คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560
เว็บมาสเตอร์ |
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 Øให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด โดยการอำนวยการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นๆ
Øให้มีศึกษาธิการภาคเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการพนักงานราชการและลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการภาค โดยกำหนดให้มีรองศึกษาธิการภาคจำนวน 1 คน เพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการภาค ทั้งนี้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรองศึกษาธิการภาคต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง หรือศึกษาธิการจังหวัด อยู่ก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ และให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุศึกษาธิการภาค และสั่งบรรจุแต่งตั้งรองศึกษาธิการภาค จากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
Øในแต่ละจังหวัดให้มี “กศจ.” จำนวนไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย (1) ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (2) ศึกษาธิการภาคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ (3) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ (4) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ (5) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ (6) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นกรรมการ (7) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นกรรมการ
(8) ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษาระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกรรมการ (9) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และผู้แทนภาคประชาชน ด้านละหนึ่งคน (10) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ (11) รองศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการ (ไม่ได้เป็นกรรมการ) Øให้ กศจ. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อกศจ.” เพื่อช่วยเหลือหรือกลั่นกรองงานให้แก่ กศจ. เกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง การโยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การกำหนดวิทยฐานะ หรือการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ อกศจ. มีจำนวนไม่เกิน 9 คน ประกอบด้วย (1) กรรมการใน กศจ. จำนวนหนึ่งคน เป็นประธานอนุกรรมการ (2) กรรมการใน กศจ. จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ (3) ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัด จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ (4) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน กศจ. จำนวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ (5) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ Øการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของ กศจ. อกศจ. อนุกรรมการและคณะทำงานอื่นให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ Øให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการเพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่างๆ ที่มอบหมายและให้อำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัด Øให้มีศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการพนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอยู่ภายใต้การดูแลของศึกษาธิการภาครวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และให้มีรองศึกษาธิการจังหวัด เพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการจังหวัดจำนวนสามคน Øให้ศึกษาธิการจังหวัดรองศึกษาธิการจังหวัด และข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งนี้ให้ศึกษาธิการจังหวัดดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอำนวยการระดับสูง และผู้ที่จะดำรงตำแหน่งศึกษาธิการต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประเภทผู้บริหารการศึกษาหรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองศึกษาธิการภาคอยู่ก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ Øการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลการทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครตามมาตรา 53 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจ. เป็นผู้อำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง Øให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค กำหนดสถานที่ตั้งของสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่เป็นการเพิ่มหรือกระทบต่อภาระงบประมาณ Øบรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือ มติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ถือว่าอ้างถึง กศจ. ตามคำสั่งนี้ Øในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค Link: คลิ๊กที่นี่ |