http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,083,367
เปิดเพจ6,202,516

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

ความหมาย น้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema)

(อ่าน 159/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

ความหมาย น้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema)

น้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema) หรือปอดบวมน้ำ เป็นภาวะที่เกิดจากการมีของเหลวในถุงลมปอดมากผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหายใจไม่อิ่มเนื่องจากขาดออกซิเจน โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หัวใจผิดปกติ ปอดบวมติดเชื้อ สัมผัสกับสารพิษหรือการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ส่วนการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งหากเกิดภาวะน้ำท่วมปอดแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต



อาการของน้ำท่วมปอด

น้ำท่วมปอดมีอยู่หลายชนิด โดยอาการจะแตกต่างกันไป ดังนี้

อาการของน้ำท่วมปอดชนิดเรื้อรัง



  • หายใจไม่อิ่มขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ

  • หายใจมีเสียงครืดคราดหรือมีเสียงหวีด

  • หายใจลำบากเมื่อต้องออกแรง หรือหายใจลำบากเมื่อนอนราบ

  • ตื่นนอนกลางดึกเพราะหายใจลำบาก ซึ่งอาจต้องลุกขึ้นนั่งเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหากมีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจวาย

  • อ่อนเพลีย หรือมีอาการบวมที่ขาและเท้า



อาการของน้ำท่วมปอดชนิดเฉียบพลัน



  • หายใจไม่อิ่มอย่างรุนแรง หรือหายใจลำบากเมื่อนอนลง

  • หอบ หรือรู้สึกเหมือนจมน้ำ

  • หายใจมีเสียงหรือหายใจลำบาก

  • กระสับกระส่าย สับสน วิตกกังวล

  • ไอมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู

  • เจ็บหน้าอกหากมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว


ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการน้ำท่วมปอดระยะเฉียบพลัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

อาการของน้ำท่วมปอดจากการขึ้นที่สูง




    • ปวดศีรษะ ซึ่งอาจเป็นอาการแรกที่เกิดขึ้น

    • มีไข้ ไอ ไอมีเสมหะหรืออาจมีเลือดปน

    • หายใจไม่อิ่มหลังจากออกแรง ซึ่งจะเกิดอาการเมื่อหยุดพัก

    • เดินขึ้นเนินหรือที่สูงได้ยากลำบาก

    • ใจสั่น หรือหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

    • เจ็บหน้าอก




ทั้งนี้ หากขึ้นที่สูงแล้วทำให้เกิดอาการอย่างเจ็บหน้าอก มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไอมีเสมหะปนเลือด หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ หายใจไม่อิ่ม มีปัญหาเมื่อเดินขึ้นที่สูงและเกิดความผิดปกติเมื่อกลับมาเดินในที่ราบ ควรรีบไปพบแพทย์

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และควรไปพบแพทย์หากพบอาการดังต่อไปนี้



  • หายใจติดขัดอย่างรุนแรง หายใจไม่อิ่ม และหายใจไม่ออก

  • มีอาการวิตกกังวลที่เกิดจากความผิดปกติในการหายใจ

  • เหงื่อออกพร้อมกับหายใจลำบาก

  • เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ

  • ผิวหนังเปลี่ยนสีเป็นสีเทาหรือม่วง

  • ไอพร้อมกับมีเสมหะปนเลือดหรือเป็นฟอง


สาเหตุของน้ำท่วมปอด

โดยทั่วไปน้ำท่วมปอดจะมีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออาจเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดเลือดที่มาจากปอดไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ตามปกติ ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นและย้อนกลับไปที่ปอด นอกจากนั้น ภาวะหลอดเลือดแดงตีบ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ลิ้นหัวใจผิดปกติ และความดันโลหิตสูง ก็สามารถทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานบกพร่องได้

ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมปอด ได้แก่



  • ลิ่มเลือดอุดตัน

  • กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)

  • การสัมผัสกับแอมโมเนีย คลอรีน หรือสารพิษอื่น ๆ

  • การสูดควันที่มีส่วนประกอบของสารเคมีบางชนิด

  • สมองหรือระบบประสาทบาดเจ็บหรือเกิดบาดแผล

  • ปอดเกิดการบาดเจ็บหลังจากรักษานำลิ่มเลือดออกไป

  • การติดเชื้อไวรัส

  • จมน้ำ

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด

  • การอยู่ในที่สูงหรือขึ้นที่สูงประมาณ 8,000 ฟุต

  • โรคหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือด

  • ความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน

  • ปอดบวม

  • ตับอ่อนอักเสบ

  • ไตวาย

  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง หรือเลือดเป็นพิษจากการติดเชื้อ


การวินิจฉัยน้ำท่วมปอด

เนื่องจากภาวะน้ำท่วมปอดมักต้องรักษาอย่างทันท่วงที การวินิจฉัยเบื้องต้นจึงเป็นการสังเกตอาการที่เกิดขึ้นและตรวจร่างกาย เมื่ออาการทรงตัว แพทย์จะถามถึงประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมถึงอาจทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย เช่น



  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง

  • การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด

  • การตรวจเอ็กโคคาร์ดีโอแกรม (Echocardiogram) หรืออัลตร้าซาวด์เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจ

  • การเอกซเรย์ปอด

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือตรวจหาสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือด


การรักษาน้ำท่วมปอด

การรักษาภาวะน้ำท่วมปอดจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ในเบื้องต้นหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจและมีระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ แพทย์อาจให้ออกซิเจนโดยให้ผู้ป่วยใช้หน้ากากออกซิเจนหรือสอดท่อออกซิเจนเข้าไปในรูจมูก ซึ่งแพทย์จะเฝ้าดูอาการและรักษาระดับออกซิเจนในร่างกายของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และหากน้ำท่วมปอดจากสาเหตุอื่น ๆ แพทย์ก็จะรักษาภาวะดังกล่าวและรักษาน้ำท่วมปอดไปพร้อมกัน

ส่วนยาที่ใช้รักษาภาวะน้ำท่วมปอด มีดังนี้




    • กลุ่มยาลดแรงดันที่เกิดจากของเหลวเข้าไปในหัวใจและปอด เช่น ยาไนโตรกลีเซอริน และยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ เป็นต้น

    • กลุ่มยาขยายหลอดเลือดและลดความดันในหัวใจห้องล่างซ้าย เช่น ยาไนโตรปรัสไซด์ เป็นต้น

    • มอร์ฟีน ซึ่งอาจนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มและอาการวิตกกังวล แต่แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาชนิดอื่นมากกว่า

    • ยารักษาความดันโลหิต แพทย์อาจให้ใช้ยาลดความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจากน้ำท่วมปอด หรือให้ยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ





นอกจากนี้ หากน้ำท่วมปอดเกิดจากการอยู่บนที่สูง กรณีที่ผู้ป่วยปีนป่ายหรือไปท่องเที่ยวบนที่สูง ด้วยความสูงประมาณ 600-900 เมตร ก็อาจทำให้เกิดอาการได้ โดยควรรักษาและบรรเทาอาการ ดังนี้



  • ลดระดับความสูงเพื่อช่วยลดอาการเบื้องต้น หากมีอาการป่วยรุนแรง จำเป็นต้องมีผู้ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงมายังที่ต่ำโดยเร็วที่สุด

  • หยุดทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงและทำให้ร่างกายอบอุ่น เพื่อป้องกันอาการแย่ลง

  • บางกรณีอาจต้องให้ออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจกับผู้ป่วย เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในร่างกายหรือเพิ่มอากาศเข้าไปในปอดให้มากขึ้น

  • ใช้ยาไนเฟดิปีน เพื่อช่วยลดความดันของหลอดเลือดในปอด ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้น

  • นักปีนเขาบางรายมักใช้ยาเพื่อป้องกัันและรักษาอาการจากการปีนขึ้นที่สูง เช่น ยาอะเซตาโซลาไมด์ หรือยาไนเฟดิปีน เป็นต้น โดยการใช้ยาสำหรับป้องกันอาการ ให้เริ่มใช้ยาอย่างน้อย 1 วันก่อนไปปีนเขา


ภาวะแทรกซ้อนของน้ำท่วมปอด

ภาวะแทรกซ้อนของน้ำท่วมปอดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งส่วนใหญ่หากอาการไม่รุนแรงและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะสามารถฟื้นฟูร่างกายได้เป็นปกติ

แต่หากอาการป่วยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เกิดความดันหลอดเลือดปอดสูง อาจทำให้หัวใจห้องล่างอ่อนแอลงและทำงานล้มเหลวได้ในที่สุด เพราะผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาจะบางกว่าห้องซ้าย และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาได้ เช่น



  • มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด

  • ตับคั่งและบวม

  • แขน ขา และท้องบวม



ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือได้รับการรักษาช้าอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยบางรายที่เป็นน้ำท่วมปอดระยะเฉียบพลันก็อาจถึงแก่ชีวิตได้แม้ได้รับการรักษาแล้วก็ตาม
การป้องกันน้ำท่วมปอด


เนื่องจากน้ำท่วมปอดเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการ

อย่างไรก็ตาม การป้องกันในเบื้องต้นที่พอจะช่วยได้สามารถทำได้โดยรับวัคซีนป้องกันปอดบวม หรือวัคซีนป้องกันไข้หวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีหัวใจผิดปกติหรือผู้สูงอายุ ซึ่งหลังจากเกิดอาการ ผู้ป่วยควรใช้ยาขับปัสสาวะตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ

นอกจากนั้น สามารถลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมปอดที่พบได้บ่อย ด้วยการดูแลตนเอง ดังนี้




    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชในปริมาณมาก

    • รับประทานเกลืิอให้น้อย

    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    • ควบคุมระดับความดันโลหิต และตรวจระดับคอเลสเตอรอลอยู่เสมอ

    • สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ให้พยายามลดน้ำหนักตัว หรือรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    • หลีกเลี่ยงการเผชิญความเครียด

    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการใช้ยาเสพติด

    • หากมีปัญหาสุขภาพ ให้ไปพบแพทย์ตามนัดหมายเป็นประจำ





      ที่มา


 


    https://www.pobpad.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94-pulmonary-edema

Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view