http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,160,495
เปิดเพจ6,306,112

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

ศาสตร์พระราชา (The king''s philosophy)

(อ่าน 318/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

เนื้อหา : สาระน่ารู้พัฒนาทักษะชีวิต
หมวดหมู่ : สาระน่ารู้
หัวข้อเรื่อง : ศาสตร์พระราชา (The king's philosophy)

อังคาร ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 


 


ศาสตร์พระราชา (The king''s philosophy)

          ศาสตร์พระราชา แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการต่างๆ มากกว่า 4,000 โครงการ เพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน จุดเริ่มต้นของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2495 ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยทรงนำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและหลักการทางธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ 
         หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง 
เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
          1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 
          2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ 
          3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ  ดังนี้ 
          1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 
          2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต       
ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงคือเกษตรทฤษฎีใหม่
         ความสำคัญของทฤษฎีใหม่ 
          1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน 
          2. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี 
          3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง 3 ขั้นตอน 
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง 
พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอด ปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ
          ศาสตร์พระราชาประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญคือ 
          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 เป็นหลักการนำทาง ประกอบด้วยสามห่วง สองฐาน คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตน มีฐานความรู้ และ ฐานคุณธรรม 
          วิธีการของศาสตร์พระราชา จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เข้าใจ หมายถึง การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การใช้และแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์และการวิจัย การทดลองใช้จนได้ผลจริงก่อน 
เข้าถึง หมายถึงการระเบิดจากข้างใน เข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และสร้างปัญญาสังคม
พัฒนา หมายถึง การพัฒนาที่ประชาชนเริ่มต้นด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้ และมีต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้
          การประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชา ต้องทำให้ด้วยความรัก ความปรารถนาและด้วยใจ ต้องประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ไม่ยึดติดตำรา ปรับตามบุคคล สภาพพื้นที่และสถานการณ์ ตัวอย่างของการประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชาได้แก่ โครงการพระราชดำริกว่า 4000 โครงการ เกษตรทฤษฎีใหม่ แกล้งดิน แก้มลิง ฝนหลวง กังหันน้ำชัยพัฒนา หญ้าแฝก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สถานีวิทยุ อส ถนนวงแหวน ถนนรัชดาภิเษก ทางด่วนลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี สะพานพระราม 8 ฟอนท์ไทยจิตรลดา และเสาอากาศสุธี เป็นต้น
          ผลลัพธ์ ของศาสตร์พระราชา คือแผ่นดินโดยธรรมและประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตามพระปฐมบรมราชโองการ พออยู่พอกิน และ รู้รักสามัคคี อันเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
          ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคนด้วยการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยทรงพัฒนาด้านการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนมาโดยตลอด เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง แม้แต่ผู้ที่ด้อยโอกาส และสถานที่ที่ห่างไกล ทั้งที่เป็นชาวไทยภูเขาหรือประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นชายแดนห่างไกลจากการคมนาคม โดยการพระราชทานพระราชทรัพย์ ร่วมสร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อสอนหนังสือให้แก่พี่น้องประชาชนเหล่านั้น โดยพระราชทานนามว่า “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” ทรงสร้าง “โรงเรียนร่มเกล้า” ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และในพื้นที่ปฏิบัติการของผู้มีอุดมการณ์ทางการเมือง ทรงตั้ง “โรงเรียนราชประชาสมาสัย” สำหรับบุตรธิดาของผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน ได้มีโอกาสได้เรียน ไม่ถูกรังเกียจ และอีกหลาย ๆ โรงเรียน ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย และยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทย
          ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงเป็นที่รักและเป็นดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ทรงเน้นย้ำ 5 เรื่องที่สำคัญของการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม คือ 1) ความพอเพียง 2) ความกตัญญู 3) ความซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ 5) อุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม 
          รัฐบาลนอกจากน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” อันนับว่าเป็นแนวทางพระราชทานมาสู่การปฏิบัติแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา ไปสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์ ความคิดริเริ่ม มีจินตนาการมีการสนใจข้อมูลข่าวสารรอบตัว ที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ และการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และการประกอบกิจการใดๆ ความสนใจใฝ่รู้ และศึกษาแนวโน้ม คาดการณ์อนาคต บนพื้นฐานของฐานข้อมูลและสถิติ และการศึกษา เพื่อการประกอบอาชีพ “ทุกคนมีงานทำ” ซึ่งได้มีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” นโยบายด้านการศึกษาผ่านโครงการการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) และโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (P.L.C.) เพื่อให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้ทางวิชาการความรู้ทางปฏิบัติการ และความรู้คิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริง ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้ได้มากที่สุด และนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง
          แนวทางการบริหารประเทศด้วย “ศาสตร์พระราชา” ของรัฐบาลมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ อันประกอบด้วย ตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยึดถือ “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” คือ ทำให้ประชาชนมีความสุข มีความพึงพอใจ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยรักษาสมดุล ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการแก้ปัญหา ตามแนวทางสันติวิธี และยึดแนวทางการพัฒนา “สีเขียว” เสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ประเทศชาติและประชาชน โดยให้มีการพัฒนาประชาธิปไตย ที่เหมาะสมกับบริบทของไทย และมีอัตลักษณ์ไทย
แหล่งข้อมูล : จงรัก เทศนา 
                   ศาสตร์พระราชา เรื่อง งานของพระราชา , ณิชาภัส ชนาดิศัย , พ.ศ. 2560
                   http://hrd.nida.ac.th/2015/admin/ckfinder/userfiles/files/HROD%20TALK92%20AjTanAjBoy.pdf  
                   http://www.chaipat.or.th/site_content/34-13/3579-2010-10-08-05-24-39.html
                   http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4297
                   http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=6672&filename=index

ที่มา


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view