http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,158,201
เปิดเพจ6,303,798

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กับ 10 ประเด็นน่ารู้ ก่อนเข้าคูหาโหวต 7 ส.ค.นี้

(อ่าน 311/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์







          เจาะร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กับ 10 ประเด็นน่ารู้ จับตา 7 สิงหาคมนี้ ทิศทางผลโหวตประชามติออกมาอย่างไร


          งวดเข้าไปทุกขณะกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้ แน่นอนว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ และเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายทั้งหลายในรัฐ ซึ่งกฎหมายใดที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญต้องถือเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตามคงมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่นำโดย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ทางทีมงาน Kapook.com จะพาไปทำความเข้าใจกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันครับ


          ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ สาระสำคัญ 

          ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มี 279 มาตรา 16 หมวด และบทเฉพาะกาล โดยแต่ละหมวดมีดังนี้

          1. หมวดทั่วไป
          2. หมวดพระมหากษัตริย์
          3. หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
          4. หมวดหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
          5. หมวดหน้าที่ของรัฐ
          6. หมวดนโยบายแห่งรัฐ
          7. หมวดรัฐสภา
          8. หมวดคณะรัฐมนตรี
          9. หมวดขัดกันแห่งผลประโยชน์
          10. หมวดศาล
          11. หมวดศาลรัฐธรรมนูญ
          12. หมวดองค์กรอิสระ
          13. หมวดองค์กรอัยการ
          14. หมวดการปกครองท้องถิ่น
          15. หมวดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
          16. หมวดการปฏิรูปประเทศ

          บทเฉพาะกาล





          ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กับ 10 ประเด็นน่ารู้ และข้อเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ 2559

          1. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ

          รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนไม่น้อยกว่าเดิม ทั้งยังขยายให้มีเพิ่มมากขึ้น แม้จะยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องออกมาบังคับใช้ ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ โดยรัฐมีหน้าที่จัดให้มีการดำเนินการเพื่อให้สิทธิเสรีภาพนั้นเป็นจริงในทาง ปฏิบัติโยที่ประชาชนไม่ต้องร้องขอ ถ้ารัฐไม่ดำเนินการ ประชาชนและชุมชนสิทธิที่จะติดตาม และเร่งรัดการทำงานของรัฐบาลและสามารถฟ้องร้องได้หากรัฐไม่ทำหน้าที่





          2. รัฐมีหน้าที่ทำให้สิทธิเป็นจริง

          ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน ก็มีหน้าที่ต้องจัดให้ประชาชนได้รับสิทธิที่จำเป็น โดยที่ประชาชนไม่ต้องไปร้องขอ เพื่อบริการประชาชนและเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ และรัฐธรรมนูญคุ้มครองทั้งชีวิตตั้งแต่ท้องแม่จนแก่เฒ่า





          3. หน้าที่ของประชาชน

          ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาประเทศ





          4. การเลือกตั้ง

          ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่ปล่อยให้คะแนนเสียงสูญเปล่า โดยจะใช้การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวแล้วนำคะแนนไปคำนวณหา ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ วิธีนี้จะทำให้ทุกคะแนนเสียงถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ ส.ส. ที่เป็นตัวแทนจากประชาชนอย่างแท้จริง

          5. ประชาชนทั่วไปเป็น ส.ว. ได้

          รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาร่วมเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ โดยไม่ต้องเป็นนักการเมือง เพื่อให้กฎหมายนั้นมาจากมุมมองของประชาชนหลากหลายกลุ่ม ส.ว. มี 200 คน แบ่งเป็น 20 กลุ่ม ตามสภาพความรู้ความสามารถและอาชีพ





          6. ปราบโกงอย่างจริงจัง

          ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่อาจพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ เพราะงบประมาณแผ่นดินถูกโกงไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว ถ้าไม่สามารถขจัดปัญหาทุจริต ประเทศจะไม่สามารถเดินหน้าได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีเป้าหมายในการขจัดทุจริต ทั้งทุจริตการเลือกตั้งและทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่


          7. ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเข้มแข็งฉับไวขึ้น



          โดยองค์กรอิสระทั้งหมดต้องร่วมมือและช่วยเหลือหันทำงานและกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งประชาชน และ ส.ว. สามารถยื่นต่อ ป.ป.ช. ได้ หากพบว่า องค์กรอิสระประพฤติมิชอบ





          8. รู้ล่วงหน้าใครมีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี

          โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะให้ นายกฯ เป็นคนที่พรรคการเมืองเลือกเฟ้นมา แล้วทางพรรคจะประกาศรายชื่อให้ประชาชนทราบก่อนเลือกตั้ง และ ส.ส. เป็นผู้เลือกนายกฯ จากรายชื่อพรรคที่ประกาศ

          9. ท้องถิ่นเป็นของประชาชน

          การบริหารการปกครองท้องถิ่นจะมีความอิสระในการบริหารงานต่าง ๆ เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการประชาชน





          10. ปฏิรูปไทยสู่อนาคต

          โดยรัฐธรรมนูญได้ระบุให้มีการปฏิรูปประเทศในหลายด้าน อาทิ ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น





          ร่างรัฐธรรมนูญกับการทำประชามติ และผลที่ออกมาจากการโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

          ผลที่ออกมาของการลงประชามติจะมีได้ 2 ทาง คือการรับร่างรัฐธรรมนูญ และไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากแยกเป็นกรณีจะเป็นดังนี้

          กรณีที่ 1 ผลที่ออกมาประชาชนส่วนใหญ่เห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.เลือกตั้ง, พ.ร.บ.พรรคการเมือง เป็นต้น

          กรณีที่ 2 ผลที่ออกมาประชาชนส่วนใหญ่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 นั้นไม่ได้บัญญัติว่า จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรต่อไป


          อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังมีในส่วนของคำถามพ่วงมาด้วย ซึ่งไม่ว่าผลของคำถามพ่วงประชามติจะออกมาทิศทางไหนก็จะไม่มีผลหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านประชามติ แต่ในทางกลับกันหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ คำถามพ่วงก็จะตกตามไปด้วย

          ไม่ว่าผลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร แต่อย่าลืมว่าวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เรามีนัดกันที่คูหาลงคะแนนเสียง แต่หากใครไม่สามารถไปได้ ทาง กกต. ก็เปิดช่องทางให้สามารถลงประชามตินอกเขตจังหวัดได้ โดยการเข้าไปลงทะเบียนที่ https://election.dopa.go.th/ectoutvote/ ตั้งแต่วันนี้-30 มิถุนายน 2559


เกาะติดข่าว ร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด



ภาพและข้อมูลจาก คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญsenate.go.th
ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/138299


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view