http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,083,456
เปิดเพจ6,202,631

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

เตรียมสอบนักวิชาการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(อ่าน 476/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

เตรียมสอบนักวิชาการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ภาค ข.) ที่ต้องสอบ ตามประกาศฯ ปี 2560
(1)  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(2) พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(4) พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2561

(5) แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 -2579

(6) ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ การการศึกษา พิเศษ การศึกษาตามอัธยาศัย

(7) ความรู้ในการจัดทำแผนงาน/ โครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

(8) ความรู้ในการวางแผนการศึกษา การจัดพิพิธภัณฑ์ทางการศึกษา และจัดทำมาตรฐานการศึกษา

(9) ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ”ของตำแหน่งที่สมัครสอบ

**************
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553
มีทั้งหมด 9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
@หมวดที่ 1 บททั่วไป (ความมุ่งหมายและหลักการ)
@หมวดที่ 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
@หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา
@หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา (สำคัญที่สุด)
@หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
@หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
@หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
@หมวดที่ 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
@หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
@บทเฉพาะกาล
นิยามศัพท์

Øการศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

Ø การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

Øการแบ่งระดับและประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 3 ระดับดังนี้

(1) ระดับก่อนประถมศึกษา

(2) ระดับประถมศึกษา

(3) ระดับมัธยมศึกษา

Øระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย

Øระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น สามัญศึกษา และอาชีวศึกษา

Øการศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจาการผสมผสานระหว่าง การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

Øสถานศึกษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

Øมาตรฐานการศึกษาหมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อให้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ ประเมินผล และประกันคุณภาพทางการศึกษา

Øการประกันคุณภาพภายในหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

Øการประกันคุณภาพภายนอกหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หรือบุคคลหรือหน่วยงานที่ สมศ.รับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 

*****************************************

         ก.ค.ศ. หมายถึง คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (เดิม) จำนวนทั้งสิ้น 31 คน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานโดยตำแหน่ง ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูในกระทรวงศึกษาธิการ

          เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16 /2560 เรื่อง บริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีคำสั่งดังนี้
          ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ. ตามมาตรา 7 (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ.
          ให้ ก.ค.ศ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ( 14 คน) ประกอบด้วย
          (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                       ประธานกรรมการ
          (2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                 กรรมการโดยตำแหน่ง
          (3) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                                  กรรมการโดยตำแหน่ง
          (4) เลขาธิการ ก.พ.                                             กรรมการโดยตำแหน่ง
          (5) เลขาธิการสภาการศึกษา                                    กรรมการโดยตำแหน่ง
          (6) เลขาธิการ กพฐ. (ขั้นพื้นฐาน)                     กรรมการโดยตำแหน่ง
          (7) เลขาธิการ กกอ. (อุดมศึกษา)                     กรรมการโดยตำแหน่ง
          (8) เลขาธิการ กอศ. (อาชีวศึกษา)                             กรรมการโดยตำแหน่ง
          (9) เลขาธิการคุรุสภา                                           กรรมการโดยตำแหน่ง
          (10) รมต.กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา และด้านกฎหมาย          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
          (11) เลขาธิการ ก.ค.ศ.                                          กรรมการและเลขานุการ
Øให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
Øกรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view