http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,159,646
เปิดเพจ6,305,263

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2559

(อ่าน 217/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 515/2559
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ





เมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2559 - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยมีพล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและข้าราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ




โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย รมช.ศึกษาธิการ และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการได้ไปสักการะพระพุทธรูปประจำกระทรวง "พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์" จากนั้นรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่าน ได้มอบนโยบายการทำงาน ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล




นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การแถลงนโยบายในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้แจ้งให้ทุกท่านได้รับทราบเกี่ยวกับแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการจะเดินหน้าต่อไป โดยมีนโยบายสำคัญ ดังนี้


● การน้อมนำแนวพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาปรับใช้กับนโยบายด้านการศึกษา


จากการที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีนั้น พระองค์ทรงขอให้ผู้บริหารทุกคนสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะพระราชปณิธานของพระองค์ท่านถือเป็นพรอันสูงสุด รวมทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะได้น้อมนำมาปฏิบัติเช่นกัน


สำหรับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีใจความสำคัญว่า "การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character of Education)"




สำหรับการสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น พระองค์ได้ทรงมีแนวพระราชกระแสฯ ที่ได้ทรงพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับนักเรียน ครู และการศึกษา












สิ่งที่สำคัญที่พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท คือ การให้ครูรู้จักอบรมเด็กทั้งด้านศีลธรรม จรรยา และวัฒนธรรม และได้ทรงเน้นย้ำเสมอว่า "การสอน" ต่างกับ "การอบรม"




สิ่งสำคัญอีกประการ คือ "ความรู้" กับ "คุณธรรม" จะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน และ "ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ ผลการศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติในวันข้างหน้า"








● การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ โดยมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่จะดำเนินการ 6 ด้าน คือ 1) ความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ




1) ความมั่นคง  ตัวอย่างกิจกรรมในการจัดศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กำกับดูแลและลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ หากในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ไม่สงบก็จะส่งผลถึงคุณภาพการศึกษา หรือกรณีปัญหาโรงเรียนในเขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ (โรงเรียนชายขอบ) ซึ่งที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และโรงเรียนชายขอบด้วยเช่นกัน ทั้งการให้ความสำคัญกับภาษาที่ใช้ในพื้นที่ หรือสิ่งที่เรียนสถานศึกษา ฯลฯ ดังนั้น ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงจึงมีความสำคัญกับนโยบายด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก


2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน  โดยส่งเสริมให้มีคนไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ อาทิ การส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษ หรือการอาชีวศึกษาแนวใหม่ที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้การอาชีวศึกษาของไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศมากขึ้น ก็ถือเป็นตัวอย่างกิจกรรมโครงการของยุทธศาสตร์ด้านนี้


3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์  โดยเฉพาะการลงทุนกับเด็กเล็กในระดับ Pre-school เป็นสิ่งสำคัญมาก  เพราะเป็นการลงทุนที่ได้ผลมากที่สุด นอกจากนี้ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การพัฒนาครูด้วย


4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  อาทิ การประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA ซึ่งคะแนนเฉลี่ยในแต่ละวิชาของเด็กไทยยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่หากดูคะแนนสูงสุดของเด็กไทยในแต่ละวิชา พบว่ามีคะแนนมากกว่านักเรียนสิงคโปร์ที่ได้อันดับหนึ่งจากการประเมินผล PISA  แต่การที่คะแนนเฉลี่ย PISA ของเด็กไทยได้อันดับต่ำ เพราะไทยส่งทุกโรงเรียนเข้ารับการประเมิน รวมถึงโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งหลายโรงเรียนยังคงมีคะแนนต่ำด้วย จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของประเทศต่ำลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นตัวอย่างของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่มีความพร้อมกับโรงเรียนในชนบทที่ยังขาดการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ดังนั้น เราต้องกลับไปพิจารณาว่าโรงเรียนเหล่านั้นยังขาดอะไรบ้าง เช่น ขาดครูกี่คน มีครูครบชั้นหรือไม่ ครูสอนไม่ตรงสาขา เป็นต้น เพื่อทำการสนับสนุนและแก้ปัญหาได้ตรงจุด


5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีหลากหลายโครงการที่สำคัญ อาทิ  โครงการเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น


6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  เช่น การดำเนินการด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นต้น


 





 มอบหมายภารกิจและหน่วยงานในความรับผิดชอบของ รมช.ศึกษาธิการ


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า ในการมอบหมายภารกิจและหน่วยงานที่รับผิดชอบให้กับ รมช.ศึกษาธิการ จะแบ่งงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยคำนึงถึงความถนัดของ รมช.ศึกษาธิการ ดังนี้


1) พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์  รับผิดชอบเรื่องความมั่นคงทางการศึกษาและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 เขตของไทย การจัดการศึกษาแบบบูรณาการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ใน 3 เมือง ที่สุไหงโก-ลก เบตง และหนองจิก รวมทั้งโรงเรียนในบริเวณพื้นที่ชายแดน หรือชายขอบ และมอบหมายภารกิจให้ดูแลหน่วยงาน 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.)


2) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล  รับผิดชอบเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) รวมทั้งศึกษาธิการภาค, โครงการเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนคุณธรรม, โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและโรงเรียนตามโครงการในพระราชดำริ, คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (ITD), งานด้านการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ และมอบหมายภารกิจให้ดูแลหน่วยงานสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)


สำหรับองค์กรวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.), สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน กคศ.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) นั้น รมว.ศึกษาธิการ จะรับผิดชอบและดูแลด้วยตนเอง ยกเว้นบางเรื่องใน สกอ. เช่น การ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา จะมอบให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบเพิ่มเติม


อย่างไรก็ตาม แม้จะแบ่งงานแล้ว แต่ขอให้ทุกหน่วยงานเน้นการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ซึ่งกันและกันได้





● ประกาศว่า ศธ.ยุคนี้จะโปร่งใสที่สุดในประวัติศาสตร์ และ Anti-Corruption


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการในยุคนี้จะเน้นเรื่องความโปร่งใส และ Anti-Corruption ซึ่งจะเป็นยุคที่กระทรวงศึกษาธิการมีความโปร่งใสที่สุดในประวัติศาสตร์ จะไม่มีใต้โต๊ะ หลังโต๊ะ หลังบ้าน ตามน้ำใด ๆ ทั้งสิ้น และยืนยันว่าไม่มีการนำชื่อหรือทีมงานทั้งสามท่านไปแอบอ้างเพื่อขอรับผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น


สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ "กระทรวงศึกษาธิการต้องการสร้างเด็กให้โตขึ้นมา เกลียดการโกง หรือเติบโตขึ้นมากับความไม่โกง ด้วยการปลูกฝังการไม่โกงไว้ในบรรยากาศ ระบบ และการสนทนา เพราะการไม่โกงมีวิธีการเดียว ก็คือ ให้เกลียดการโกง และจะได้ไม่ทำ"





● เตรียมพัฒนาโรงเรียน ICU ทั่วประเทศ ตามแนวทาง School Improvement Project


ในระยะเวลาการทำงานที่เหลือตาม Roadmap ของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการจะเน้นการทำงานที่เป็น "รูปธรรม"  อย่างแท้จริง โดยโครงการที่สำคัญคือ จะให้ สพฐ.คัดเลือกโรงเรียนที่มีสภาพแย่ที่สุดหรือตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่เป็น ICU ในทุกภูมิภาคและทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยจะต้องไม่ใช่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสานพลังประชารัฐกว่า 7,000 แห่ง เพราะโรงเรียนเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนแล้ว ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้โรงเรียน ICU เหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วนในด้านต่าง ๆ ตามที่โรงเรียนเหล่านั้นขาดแคลน ซึ่งคาดว่าภายใน 5 ปี โรงเรียน ICU เหล่านี้จะได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน อีกทั้งนโยบายนี้จะทำให้รู้ว่าโรงเรียน ICU นั้นตั้งอยู่ในจังหวัดอะไรบ้าง เพื่อที่ กศจ. จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาได้อย่างตรงจุด





● ย้ำไม่ทิ้งนโยบายเดิม แต่จะปรับปรุงให้ดีและทันสมัยมากขึ้น


ยืนยันว่ากระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางที่จะสานต่อนโยบายเดิมที่ดำเนินการไว้ดีอยู่แล้ว อาทิ นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ แต่จะปรับปรุงให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งจะจัดทำแผนงานและโครงการต่าง ๆ ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย


นอกจากนี้ จะทำให้กระทรวงศึกษาธิการมีความทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ Modernise MOE ภายใต้คำขวัญที่ว่า "Work hard, be nice" อีกทั้งจะไม่ใช้ One size fits all หรือการตัดเสื้อขนาดเดียวแล้วนำมาใช้กับทุกคน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้น แนวทางการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของแต่ละแห่ง ย่อมมีความแตกต่างกันด้วย





● ร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับลงประชามติ พ.ศ.2559 ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการดูแลกองทุนตามร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าว ตามมาตรา 54 วรรคหก และดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ตามมาตรา 258 ต่อไป






นอกจากนี้ จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยอาจไม่แจ้งล่วงหน้า และหน่วยงานหรือสถานศึกษาไม่จำเป็นต้องจัดทำป้ายต้อนรับ หรือให้นักเรียนและครูทิ้งห้องเรียนเพื่อมาเข้าแถวต้อนรับ โดยย้ำว่ากระทรวงศึกษาธิการจะมีแนวทางดำเนินงานที่จะทำให้เด็กอยากไปโรงเรียน อยากเรียนหนังสือ และครูอยากจะสอน รวมถึงการมีห้องสมุดที่ดี และมีตำราเรียนที่มาตรฐานอีกด้วย.





พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า จะตั้งใจทำงานทุกอย่างตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ โดยส่วนตัวมีหลักคิดประจำใจเพื่อใช้ในการทำงานต่าง ๆ คือ "ภารกิจเหนือสิ่งใด" และ "การยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล"


จึงขอเชิญชวนชาวกระทรวงศึกษาธิการทุกคนร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมพลังความคิด เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไทยอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อรัฐสภา ตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อย่างเต็มกำลังความสามารถ





ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล  กล่าวว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ในฐานะข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยพร้อมจะนำประสบการณ์การทำงานในภูมิภาคตลอด 37 ปีที่ผ่านมา ให้เกิดประโยชน์ต่องานด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, การดูแลกิจการลูกเสือเนตรนารี, ความร่วมมือเพื่อพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน), การประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนการบริหารงานของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือศึกษาธิการภาค ตลอดจนการดำเนินงานของโรงเรียนหลวง หรือโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ โรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น โดยจะน้อมนำและยึดมั่นในหลักคิดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้ในการทำงาน เช่น หลัก "บวร" (บ้าน-วัด-โรงเรียน) ที่จะใช้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในการบริหารการศึกษา รวมทั้งจะพยายามบูรณาการและเชื่อมโยงงานที่ได้รับมอบหมายกับงานของรัฐมนตรีทั้งสองท่านอย่างเหมาะสมต่อไป


ทั้งนี้ มีความรู้สึกยินดีกับงานที่ได้รับมอบหมาย และพร้อมจะทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยขณะนี้เตรียมที่จะผลักดันให้เกิด Idol ในวงการศึกษา เช่นเดียวกับในอดีตที่ตนมีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็น Idol หรือเด็กคนอื่น ๆ อาจมีครู พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเป็นแบบอย่าง โดยจะสร้าง Idol ด้านการศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็กและเยาวชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดให้ครบทั้ง 76 จังหวัด พร้อมจะจัดทำ Model เพื่อพัฒนาครูอย่างยั่งยืนด้วย










นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในนามของชาวกระทรวงศึกษาธิการว่า มีความยินดีที่จะได้ทำงานเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทยร่วมกับรัฐมนตรีทั้งสามท่าน ซึ่งทุกองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับ กำลังพยายามปรับโครงการและงบประมาณให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน และในระยะยาวสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะเป็นเจ้าภาพหลัก ในการประสานการหารือร่วมกับทุกหน่วยงาน ที่จะมีการบูรณาการการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อไป







อรพรรณ ฤทธิ์มั่น, นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: กราฟิก
20/12/2559


ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2016/dec/515.html


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view