http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,158,855
เปิดเพจ6,304,456

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

เลี้ยงปูนาขาย คิดแปลกแหวกแนว แล้วจะรวยไม่รู้ตัว

(อ่าน 443/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์




ปูนาเป็น ปูน้ำจืดชนิดที่มีกระดองเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมน กลมมีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้ มีปาก อยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเบ้าตา มีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา กระดองปูนามีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง มีขาเป็นคู่ รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกว่าก้ามหนีบ ใช้ในการจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร




ก้ามหนีบของตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ก้ามหนีบซ้ายและขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมักจะใหญ่สลับข้างกัน สำหรับปูเพศผู้ และเพศเมีย ลำตัวปู ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) ส่วนท้องลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง, จะปิ้ง ตับปิ้ง จับปิ้งของปูเพศผู้มีขนาดเล็ก แต่จับปิ้งของปูเพศเมียมีขนาดกลม กว้างใหญ่ เพื่อใช้ในการเก็บไข่ และลูกไว้ ปลายจับปิ้งจะเป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย




ปูนาดำ และปูลำห้วย จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การผสมพันธุ์ของปูน้ำจืด ที่พบการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพศเมียจะหงายส่วนท้องขึ้น และเปิดจับปิ้งออก ส่วนเพศผู้จะขึ้นทับข้างบน พร้อมกับเปิดจับปิ้งออก และสอดขาเดินเข้าไปในส่วนท้อง ของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อ ที่อยู่ระหว่างจับปิ้ง กับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ ความดกของไข่ประมาณ 700 ฟองต่อตัว


แหล่งที่อยู่




ปูชอบขุดรูในทุ่งนา คันนา คันคูหรือคันคลองโดยจะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำและแหล่งอาหารซึ่งใช้เป็น ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ตำแหน่งและลักษณะของรูปูนานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่บริเวณที่ปูขุดรูนั้นจะอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยตำแหน่งของรูปูจะเอียงเล็กน้อยและปากรูจะอยู่เหนือน้ำหรือต่ำกว่าน้ำเล็ก น้อยเพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูจะเอียงทำมุมประมาณ 30-60 องศากับแนวระดับ ส่วนใหญ่แล้วรูปูจะตรงไม่คดเคี้ยว ในบริเวณที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่น้ำตื้นมากรูปูจะอยู่ไม่ลึกนักและจะ ขนานไปกับพื้นดิน

ฤดูและวิธีการผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม โดยปูตัวเมียจะหงายส่วนท้องขึ้นและเปิดจับปิ้งออกและตัวผู้จะสอดขาเข้าไปใน ส่วนท้องของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อที่ อยู่ระหว่างจับปิ้งกับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงและปูตัวเมียสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 ถึง 4 เดือน ปูมีไข่ในท้องประมาณ 700 ฟอง การจับคู่ของปูจะดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2-3 วัน และปูตัวผู้จะคงเกาะบนหลังของปูตัวเมียเพื่อให้ความคุ้มครองจนกว่าปูตัวเมีย จะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปรกติ เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมเป็น ช่วงฤดูจำศีลของปู ปูจะลงรูเพื่อจำศีลและในช่วงนี้ปูจะไม่กินอาหารและไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำ เป็นเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด ปูจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ และจะเริ่มกลับมาผสมพันธุ์อีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝน
 


การเลี้ยงปูนา




การเตรียมบ่อเลี้ยง

การเลี้ยงปูนานั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ แต่พบว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์นั้นจะมีข้อดีกว่าตรงที่สะดวกในการดูแลและ เก็บผลผลิต นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ปูขุดรูหนี บ่อซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยงปูนั้น มี 2 ประเภท คือ บ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยมหากผู้ที่สนใจต้องการทดลองเลี้ยงดูก่อนว่าสามารถ เลี้ยงปูได้หรือไม่ ก็ควรจะเลี้ยงในบ่อกลมก่อน บ่อกลมที่ว่าก็คือการนำท่อซีเมนต์ (ท่อที่ใช้ทำถังส้วม) มาเทปูนทางด้านล่างใส่ท่อพีวีซีทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกต่อการ ถ่ายน้ำ ใส่ดินลงไปและปลูกพืชน้ำ นำปูตัวผู้และปูตัวเมียมาปล่อยลงในบ่อ เลี้ยง บ่อละประมาณ 10-15 ตัว อย่าใส่ปูในบ่อมากนักเพราะปูจะกัดกันเอง ปูตัวไหนที่ขาหลุด ก้ามหลุดให้เก็บออกเพราะว่าจะโดดปูตัวอื่นมารุมทำร้าย ส่วนบ่อสี่เหลี่ยมนั้น อาจใช้บ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลาหรือทำบ่อใหม่โดยการนำอิฐบล็อกมาก่อ กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร และสูง 1 เมตร หรืออาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่อย่าให้สูงมากเพราะจะไม่สะดวกในการดูและและเก็บผลผลิต ใส่ท่อระบายน้ำไปด้วยเพราะจะทำให้สะดวกในเรื่องของการดูแลทำความสะอาด ในบ่อนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของปูโดยการนำเอาดินร่วนปนเหนียวหรือดินตาม ทุ่งนามาใส่ไว้ให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตรของขอบบ่อและทำให้เอียงลง ส่วนที่สองเป็นส่วนที่เป็นน้ำทำโดยลอกเลียนแบบตามสภาพธรรมชาติของแหล่งที่ อยู่ เช่นมีกอข้าวและพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสังเกตการณ์การเลี้ยงปูในบ่อซีเมนต์ นั้นพบว่าปูสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีแม้ว่าไม่ใส่น้ำลงในบ่อ






 ปูนาจะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย และจะออกหากิน โดยจะกินเศษซากที่เน่าเปื่อย ต้นข้าว หรือลูกปลาขนาดเล็ก จากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์พบว่าปูนาสามารถหัดให้กินอาหารเม็ดปลาดุกได้ หรือใช้เศษข้าวสวย ให้เป็นอาหารบริเวณที่อยู่อาศัยของปู ส่วนที่เป็นดินต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด คือเศษอาหารที่ให้ปู ถ้าเหลือทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นเชื้อรา ต้องเก็บออก ช่วงที่เก็บผลผลิตควรเป็นช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงนี้ปูจะขุดรูอยู่ตามท้องนา หาได้ยาก และบางพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช เยอะ ๆ ปูก็จะตาย หรือไม่ก็มีการสะสมสารพิษใน ตัวปู การนำปูนามาแปรรูปเป็นอาหารก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ ทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย ส่วนการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์จะเป็นปูนา ที่ปลอดสารพิษ และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร ได้ ไม่ว่าจะเป็นปูดอง หรือทำเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย เป็นรายได้เสริมอีกทาง ไม่ว่าจะทำเป็น ยำปูนา ลาบปูนา ทอดปูกรอบ และอุกะปู เป็นต้น.

การจำหน่ายปูนา 




ช่วงที่เหมาะสมในการจำหน่ายปูนานั้นควรเป็นช่วงฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงที่ปูใน ธรรมชาตินั้นหายาก ราคาประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ในช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงกันยายน ปูจะมีราคาประมาณ 15 บาทต่อกิโลกรัมและมีแม่ค้ามาซื้อปูถึงที่โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำปูไปจำหน่าย เอง อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการปูนาในท้องตลาดอีกมาก เหมาะแก่การพัฒนาเป็นอาชีพได้

ที่มา http://board.postjung.com/911288.html


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view