http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,084,026
เปิดเพจ6,203,336

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

การใช้งานเกียร์ Auto (สำหรับมือใหม่)

(อ่าน 193/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

== การใช้งานเกียร์ Auto (สำหรับมือใหม่) ==

การใช้งานรถยนต์เกียร์ออโต้ทั่วไป มีลักษณะการใช้งานพื้นฐานที่เหมือนกันคือ 
- ตำแหน่ง P, R, N, D, 3, 2, 1 หรือ L
- ตำแหน่ง P สำหรับจอดรถแล้วไม่ต้องการให้รถขยับ ทำหน้าที่คล้ายกับเบรกมือ
- ตำแหน่ง R ใช้ถอยหลัง
- ตำแหน่ง N ใช้เป็นเกียร์ว่าง
- ตำแหน่ง D ใช้สำหรับขับเคลื่อนบนพื้นที่ราบ และพื้นที่ซึ่งมีความลาดชันไม่มาก
- ตำแหน่ง 2 เครื่องยนต์จะใช้เกียร์ 1 ถึงเกียร์ 2 สำหรับทางลาดชันมาก


- ส่วนตำแหน่ง 1 หรือ L นั้น เป็นเกียร์เดียวกัน คือเกียร์ 1 ใส่สำหรับการขึ้นเขาได้

การเปลี่ยนเกียร์ไปมาระหว่างตำแหน่ง D และตำแหน่งตัวเลข สามารถเปลี่ยนได้ในขณะที่รถเคลื่อนที่เนื่องจากเป็นเกียร์เดินหน้าเช่นเดียวกัน แต่ต้องถอนเท้าออกจากคันเร่งก่อน เปลี่ยนเกียร์แล้วเหยียบคันเร่งใหม่ เพื่อความปลอดภัย และ ไม่ควรเปลี่ยนคันเกียร์จากตำแหน่ง D ลงมาที่ 1 หรือ L ทันที เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ และแรงกระชากของเครื่องยนต์อาจส่งผลให้รถเสียการทรงตัวจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

ส่วนการเปลี่ยนเกียร์ในตำแหน่งอื่นต้องทำขณะที่รถยนต์จอดสนิทอยู่กับที่เท่านั้น
โดยขณะที่รถจอดอยู่กับที่และเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N เมื่อต้องการเปลี่ยนมาอยู่ในตำแหน่งเกียร์เดินหน้า ต้องเหยียบเบรกไว้ตลอดเวลาขณะเปลี่ยนเกียร์ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเดินหน้าทันที ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ขับขี่เกิดอาการตกใจจนกดเท้าลงบนคันเร่ง เป็นเหตุให้รถพุ่งออกไปอย่างรวดเร็วจนเกิดอุบัติเหตุได้
เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้วจึงยกเท้าออกจากแป้นเบรก รถยนต์จะเดินหน้าไปเองอย่างช้าๆ จากนั้นจึงค่อยๆ ออกแรงกดคันเร่งที่ละนิดจนได้ระดับความเร็วที่ต้องการ


การเปลี่ยนเกียร์ถอยหลังจากตำแหน่ง N เป็นตำแหน่ง R 
ต้องทำเช่นเดียวกับการเปลี่ยนเกียร์เดินหน้า คือเหยียบเบรกไว้ตลอดเวลาขณะเปลี่ยนเกียร์ เมื่อยกเท้าออกจากแป้นเบรก รถยนต์จะถอยหลังไปเองอย่างช้าๆเพียงแต่เพิ่มขั้นตอนในการกดปุ่มปลดล็อกบริเวณด้านข้างหัวเกียร์ ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้คันเกียร์เปลี่ยนไปอยู่ที่ตำแหน่ง R โดยไม่ตั้งใจ


สำหรับการเข้าเกียร์ในตำแหน่ง P 
ที่จะต้องกดปุ่มปลดล็อกเช่นเดียวกัน แต่จะต้องใช้ต่อเมื่อต้องการจอดรถอยู่กับที่นานๆ และไม่จอดกีดขวางรถผู้อื่นเท่านั้น เพราะรถจะล็อกล้อไว้จนไม่สามารถขยับได้


ไม่ควรที่จะใส่เกียร์ในตำแหน่ง P 
ขณะที่จอดติดสัญญาณไฟแดง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุถูกรถยนต์ที่จอดต่อท้ายมาชน จะทำให้ล็อกเกียร์พังจนสร้างความเสียหายแก่เครื่องยนต์


นอกจากนั้นยังเกิดความพลั้งเผลอของตัวผู้ขับขี่เอง เมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวแล้วรีบร้อนเข้าเกียร์โดยไม่ระวัง ทำให้คันเกียร์ค้างอยู่แค่ตำแหน่ง R แทนที่จะเป็นตำแหน่ง D จนเป็นเหตุให้รถถอยหลังไปชนกับรถยนต์ที่จอดต่อท้าย



Credit : by Missing You

ที่มา 





มาดูหน้าตาของรถเกียร์ออโต้

รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า รถเกียร์ออโต้นั้น เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นการขับขี่ในเมืองที่ขึ้นชื่อว่า รถติดมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อย่างกรุงเทพมหานครด้วยแล้ว เกียร์ออโต้จะช่วยให้เราไม่ต้องคอยเปลี่ยนเกียร์ เหยียบคลัตช์ ให้เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนกับการขับขี่ด้วยเกียร์ธรรมดาเลยล่ะ หลายๆ คนคงสงสัยกันว่า วิธีขับรถเกียร์ออโต้ มันทำอย่างไร? วันนี้เราจะมาเฉลยให้รู้กัน

https://www.youtube.com/watch?v=R-0SaYWIBsE


 ก่อนที่จะเรียนวิธีขับรถเกียร์ออโต้ มาดูตำแหน่งต่างๆของเกียร์ออโต้ ก่อนครับ



           1. P (Parking) ใช้ สำหรับจอดรถ ซึ่งจะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราจะเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้วและต้องการดับเครื่อง เลิกใช้งาน หรือเมื่อต้องการจอดรถบนทางลาดชัน (ข้อแนะนำ : ควรดึงเบรคมือ เสริมด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย ถ้าถูกชนท้าย) นอกจากนั้น ก่อนสตาร์ทรถ ตำแหน่งเกียร์ควรจะอยู่ที่ P เช่นเดียวกัน

          2. R (Reverse) คือ เกียร์ถอยหลัง โดย เมื่อเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R นี้แล้ว รถจะถอยหลังไปได้เองอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย (ข้อแนะนำ: ขณะกำลังถอยหลัง ไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้รถถอยหลังไปอย่างรวดเร็ว อาจจะชนคนได้ ดังนั้นควรวางเท้าไว้ที่บนแป้นเบรค เพื่อเตรียมพร้อมในการเหยียบเบรค ขณะทำการถอยหลัง)

          3. N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง ใช้ เมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น ขณะจอดรถติดไฟแดง และเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถจะสามารถถูกเข็นไปได้ (เวลาที่เราจอดรถขวางหน้ารถคันอื่นๆ ตามห้าง ควรใส่เกียร์ว่าง และปลดเบรคมือออกด้วย)

          4. D หรือ D4 คือ เกียร์เดินหน้า 4 Speed ใช้ในการขับขี่ปกติ โดยเมื่อเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะเริ่มออกตัว แล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 แล้วไปเกียร์ 3 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 4 ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ (ปกติ ถ้าวิ่งบนทางราบ เราจะใช้เกียร์ D นี้บ่อยสุด)

          5. 3 หรือ D3 คือ เกียร์เดินหน้า 3 Speed ส่วนใหญ่ใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่ไม่ชันมาก เช่น ขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 3 นอกจากนี้เรายังใช้ในกรณีที่ต้องการเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้าด้วย โดยขณะที่รถวิ่งด้วยตำแหน่งเกียร์ D4 เป็นระยะเวลานาน เมื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ D3 จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ทำให้เครื่องแรงและสามารถแซงไปได้อย่างรวดเร็ว

          6. 2 หรือ D2 คือ เกียร์เดินหน้า 2 Speed ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้น-ลงเนิน หรือเขาที่ค่อนข้างชัน หรือ ขับขึ้น-ลง ตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2

          7. L (Low)คือ เกียร์ 1 ซึ่งจะใช้ในการขับขึ้น-ลง เขาที่สูงชันมากๆ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค เพื่อลดการเหยียบเบรค เพราะอาจจะทำให้ผ้าเบรคหมดเร็วได้

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ แบบฉบับ ECOCAR



วันนี้ รถเช่า ECOCAR เรามีวิธีขับรถเกียร์ออโต้ แบบง่ายๆมาฝากครับ
1. 
การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท 
2. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ 
3. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ 
4. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ 
5. การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง 
6. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N 
7. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N 
 8. การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจเหยียบคันเร่งแบบค่อยๆ เหยียบ


วิธีขับรถเกียร์ออโต้ให้ถูกต้อง

ปัจจุบันรถยนต์ที่เป็นเกียร์ออโตเมติกเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากขับขี่สบายไม่ต้องเมื่อยเปลี่ยนเกียร์และเหยียบคลัตช์  (Clutch) ตลอดเวลายามรถติด แต่อาจมีบางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เกียร์ออโต ส่งผลให้ทอนอรยุการใช้งานของรถโดยไม่รู้ตัว...การเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป N ในเวลาที่รถติดไฟแดงบ่อยๆ นั้นหลายคนคงเคยปฏิบัติกันอยู่เนื่องจากเวลารถติดขี้เกียจเหยียบเบรกก็เข้าเกียร์ N ไว้ เมื่อรถเคลื่อนก็เปลี่ยนเป็น D ถ้าช่วงรถติดแล้วขยับเคลื่อนทีละนิดทีละหน่อย ทำให้ต้องเปลี่ยน D-N-D-N-D-N อยู่อย่างนี้เท่ากับคุณกำลังทำร้ายระบบเกียร์ของคุณอยู่

ระบบเกียร์ออโตเมติกนั้นจะประกอบด้วยชุดเกียร์ที่ขบกันตลอดเวลา การส่งแรงจาก N ไป Dจะต้องมีการสึกหรอของเฟืองนั้นต้องมีการปล่อยและจับอยู่ตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เพราะถ้าเบรกอยู่เฉยๆระบบเบรกก็ไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะว่าจานดิสเบรกหรือดุมเบรกไม่ได้หมุน ผ้าเบรกก็ไม่สึกหรอเพราะว่าล้อไม่หมุนแรงที่ใช้ในการเหยียบก็ไม่มากขนาดจะทำให้ชุมแม่ปั๊มเบรกพังหรือทำให้อายุการใช้งานน้อยลง

 หลายคนที่เปลี่ยนเกียร์ D-N-D-N-D-N

อ่านถึงบรรทัดนี้แล้วก็อยากจะเถียงว่าไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงเลย รถยังคงสามารถขับได้ตามปกติ ระบบเกียร์ก็ยังปกติดอยู่ แต่พฤติกรรมอย่างนี้จะส่งผลแก่รถคุณในระยะยาว เปรียบเหมือนกับการสูบบุหรี่นั่นแหละ ระบบคลัตช์ของคุณจะลื่น ทำให้เวลาออกตัวคุณจะต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้นทำให้รอบสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลยสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลย #วิธีขับรถเกียร์ออโต้

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ให้ปลอดภัย

หลายคนมักเข้าใจว่า เกียร์ออโตเมติกสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในความเร็วและอัตราเร่งขณะแซง หากคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้เกียร์ออโตเมติก ผมเชื่อว่าคุณจะขับรถเกียร์ออโตเมติกได้อย่างสบาย และเพลิดเพลินด้วยความปลอดภัยไม่แพ้รถเกียร์ธรรมดาเลยครับ มาดูวิธีขับรถเกียร์ออโต้กันครับ

   ผู้ขับขี่ส่วนมากใช้เกียร์อยู่เพียง 4 ตำแหน่ง นั่นคือ "D4" เมื่อต้องการขับรถไปข้างหน้า

   "R" เมื่อต้องการถอยหลัง "N" หรือ "P" เมื่อต้องการจอด หรือสตาร์ตรถ

   อันที่จริงแล้วคุณควรใช้เกียร์ตำแหน่งอื่น เพื่อเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เช่นกัน

   สัปดาห์นี้ผมขอกล่าวถึง เทคนิคการขับรถเกียร์ออโตเมติกเมื่อลงทางลาดชัน และการคิก ดาวน์ (Kick Down) เมื่อต้องการเร่งแซงครับ สำหรับการขับรถลงทางลาดชัน ผมขอแนะนำให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D3" กรณีที่ทางลงนั้นมีระยะเวลายาวแต่ไม่ชันมากนัก แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมาก ๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "2" เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันคุณควรเหยียบเบรกไปด้วย หรืออาจใช้เบรกมือ เพื่อช่วยในการหยุดรถที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อย่าใช้เกียร์ "N" หรือ "D4" ในการขับรถลงทางชัน เพราะจะไม่มีกำลังเครื่องยนต์ช่วยเบรกและช่วยชะลอความเร็ว นับเป็นการขับที่ผิดวิธีและเป็นอันตรายอย่างมาก

   กรณีที่ต้องการเร่งแซงรถคันอื่น หรือต้องการแรงเพิ่มขับเคลื่อนรถอย่างกะทันหัน คุณสามารถเพิ่มความเร็วของรถด้วยการคิก ดาวน์ (Kick Down) โดยเหยียบคันเร่งลงไปเกินกว่า 80% ในครั้งเดียวเกียร์จะเปลี่ยนลงอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ในขณะที่รถจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น
สาระควรรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ระยะเบรกที่ปลอดภัย


   ที่ความเร็ว 20 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 7 เมตร

   ที่ความเร็ว 40 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 18 เมตร

   ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 34 เมตร

   ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 54 เมตร

   ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 80 เมตร

 

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ สำหรับมือใหม่หัดขับ

ผู้ผลิตรถแทบทุกค่าย ต่างพากันใส่เกียร์อัตโนมัติไว้ให้เป็นทางเลือกของลูกค้า ที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น ทำให้การขับขี่มีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากเท้าซ้ายไม่ต้องคอยเหยียบครัชให้วุ่นวายอีกต่อไป  เรามาดูวิธีการขับขี่เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อเกียร์และ กระเป๋าของท่านกันดีกว่าครับ

1)การขับรถเกียร์ออโต้โดยทั่วๆไป ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแบบนักแข่งรถ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบคันเร่งเบรค ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรค

2) สำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มขับรถ พยายามเบรคด้วยเท้าขวาเท่านั้น และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง(P)หรือ(N)ก็ตาม และเหยียบเบรคทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง( N ) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจครับ รถหยุดนิ่ง เหยียบเบรคก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ครับ

3) ถ้าท่านเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง (R) หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง (R) ไปเป็นตำแหน่งเดินหน้า (D) ควรให้รถหยุดสนิทให้เรียบร้อยก่อน หลายท่านขับแบบใจร้อนและผิดวิธี รถยังคงเคลื่อนที่อยู่ก็รีบเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น อย่าลืมว่า ค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในรถยนต์บางรุ่นมีราคาสูงมาก

4) ขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง (N)  เช่นเห็นไฟแดงข้างหน้าแต่ยังอีกไกล กลัวว่าจะไม่ประหยัดน้ำมัน ท่านจึงเข้าเกียร์ในตำแหน่ง (N) และปล่อยให้รถไหลไปจนถึงไฟแดง รถแทบทุกรุ่นในยุคปัจจุบันใช้ระบบหัวฉีดควบคุด้วยสมองกลที่ทันสมัย การจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ  ถ้าท่านยกเท้าออกจากคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดทันที เซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อจะรายงานกล่องสมองกลที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ให้หยุดทำการจ่ายน้ำมันทันที ไม่มีความจำเป็นที่ต้องปลดเกียร์ว่าง (N) แต่อย่างใด และยังเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียรืของท่านอีกด้วย เนื่องจากรถยนต์ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง(D) จะมีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา

      แต่ปั้มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์ อยู่ในตำแหน่ง (N) เมื่อไม่มีแรงดันที่พอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ของท่านร้อน และเกิดการสึกหรอเสียหายตามมา และด้วยสาเหตุนี้เองเวลารถที่ใช้เกียร์ออโต้เสียและจำเป็นต้องลากไปอู่จึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง หรือถ้าหาน้ำมันเกียร์มาเติมไม่ได้ ควรยกให้ล้อที่ใช้ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้นถนนเนื่องจากระบบปั้มน้ำมัน เพาว์เวอร์ของระบบเกียร์อัตโนมัติหยุดทำงาน ไม่แนะนำให้ถอดเพลาสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลังเพระยุ่งยากและเสียเวลามากครับ ปัจจุบันนี้มีรถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออนสามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลัง สะดวกสบายและปลอดภัยต่อเกียร์อัตโนมัติและรถยนต์ราคาแพงของท่านครับ

5) การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังเนื่องจากตำแหน่ง 2 จะมีอัตตราทดเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องการทำให้ท่านเจ้าของรถใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิด มากๆเช่นทางขึ้นเนินที่ค่อนข้างชัน หรือต้องการการหน่วงความเร็วของรถเอาไว้เช่นในขณะที่ขับรถลงเนินเขา(ENGINE BRAKE) หรือวิ่งบนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชันมากๆ ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ท่านขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหาย และอาจลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาลมากระทำที่ล้อ ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ครับ

6) ไม่ควรขับลากเกียร์ โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลที่ควบคุมเกียร์จะทำการสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตาม ความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลา บางท่านรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองใน ขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพียงเพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่งแต่จะมีผลทำ ให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง

7) ไม่ขับแบบเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำเอง(คิกดาวน์)บ่อยๆ  การขับในตำแหน่ง (D)ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะทำการคำนวนค่าของแรงต่างๆและปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เกียร์ตามความเร็วของรถในขณะนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว การกดคันเร่งเพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำหรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ไม่ควรทำบ่อยครั้ง หรือทำเท่าที่จำเป็นในการเร่งแซงให้พ้นเท่านั้น ถ้าท่านทำบ่อยๆ ผ้าคลัทช์ของเกียร์จะทำงานหนักและสึกหรอเร็วมากขึ้นครับ

      ควรมีสายพ่วงแบตตารี่ติดท้ายรถไว้ตลอดเวลา เนื่องจากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำแล้วกระตุ กสตารท์ให้ติดเครื่องยนต์ได้เหมือนรถยนต์เกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตารท์ ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเข็นด้วยแรงคนเป็นไปได้ยาก และยังเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย ควรตรวจสอบแบตตารี่ให้มีไฟพอเพียงต่อการสตารท์ทุกครั้งครับ

9) น้ำมันเกียร์อัตโนมัติหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถ ท่านให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางทีแนะนำ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติใดไม่ต้องการการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้ งานของรถตามที่มีหลายๆบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โฆษณาชวนเชื่อให้รถยนต์ของตนดูทน ทานและแข็งแรงตามความเป็นจริงจากสภาพการจราจร อุณภูมิ และสภาพการขับขี่ เกียร์อัตโนมัติทุกยี่ห้อยังต้องการการดูแลแปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะ ทางที่ใช้ครับ


ืที่มา https://www.thairentecocar.com/15442878/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view