http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,085,041
เปิดเพจ6,204,447

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

พยางค์และคำในภาษาไทย

(อ่าน 1305/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 








พยางค์และคำในภาษาไทย

  พยางค์
 = เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ มีความหมายหรือไม่ก็ได้
 



     ลักษณะของพยางค์
        
เสียงพยัญชนะต้น + เสียงสระ + เสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะสะกด
        ๑. พยางค์หนัก สมบูรณ์ ออกเสียงได้ลำพัง เช่น ขวา เปลี่ยน เสื้อ

        ๒. พยางค์เบา ต้องมีพยางค์หนักมารับข้างท้าย เช่น สะดวก พนม วิชา ฤดี กุหลาบ
        ๓. พยางค์ลดน้ำหนัก แปรเสียงพยางค์หนักให้เบาลง เช่น คุณจะมาพูดยังงี้ได้ยังไง ช่างไม่ถนอมน้ำใจกัน
        ๔. พยางค์เน้นหนัก เพื่อเปรียบเทียบหรือเพิ่มความสนใจ เช่น ผมสั่งกาแฟไม่ใช่ชา
 



   คำ = เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย

     ลักษณะของคำ
        เสียง + ความหมาย อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
 



การสร้างคำ

   คำสมาส 
เป็นการสร้างคำตามหลักไวยากรณ์บาลีสันสกฤต
 



     ลักษณะของคำสมาส
        ๑. เกิดจากการนำคำมูลที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน

        ๒. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าต้องไม่ประวิสรรชนีย์หรือเป็นตัวการันต์
        ๓. คำที่มีความหมายหลัก (คำตั้ง) อยู่หลัง และคำขยายอยู่หน้า แปลจากคำหลังไปคำหน้าแต่คำสมาสบางคำ  เรียงคำตั้งไว้หน้า โดยคำตั้งต้องไม่ประวิสรรชนีย์ ไม่เป็นตัวการันต์ และต้องออกเสียงพยางค์ท้ายคำตั้ง
        ๔. พยางค์ท้ายของคำหน้ามักออกเสียงสระอะ แม้ไม่มีรูปสระกำกับ
        ๕. คำว่า พระ ที่มาจากคำว่า วร ในภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาส 
 








คำประสมและกลุ่มคำที่มีลักษณะคล้ายคำสมาส
   
๑. ไม่ใช่คำจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น ราชวัง (วัง คำไทย) พระธำมรงค์ (ธำมรงค์ คำเขมร)
   ๒. คำตั้งอยู่หน้าคำขยายถึงแม้มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เช่น การแพทย์ คดีธรรม ผลบุญ ผลผลิต

คำสมาสมีสนธิ เป็นการนำคำสมาสมาเชื่อม (สนธิ) หรือกลมกลืนเสียงสระ
 






หลักการสนธิ
   ๑. มีตัว อ เป็นพยัญชนะต้นของคำหลัก

   ๒. ใช้สระพยางค์ท้ายของคำหลังและตัดสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเช่น นิรันดร (นิร+อันดร)
 






   ๓. ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังโดยเปลี่ยน อะ เป็น อา, อิ เป็น เอ, อุ เป็น อู หรือ โอ และตัดสระพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น พงศาวดาร (พงศ+อวตาร) นเรศวร (นร+อิศวร) ราชูทิศ (ราช+อุทิศ) นโยบาย (นย+อุบาย)








    ๔. เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าจาก อิ อี เป็น ย, อุ อู เป็น ว ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูป หรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ อี หรือ อุ อู อย่างสระพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น กิตยากร (กิตติ+อากร) ธาตวากร (ธาตุ+อากร)
 






   ๕. สมาสมีสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระอิ อี ท้ายพยางค์เป็น ย แต่ตัด อิ อี ทิ้งไปเช่น ราชินูปถัมภ์ (ราชินี+อุปถัมภ์) ศักดานุภาพ (ศักดิ+อานุภาพ)







สรุป
     พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ ส่วนคำ เป็นเสียงที่มีความหมาย อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ คำสมาสเป็นวิธีการสร้างคำจากคำภาษาบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น

คำสำคัญ : คำ, พยางค์, คำสมาส, สนธิ
 



 



แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th 



ที่มา



http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31452-044050




Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view