที่เว็บไซต์ https://dede.thaijobjob.com (ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ) หมายเหตุ : ผ่าน/ไม่ผ่าน ภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบครั้งนี้ได้ กรณีที่ผู้สมัครสอบไม่มี หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป หรือ ระดับปริญญาตรีขึ้นไป เมื่อสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) แล้วจะต้องสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ที่เปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ (ภาค ก.พิเศษ) ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป สรุปพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และแนวข้อสอบ โหลดตรงนี้
สรุปพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และแนวข้อสอบ โหลดตรงนี้
Link: คลิ๊กที่นี่ |
เว็บมาสเตอร์ |
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ หน้าที่ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม วิสัยทัศน์ "เป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาคเอเชียภายในปี พ.ศ. 2579" To become a leader in alternative energy development and energy efficiency in Asia by 2036. พันธกิจ สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของประเทศเพื่อให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม To create sustainability of alternative energy and energy efficiency of the country, in order to boost efficiency and environmentally friendly of energy production and consumption. หน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสานและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 รับผิดชอบกำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พรบ. การพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 (ว่าด้วยพลังงานควบคุม) พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม) ยุทธศาสตร์ พพ. ยุทธศาสตร์ที่ 1: เพิ่มสัดส่วนการผลิตและการใชัพลังงานทดแทน เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ - มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น กลุยุทธ์ 1) ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 2) สร้างกลไกการกำกับ สนับสนุน ให้ประเทศมีการพัฒนาด้านพลังงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตัวชี้วัด - สัดส่วนการใช้พลังงานและพลังงานทางเลือก ไม่น้อยกว่า 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เพิ่มประสิทธิภาพการใชัพลังงาน เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ - มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กลุยุทธ์ 1) ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2) สร้างกลไกการกำกับ สนับสนุน ให้ประเทศมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตัวชี้วัด - ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Intensity : EI) ลดลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ - เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กลุยุทธ์ 1) บูรณาการการทำงานภายในอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด - พัฒนาระบบเทคโนโลยสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์การ - พัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ค่านิยม "WIN" คือ การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน W (Work of excellence) = เป็นเลิศเรื่องงาน I (Integration) = บูรณาการร่วมใจ N (No corruption) = โปร่งใสซื่อสัตย์ #ประวัติความเป็นมากรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เดิมชื่อว่า "การพลังงานแห่งชาติ" จัดตั้งขึ้น โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอนที่ 3 ลงวันที่ 6 มกราคม 2496 โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ" เป็นผู้วางนโยบายและพิจารณาโครงการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับพลังงาน และมีหน่วยราชการขึ้นหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม มีชื่อว่า "การพลังงานแห่งชาติ" ตั้งแต่ วันที่ 7 มกราคม 2496 เป็นต้นมา และได้มีการปรับเปลี่ยนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ปี 2427-2495 ก่อนกำเนิดการพลังงานแห่งชาติ 2427 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้า และติดดวงโคมไฟฟ้าที่กรมทหาร เป็นการทดลองใช้ไฟฟ้าครั้งแรกในเมืองไทย 2435 บริษัท รอยัลดัทซ์ปิโตรเลียม จำกัด บริษัทน้ำมันต่างชาติแห่งแรกเข้ามาจำหน่ายน้ำมันก๊าดในไทย ให้สำหรับจุดตะเกียงส่องสว่าง 2437 รถรางในพระนครที่เคยใช้ม้าลาก เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้า ถือเป็นรถรางไฟฟ้าสายแรกๆ ของโลก 2440 เกิดโรงไฟฟ้าแห่งแรกโดยบริษัทเอกชน ตั้งในที่ดินของวัดราชบูรณะราชวรวิหารหรือวัดเลียบ เรียกกันทั่วไปว่า "โรงไฟฟ้าวัดเลียบ" จ่ายไฟฟ้าให้ถนนและสถานที่ราชการ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ไม้ฟืน ถ่านหิน น้ำมัน และแกลบเป็นเชื้อเพลิง 2457 "โรงไฟฟ้าสามเสน" เริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นกิจการภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย 2464 สำรวจพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มการสำรวจถ่านหินลิกไนต์เป็นเวลา 2 ปี พบที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และคลองขนาน จังหวัดกระบี่ 2470 เมืองราชบุรีเป็นเทศบาลเมืองต่างจังหวัดแห่งแรกที่มีไฟฟ้าใช้ 2471 รัฐบาลประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน ระบุถึงกิจการสาธารณูปโภค 7 อย่างที่ต้องได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐก่อนมีโรงไฟฟ้าเป็นหนึ่งในเจ็ดอย่างนั้น 2472 จัดตั้ง "แผนกไฟฟ้า" อยู่ในกองบุราภิบาล กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดให้มีไฟฟ้าใช้ในเขตสุขาภิบาลของจังหวัดต่างๆ 2473 เริ่มมีสถานีจำหน่ายน้ำมันเบนซินสำหรับรถยนต์ 2475 วันที่ 24 มิถุนายน คณะราษฏรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย 2476 จัดตั้ง "แผนกเชื้อเพลิง" สังกัดกรมพลาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม มีภารกิจจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันหล่อลื่น ให้แก่หน่วยงานราชการ 2477 แผนกไฟฟ้าได้รับการยกฐานะเป็น "กองไฟฟ้า" สังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย และเริ่มมีบริษัทเอกชนขอรับสัมปทานจัดตั้งกิจการไฟฟ้าในจังหวัด และอำเภอต่างๆ จ่ายไฟเฉพาะในช่วงกลางคืน 2480 แผนกเชื้อเพลิงได้รับการยกฐานะเป็น "กรมเชื้อเพลิง" และเริ่มจำหน่ายน้ำมันให้แก่ประชาชนทั่วไป 2481 ตราพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง ให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาขายน้ำมัน จัดตั้ง "คณะกรรมการไฟฟ้ากำลังน้ำ" เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำแทนเครื่องไอน้ำหรือดีเซลพื้นที่ซึ่งได้สำรวจเพื่อก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกคือที่บ้านแก่งเรียง กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่ แต่โครงการหยุดชะงักเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 2483 กรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม ก่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศที่ช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร โดยใช้น้ำมันดิบจากอำเภอฝาง 2484 เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติต้องเปิดตัว บ้านเมืองขาดแคลนน้ำมันและไฟฟ้ามีการทิ้งระเบิดทำลายโรงกลั่นน้ำมันของกรมเชื้อเพลิง รวมทั้งโรงไฟฟ้าทั้งในพระนครและต่างจังหวัดได้รับความเสียหาย 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลถูกประเทศผู้ชนะสงครามบีบให้ยกเลิกพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงและยุบกรมเชื้อเพลิง เปิดให้บริษัทน้ำมันต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายน้ำมันโดยเสรี และผูกขาดการขายน้ำมันให้แก่รัฐบาล โดยรัฐบาลไม่สามารถค้าขายน้ำมันให้แก่หน่วยงานราชการและประชาชน ยกเว้นในกิจการทหาร 2492 รัฐบาลจัดตั้ง "แผนกเชื้อเพลิง" ขึ้นใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ท่าเรือริมคลองพระโขนง-คลองเตย 2493 รัฐบาลจัดตั้ง "การไฟฟ้ากรุงเทพ" ดำเนินกิจการไฟฟ้าในพื้นที่นครหลวง 2494 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของกิจการไฟฟ้าที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการไฟฟ้ากำลังน้ำเป็น "คณะกรรมการพิจารณาสร้างไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร" 2495 ประธานธนาคารโลกเดินทางมาพิจารณาการขอกู้เงินของรัฐบาลไทย และให้ความเห็นต่อรัฐบาลว่าการแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานมีความสำคัญอันดับหนึ่ง และควรให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การเดียว จึงนำมาสู่การจัดตั้ง "การพลังงานแห่งชาติ" ในปีถัดมา ปี 2496-2545 การเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน 2496 7 มกราคม 2496 เริ่มก่อตั้ง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง 2502-2514 13 กรกฎาคม 2502 ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส จนถึงปัจจุบัน 23 พฤษภาคม 2506 ย้ายไปสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2506 1 ตุลาคม 2514 ย้ายมาสังกัด สำนักนายกรัฐมนตร๊ตามเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานพลังงานแห่งชาติ" 2522-2535 24 มีนาคม 2522 ย้ายไปสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน 13 กุมภาพันธ์ 2535เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน" สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ตามประกาศพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 4 เมษายน 2535 เปลี่ยนชื่อสังกัดเป็น "กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม" 2545 3 ตุลาคม 2545 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน" สังกัดกระทรวงพลังงานตามประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 s://dede.thaijobjob.com/?fbclid=IwAR3N9X6L44I5KTFQmQABFaL3MQL2O2m_niFPzjpiA9uJ5HwEdmPyX-YBpJY |
เว็บมาสเตอร์ |
1. คอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ คืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติ โดยจะทำการคำนวณเปรียบเทียบ ทางตรรกกับข้อมูล และให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ โดยมนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผล 2. คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่างๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือ การสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ได้ เนื่องคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่างๆ คือ 2.1 ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) การทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้กำหนดไว้ ทำงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลและแปลงผลลัพธ์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ 2.1 ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที 2.3 ความเชื่อ (Reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาดและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย 2.4 ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม 2.5 เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร 2.6 ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) 2.7 ทำงานซ้ำได้ (Repeatability) ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนี้ยังลดความผิดพลาดต่างๆได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผลแม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม จะสามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว |