สรุปพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เว็บมาสเตอร์ |
สรุปพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 **ฉบับแรก** -ให้ไว้ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551 - ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 25 มกราคม พ.ศ. 2551 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125/ตอนที่ 22 ก/หน้า 1/ 25ม.ค.51) - ใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551 / (วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป) **ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558** -ให้ไว้ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132/ตอนที่ 43 ก/หน้า 1/ 21 พ.ค.58) **แต่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป (มีผลย้อนหลังสำหรับฉบับที่ 2) คำนิยาม ข้าราชการพลเรือนหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ข้าราชการฝ่ายพลเรือนหมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกว่าโดยย่อว่า “ก.พ.” -นายกฯ / รองนายกที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน -ปลัดกระทรวงการคลัง -ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ -เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ -กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน - การบริหารทรัพยากรบุคคล - การบริหารและจัดการ - กฎหมาย -การสรรหาตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. -เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ + เลขานุการ **ดังนั้น ก.พ. คณะหนึ่งมีไม่เกิน 12 คน** -กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีหากพ้นตำแหน่ง จะทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ - ถ้ากรรมการว่างลงก่อนกำหนด และยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่า 3 คนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ - ถ้ากรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนด 30 วัน Link: คลิ๊กที่นี่ |