สรุปมติ ก.กลาง ในการประชุมครั้งที่ 12/2559 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 มีประเด็นที่สำคัญอยู่ 2 เรื่อง ดังนี้
เว็บมาสเตอร์ |
สรุปมติ ก.กลาง ในการประชุมครั้งที่ 12/2559 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 มีประเด็นที่สำคัญอยู่ 2 เรื่อง ดังนี้ 1. เห็นชอบกำหนดการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารท้องถิ่นและอำนวยการท้องถิ่นใหม่ โดยมีสาระสำคัญคือ - หน่วยดำเนินการยังเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้เอง หรืออาจร้องขอให้ ก.จังหวัดดำเนินการแทนได้ โดยผู้สมัครคัดเลือกจะต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเงินเดือนขั้นต่ำในตำแหน่งที่ขอสมัครคัดเลือกสูงขึ้น เช่น จะคัดเลือกจาก ผอ.กองต้น เป็น ผอ.กองกลาง เงินเดือนต้องได้รับไม่ต่ำกว่าขั้นเงินเดือนตามโครงสร้างเงินเดือนบัญชี 5 (อำนวยการท้องถิ่นระดับกลาง)
- คณะกรรมการคัดเลือก ประธานกรรมการ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.จังหวัด เห็นชอบ โดยจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.จังหวัดหรือไม่ก็ได้ กรรมการที่เป็นผู้แทนส่วนราชการต้องเป็นส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่จะคัดเลือก เช่น จะคัดเลือก ผอ.กองคลัง ก็ต้องเป็นคลังจังหวัด จะคัดเลือก ผอ.กองช่าง ก็ต้องเป็นโยธาจังหวัด เป็นต้น กรรมการผู้แทนท้องถิ่นกรณีถ้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียให้แต่งตั้งจากสังกัดอื่นที่ดำรงตำแหน่งและระดับเดียวกันได้และอาจกำหนดให้มีอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการคัดเลือกได้ตามที่เห็นสมควร
สำหรับผู้ลงนามในประกาศคัดเลือก คือ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืออาจมอบให้ประธานกรรมการคัดเลือกได้ แต่จะต้องทำหนังสือหรือบันทึกมอบหมายไว้เป็นหลักฐาน โดยมีเกณ์การคัดเลือกคะแนนเต็ม 300 คะแนน คือ เกณฑ์ความรู้ความสามารถในตำแหน่ง (100 คะแนน) วิสัยทัศน์ ผลงาน ทอสอบข้อเขียนความรู้ที่จำเป็นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เกณฑ์ประวัติรับราชการ (100 คะแนน) เกณฑ์ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์ 100 คะแนน) - ห้วงระยะเวลาการคัดเลือกกำหนดให้ 1 ปี สามารถคัดเลือกได้ 2 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน เท่านั้น โดยมีอายุบัญชี 60 วัน เริ่มนับถัดจากวันประกาศ ทั้งนี้ ประกาศจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อ ก.จังหวัดประกาศเท่านั้นนะครับ ที่ไหนดำเนินการตามหลักเกณฑ์เดิมก็ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแจ้งประกาศและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอีกครั้งนะครับ 2. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินโบนัส (เงินประโยชน์ตอบแทนอื่น) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป้นแนวทางปฏิบัติโดยสรุปได้ ดังนี้ 1 การคำนวณวงเงินคงเหลือจากค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่นที่กำหนดไว้ไม่สูงกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมิน การคำนวณวงเงินร้อยละ 40 จะต้องถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.2/ว138 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558 หรือไม่ การคำนวณภาระค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 ของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.2/ว138 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558 ที่กำหนดให้คำนวณภาระค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นการซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการคำนวณภาระค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่นในภาพรวม ตามนัยมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่นใดจะกำหนดสูงกว่าร้อยละ 40 ของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ได้
สำหรับ การคำนวณวงเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) ที่สามารถจ่ายได้ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.3/ว5 ลงวันที่ 9 มกราคม 2550 โดยคำนวณจากงบประมาณรายจ่ายและรายได้จริง โดยมีเจตนารมณ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประหยัดงบประมาณรายจ่ายเพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่น
2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องได้รับผลคะแนนการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในปีงบประมาณที่ผ่านมาของปีที่ขอรับการประเมินทุกด้านๆ ละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 - คำว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาหมายถึงปีใด - หากคะแนนการประเมินคะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 แต่มีบางด้านไม่ผ่านการประเมินจะถือว่าเข้าเงื่อนไขขององค์กรที่ขอรับการประเมินหรือไม่ - ปีงบประมาณที่ผ่านมา หมายถึง ปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว เช่น จะประเมินปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณที่ผ่านมาสำหรับการพิจารณาผลคะแนนการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ปีงบประมาณ 2559 - ผลคะแนนรวมต้องผ่านการประเมินทุกด้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มิใช่คะแนนรวมอย่างเดียว 3 ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องมีงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมิน หากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตอนที่เสนอเพื่อขอรับการประเมินไม่ถึง ร้อยละ 10 และต่อมามีการโอนงบประมาณมาตั้งจ่ายเป็นงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะยื่นเรื่องเสนอขอรับการประเมินเพิ่มเติม และเข้าเงื่อนไขในการที่จะขอรับเงินรางวัลประจำปีได้หรือไม่ ตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างและพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1 1.1 (3) กำหนดว่า “ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องมีงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมิน” โดยการยื่นเพื่อขอรับการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อ ก.อบต.จังหวัด จะต้องถือปฏิบัติตามข้อ 1.3 (1) 1) โดยให้ยื่นภายในเดือนกันยายน ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีคุณสมบัติองค์กรครบถ้วนตามที่กำหนดตั้งแต่การยื่นเพื่อขอประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายในเดือนกันยายนของทุกปีที่ขอรับการประเมิน และจะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขขององค์กรครบทุกข้อไม่มีการยกเว้นเงื่อนไขแต่ประการใด
4 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายงานเหตุผลที่ส่งโครงการ/กิจกรรม เพื่อขอกำหนดเงินรางวัลประจำปีพร้อมวงเงินที่ขอใช้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อ ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด ไม่ทันภายในกำหนด (เดือนกันยายนของทุกปี) เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้ประกาศใช้ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงไม่สามารถคำนวณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาได้ (ร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี) ต่อมาสภาฯ ได้รับหลักการร่างเทศบัญญัติฯ แล้ว และมีงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาเกินกว่าร้อยละ 10 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นสามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับการประเมินได้หรือไม่ กรณีไม่รับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือในกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน ตามนัยข้อ 7 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 ประกอบกับประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.1 (4) วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดไม่ประสงค์จะขอรับการประเมินหรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่อาจขอรับการประเมินได้ให้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ให้ ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด ทราบ 5 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษกำหนดว่า ต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอรับการประเมินแห่งนั้นไม่น้อยกว่า 8 เดือน - กรณีอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมไม่ถึง 4 เดือน แต่โอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป
- กรณีดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมครบ 8 เดือนแล้ว จึงมีการโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่
- กรณีที่ข้าราชการเคยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมและโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่และได้โอนกลับมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมอีกครั้งซึ่งมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมรวมกันครบ 8 เดือน
บุคคลดังกล่าวจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี หรือไม่ ตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปี สำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.3(4) ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการตามแบบประเมินเป็นระยะเวลา 12 เดือน ประกอบกับข้อ 1.2(2) กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอรับการประเมินแห่งนั้นไม่น้อยกว่า 8 เดือน โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ได้ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้งตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต ดังกล่าว
2. ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานจ้าง ที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี จะต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 8 เดือนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดอยู่ (ณ วันที่ 30 กันยายน) 3. การจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้เป็นไปตามสัดส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ 2
6 ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่มีการเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี ไม่ได้มีการเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม แต่มีการเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 30 กันยายน จะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลประจำปี หรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 กำหนดว่าข้าราชการและลูกจ้างประจำที่มีการเกษียณอายุราชการจะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษให้นำฐานอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้าง ณ วันที่ 30 กันยายนของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินมาเป็นฐานในการจ่าย ตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 2.2(๒) ให้นำฐานอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ณ วันที่ ๓๐ กันยายนของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินมาเป็นฐานในการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ฐานเงินเดือน ค่าจ้างก่อนเลื่อนขั้นเงินเดือน ค่าจ้างจ่ายเป็นเงินรางวัลประจำปี ดังนั้น กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการจะต้องนำฐานเงินเดือนก่อนเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างมาเป็นฐานในการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ 7 พนักงานจ้างที่สัญญาจ้างสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน และไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง แต่ได้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครบตามเงื่อนไข จะได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3) กำหนดให้พนักงานจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้น กรณีของพนักงานจ้างถึงแม้จะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานให้กับพนักงานจ้างผู้นั้น เพื่อใช้ประกอบการจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้ โดยเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงานจ้างตามประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ 34 ประกอบกับข้อ 36 เพื่อนำผลการประเมินการปฏิบัติงานไปใช้ในเรื่องอื่นๆ
8 กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่มีการปรับปรุงตำแหน่ง หรือย้ายตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดิมและได้ปฏิบัติงานครบตามเงื่อนไขเวลาที่กำหนดจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ หรือกรณีที่อาจจะไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งใดครั้งหนึ่งด้วยเหตุต่างๆ แต่เมื่อครบทั้งปีมีผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่น้อยกว่า 1 ขั้น จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3) กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑ (๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) และครั้งที่ ๒(๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น ดังนั้น ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่มีการปรับปรุง หรือย้ายตำแหน่งที่มีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง และได้เลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 1 ขั้น เช่น - ครึ่งปีแรกได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น ครึ่งปีหลังได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น - ครึ่งปีแรกได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0 ขั้น ครึ่งปีหลังได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
- ครึ่งปีแรกได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ครึ่งปีหลังได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0 ขั้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงสามารถที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้กับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำดังกล่าวได้
ทั้งนี้ การจ่ายเงินรางวัลประจำปีต้องมีวงเงินคงเหลือจากค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นที่กำหนดไว้ไม่สูงกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมินเท่านั้น โดยให้ใช้เงินของปีงบประมาณนั้น 9 ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูง (เงินเดือนหรือค่าจ้างเต็มขั้น) และพนักงานจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ จะได้รับเงินรางวัลประจำปีในอัตราใด ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3) กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑ (๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) และครั้งที่ ๒(๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น และประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง (ฉบับที่ 3) กำหนดว่า พนักงานจ้างได้รับค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของอัตราค่าตอบแทน ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนพิเศษได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงตำแหน่งนั้น ดังนั้น ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ รวมถึงพนักงานจ้างที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนแล้ว ให้นำการได้รับเงินตอบแทนพิเศษครึ่งขั้น (ร้อยละ 2) และหนึ่งขั้น (ร้อยละ 4) สำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ หรือไม่เกิน ร้อยละ 6 ของอัตราค่าตอบแทนของพนักงานจ้างในปีงบประมาณนั้นมารวมเพื่อประกอบการพิจารณาจ่าย 10 พนักงานจ้างที่มีการต่อสัญญาจ้างใหม่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดิม หรือมีการปรับปรุงจากพนักงานจ้างทั่วไปเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจประเภทผู้มีทักษะจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3) กำหนดให้พนักงานจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไปประกอบหนังสือสำนักงาน ก.อบต. ที่ มท 0809.5/ ว272 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2552 หนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท 0809.5/ว35 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 และหนังสือสำนักงาน ก.จ. ที่ มท 0809.5/ ว122 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2553
ดังนั้น พนักงานจ้างที่มีการต่อสัญญาจ้างใหม่และมีการทำสัญญาต่อเนื่องจากวันที่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในตำแหน่งเดิมและมีการทำสัญญาจ้างใหม่โดยวันต่อเนื่องกันในตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน (ลักษณะงานเกื้อกูลหรือลักษณะงานภารกิจเดียวกัน) หรือเป็นกรณีปรับปรุงจากตำแหน่งพนักงานจ้างทั่วไปเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจประเภทผู้มีทักษะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีได้ หากมีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีไม่ต่ำกว่าระดับดีและจะต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่ขอรับการประเมิน 11 กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับคะแนนประเมินผลตั้งแต่ 95 คะแนนขึ้นไป และประสงค์จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีในอัตราไม่เกิน 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ต้องเสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด) แต่หากประสงค์ที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีไม่เกิน 1 เท่า ยังต้องเสนอต่อ ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด หรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 2.2 (1) กำหนดว่า หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ได้รับคะแนนประเมินผลตั้งแต่ ๙๕ คะแนนขึ้นไป และประสงค์จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีในอัตราไม่เกิน ๑.๕ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน จะต้องเสนอต่อคณะกรรมการช้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ดังนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ประสงค์ที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีเกิน 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ต้องเสนอขอความเห็นชอบจาก ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด แต่หากจะจ่ายไม่เกิน 1 เท่า ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด แล้วแต่กรณีตามข้อ 2.2 (1)
12 ในกรณีที่กำหนดอัตราการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ที่กำหนดอัตราการจ่ายไม่เกิน 0.5 เท่า , 1 เท่า หรือ 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน หมายถึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจ่ายลดหลั่นกันลงมาตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการ เช่น 0.5 เท่า 0.4 เท่า 0.3 เท่า... ตามผลการปฏิบัติราชการและวงเงินคงเหลือที่สามารถจะจ่ายได้ใช่หรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 2 2.1(๓) ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินนำวงเงินที่ได้มาพิจารณาจัดสรร ให้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยความเป็นธรรม และโปร่งใส โดยให้พิจารณาจ่ายลดหลั่นกันตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษได้ไม่เกินจำนวนเท่าตามผลคะแนนการประเมิน โดยลดหลั่นกันลงมาตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลคะแนนประเมินได้ 80 คะแนน ให้จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นได้ไม่เกิน 0.5 เท่า ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นจะต้องจ่ายเงินประประโยชน์ตอบแทนอื่นตามวงเงินคงเหลือที่เป็นเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้ อื่นใด โดยอาจจ่ายได้ในอัตรา 0.5 เท่า 0.4 เท่า 0.3 เท่า 0.2 เท่า 0.1 เท่าของอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน โดยให้บริหารอยู่ในวงเงินและไม่เกินจำนวนเท่า โดยลดหลั่นได้ตามความเหมาะสมโดยต้องพิจารณาตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน
13 ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานจ้าง มีเหตุอื่น (ยกเว้นการเสียชีวิต หรือเกษียณ) เป็นเหตุให้การประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ครบ 2 ครั้ง หรือลาออกก่อนมีการเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ต.ค. หรือเหตุอื่นที่ทำให้ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานจ้างก่อนมีการเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ต.ค. จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ ตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ ๑.๒ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (3) กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑ (๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) และครั้งที่ ๒(๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น สำหรับพนักงานจ้างต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้น กรณีที่ข้าราชการมีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ครบตามเงื่อนไขที่กำหนดจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลประจำปี
14 ข้าราชการที่มีการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครบ 2 ครั้ง แต่ครั้งแรกไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน เพราะปฏิบัติงานไม่ครบ 4 เดือน แต่การประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3) กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑ (๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) และครั้งที่ ๒(๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น กรณีข้าราชการที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอรับการประเมินแห่งนั้นไม่น้อยกว่า ๘ เดือน โดยต้องมีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑ (๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) และครั้งที่ ๒ (๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น ดังนั้น หากมีการได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น และได้รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน จึงถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีตามประกาศกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3)
15 ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องมีงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมินหากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตอนที่เสนอเพื่อขอรับการประเมินเป็นไปตามเงื่อนไข และต่อมามีการโอนหรือเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน เมื่อสิ้นปีงบประมาณทำให้งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนมีไม่ถึงร้อยละ 10 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้าเงื่อนไขในการที่จะขอรับเงินรางวัลประจำปีได้หรือไม่ ตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 2.1 (1) กำหนดการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในกรณีที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีด้วย จึงมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น กรณีจะจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่น คุณสมบัติองค์กรปกครองส่วนมท้องถิ่นเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดคุณสมบัติตามประกาศดังกล่าว จึงไม่สามารถที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้
16 ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องมีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง จะต้องเป็นผลการประเมินในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันหรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3) กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑ (๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) และครั้งที่ ๒(๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมิน โดยให้มีคะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ณ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดก็ได้ แต่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้ต้องปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่า 8 เดือน 17 กรณีเป็นลูกจ้างประจำ หรือพนักงานจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยมีระยะเวลาการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่า 8 เดือน และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าระดับดี แต่ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนเนื่องจาก มีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่ครบตามหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ กรณีดังกล่าวให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.3/ว 138 ลงวันที่ 18 กันยายน 2550 ที่กำหนดว่าหากลักษณะงานของลูกจ้างประจำหรือพนักงานจ้างมีลักษณะคล้ายคลึงกับงานในตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น สามารถนำผลการประเมินและระยะเวลาการปฏิบัติงานขณะดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำหรือพนักงานจ้างและข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาพิจารณารวมกัน โดยต้องมีผลการประเมินในสัดส่วนของลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง และข้าราชการตั้งแต่ระดับดีเป็นต้นไป โดยต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน และให้ใช้ฐานเงินเดือนในวันที่ 30 กันยายน สำหรับการจ่ายเงินรางวัลประจำปี
18 การประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเริ่มประเมินตั้งแต่เมื่อใด จะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมใช่หรือไม่ ประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.3 (4) กำหนดให้มีการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ ดังนี้ 1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเป็นระยะเวลา ๑๒ เดือน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเป็นต้นไป ซึ่งต้องมีการประเมินตลอดทั้งปี ๒. กรณีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดจ้างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามบัญชีรายชื่อสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด เพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริหาร ตามมิติที่ ๒ และรายงานผลการประเมินความพึงพอใจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบนั้น ให้มีการสุ่มตรวจความพึงพอใจได้เมื่อได้มีการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมนั้นไปแล้ว ทั้งนี้รายละเอียดรอแจ้งประกาศและแนวทางปฏิบัติเพื่อแจ้งเวียนกันอีกครั้ง แจ้งให้ข้อมูลเพื่อเตรียมดำเนินการและศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเราครับ
Link: คลิ๊กที่นี่ |