ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
เว็บมาสเตอร์ |
#ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 1. โครงสร้าง แบ่งออกเป็น 15 หมวด จำนวน 132 มาตรา ดังนี้ มาตรา 1 – 5 บทนิยาม มาตรา 6 – 15 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 16 – 19 หมวด 2 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต มาตรา 20 – 45 หมวด 3 คณะกรรมการ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ส่วนที่ 2 คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ส่วนที่ 3 คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ส่วนที่ 4 คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ส่วนที่ 5 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน มาตรา 46 – 50 หมวด 4 องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา 51 – 53 หมวด 5 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา 54 -68 หมวด 6 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง มาตรา 69 – 78 หมวด 7 วิธีการจ้างที่ปรึกษา มาตรา 79 -92 หมวด 8 วิธีการจ้างออกแบบและควบคุมงาน มาตรา 93 – 99 หมวด 9 การทำสัญญา มาตรา 100 – 105 หมวด 10 การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ มาตรา 106 – 108 หมวด 11 การประเมินผลการปฏิบัติงานผู้ประกอบการ มาตรา 109 – 111 หมวด 12 การทิ้งงานและการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน มาตรา 112 – 113 หมวด 13 การบริหารพัสดุ มาตรา 114 – 119 หมวด 14 การอุทธรณ์ มาตรา 120 – 121 หมวด 15 บทกำหนดโทษ มาตรา 122 – 132 บทเฉพาะกาล ให้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจ้าง หรือการบริหารพัสดุ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับประกาศข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใดๆ ของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560) 3. นิยามศัพท์สำคัญ (มาตรา 4) “การจัดซื้อจัดจ้าง”หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ โดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “พัสดุ” หมายความว่า สินค้า งานบริกการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบหรือ ควบคุมก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “สินค้า” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ รวมถึงงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่าของมูลค่า “สินค้า” นั้น Link: คลิ๊กที่นี่ |
แสดงความคิดเห็น