http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,159,712
เปิดเพจ6,305,329

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

จากเด็กเลี้ยงควายไถนา สู่ผู้ว่าฯ ตงฉิน ‘ปรีชา เรืองจันทร์’

(อ่าน 394/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์






กลายเป็นที่ฮือฮาในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก สำหรับ อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด นามมังกร"ดร.ปรีชา เรืองจันทร์" หลังจากเกษียณอายุราชการ กับบทบาทพ่อเมืองพิษณุโลก ก็หันหลังกลับเข้าสู่วิถีดั้งเดิม คือ อาชีพเกษตรกร เดินตามรอยเบื้องยุคลบาทของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ โดย “อาสาม ไทม์แมชชีน” ขอย้อนเวลาฝ่าวิกฤติห้วงชีวิตของอดีตผู้ว่าฯ ติดดิน จากเด็กบ้านนอกไถนา เลี้ยงควาย กระทั่งขึ้นเป็นพ่อเมืองในหลายจังหวัดได้อย่างไร ติดตามอ่านได้ตั้งแต่บรรทัดนี้...



ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็หันหลังกลับเข้าสู่วิถีดั้งเดิม

เด็กบ้านนอก ขี่ควาย ปลูกข้าว ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้สิน

ดร.ปรีชา เริ่มรำลึกความหลังตั้งแต่เป็นเด็กชายปรีชาว่า...ผมเป็นคนบ้านนอก เกิดที่ บ้านหนองกอไผ่ หมู่ 6 วังสำโรง อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เป็นตระกูลชาวนา ไม่มีใครเป็นราชการเลยสักคน ตอนนั้นก็เรียนโรงเรียนวัด ทั้งโรงเรียนมีครูอยู่คนเดียว ห้องก็มีหลังคาโล่งๆ นั่งพื้น ไม่มีโต๊ะเก้าอี้ เด็กๆ ก็เรียนแบบตามมีตามเกิด มีเพียงเสา ที่เปรียบเสมือนกำแพงกั้นห้องระหว่างชั้นเรียน


เด็กชายปรีชาในวันวานจากความทรงจำ ได้เรียนที่โรงเรียนวัดหนองกอไผ่ สถานที่เรียนเป็นโถงใหญ่มีแค่เสากั้น ต้องแบ่งปันกันเรียน โดยไม่ได้แบ่งตามห้องอย่างเช่นปัจจุบัน ส่วนเครื่องมือการสอน ก็มีแค่กระดานชนวน นั่งเรียนกับพื้น ทั้งโรงเรียนมีประมาณ 200-300 คน ก็มีการสลับกันเรียน พอ ป.3-ป.4 ก็เริ่มมีสมุดใช้...


"ผมเป็นคนเรียนเก่ง ได้รับความไว้วางใจจากครู ได้เกรด 4 ตลอด เมื่อขึ้นชั้น ป.2 คุณครูก็ให้ไปเป็นผู้ช่วยสอน ป.1 ขึ้นชั้น ป.3 ก็มาช่วยสอน ป.1-ป.2 ครูจะบอกว่า "เอ้า...เด็กชายปรีชามาช่วยครูสอนหน่อยสิ เราเป็นเด็กไม่คิดอะไร...ก็ไป" นอกจากสอนหนังสือแล้ว ก็ยังต้องคอยคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย..." ดร.ปรีชา กล่าวรำลึกความหลังด้วยเสียงแหบแห้งเล็กน้อย


กระทั่งจบ ป.4 ก็ไปไถนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย แต่…ก็มีคนแนะนำว่า "ไอ้หมอนี่มันชอบอ่านหนังสือนะ ที่กรุงเทพฯ เขามีเรียนลัด (สอบเทียบ)" ก็ไม่ได้คิดอะไร ตอนนั้นเพราะฐานะทางบ้านก็ยากจน เรียกคนทำนาว่า "ทำนาปรัง ก็มีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปี ก็มีแต่หนี้กับซัง" คำพูดนี้เขาท่องกันมาเหมือนคาถา บ้านผมก็ทำนาปี ก็เป็นหนี้กับซัง...เพราะทำนาได้เงินมาก็ต้องเอาไปใช้หนี้เถ้าแก่หมด


อดีตเด็กชายปรีชา เล่าต่อว่า บางครั้งต้องไปตลาดจับจ่าย ก็ต้องใช้วิธีการเดินเท้า ซึ่งบ้านห่างจากตลาดประมาณ 15 กิโลเมตร ไปกลับ 30 กิโลเมตร ก็เดินแบบนี้ ลุยน้ำ ลุยโคลน ลัดทุ่ง ลัดหนองกันแบบนี้ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีถนน กว่าจะมีถนน ก็ตอนที่ตนเป็นปลัดอำเภอแล้ว...



ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ หลังจากเกษียณอายุราชการ กับบทบาทพ่อเมืองพิษณุโลก ก็หันหลังกลับเข้าสู่วิถีดั้งเดิม คือ อาชีพเกษตรกร

ลองเสี่ยงดวงเข้ากรุงเทพฯ เรียนลัดจบเอ็นฯ ติดจุฬาฯ...หาเงินด้วยวิธีล้างชาม กับ อาชีพ นักร้อง ฉายา “ไอ้รุ่ง พระลอ” ก่อนเริ่มอาชีพราชการ

จากโชคชะตาของเด็กบ้านนอก ที่เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ทำนาก็มีแต่หนี้...วันนี้ เด็กชายปรีชา จึงลองมาผจญชีวิตที่กรุงเทพฯ ตามคำแนะนำที่ได้ยิน โดยเขาเล่าต่อว่า...หลังจากได้ยินคำพูดให้ลองไปเรียนลัดที่กรุงเทพฯ ก็มีโอกาสมาสอบเทียบ จบ มส.3 จากนั้น ก็จบ มส.5 โดยใช้เวลาเรียน 15 เดือน ก็ผ่านมา 5 ระดับชั้น ทีแรกว่าจะเลิกแต่ถ้าไม่จบก็ทำงานไม่ได้ กระทั่งมาสอบเอ็นทรานซ์ ติดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างที่เรียน ก็หางานทำไปด้วย แต่ก็ไม่ได้ทำเป็นหลักแหล่ง เขาเรียกให้มาช่วยล้างถ้วยล้างจานก็ทำ บางทีก็เล่นดนตรี ตอนนั้นอยู่ที่หอพัก ผมชื่อเล่นชื่อ "รุ่ง" เพื่อนก็เรียก "รุ่งมึงมาร้องเพลง" ผมเองก็ชอบเพลงลูกทุ่ง ตีกลองทอม เพราะอยู่บ้านนอกชอบตีกลองยาว เพื่อนเห็นแวว "บอกเฮ้ย มึงตีเข้าจังหวะดีนี่หว่า" ก็มาตีกลองร้องเพลง เขาก็ให้ 50 บาท 80 บาท ก็แล้วแต่เขาจะให้ เพลงเก่งของผมคือ "ยอยศพระลอ" กระทั่งมีฉายาว่า "ไอ้รุ่ง พระลอ"


เมื่อจบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ก็ลองไปสอบราชการปกติ เขาเปิดสอบก็สอบไป...ก็สอบติด โดยเข้ามาทำงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ของกระทรวงมหาดไทย ทำอยู่ตรงนั้นได้ 8-9 ปี กระทั่งมาสอบเป็นปลัดอำเภอ กระทั่งไต่เต้ามาเป็น รองผู้ว่าฯ กระทั่งมาเป็น ผู้ว่าฯ หลายจังหวัด


ไม่เคยคิดฝันเป็นผู้ว่าฯ แต่ขึ้นมาได้ต้องแกร่ง ตรงไปตรงมา! ถูกขู่ฆ่า ลอบกัดก็ไม่หวั่น...!

เมื่อพูดคุยมาถึงตรงนี้ อาสาม ไทม์แมชชีน จึงสงสัยว่า สมัยเด็กๆ เคยคิดฝันว่าจะได้เป็นราชการหรือเปล่า คำตอบคือ...ไปฝันทำไม มีสิทธิ์ฝันที่ไหน ตอนนั้นคุณกล้าฝันหรือ เพราะอยู่บ้านนอกไถนา ใจจริงๆ ผมอยากจะทำอาชีพเสมียน ก็เลยไปสอบเทียบ ซึ่งสมัยก่อนใครจะไปอำเภอก็จะมีการเขียนคำร้อง ซึ่งค่าเขียนคำร้องสมัยก่อน ครั้ง 2 บาท ก็คิดเขียน 4-5 อัน ก็ได้วันละ 10 บาท ซึ่งสมัยก่อนนับว่าเยอะมาก แต่เขาก็ไม่รับ ก็เลยปล่อยตามเวรตามกรรมไป โดยมีคนแนะนำว่า จบรัฐศาสตร์ก็ต้องไปเป็นปลัดอำเภอ ก็เลยลองดู ก็เลยขึ้นมาตามสาย แค่คิดว่าได้เป็น “ปลัดอำเภอแก่ๆ สักคน ตอนเกษียณก็พอแล้ว” แต่ก็ได้ขึ้นมาถึงผู้ว่าราชการโดยไม่คิดไม่ฝัน



ดร.ปรีชา เรืองจันทร์

ตอนทำราชการ เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย โดยอดีตพ่อเมืองชื่อดังกล่าวลากเสียงยาวว่า “โอ๊ย...ปัญหาเยอะ เชื่อว่าชีวิตราชการทุกคนต้องเจอเหมือนๆ กันหมด แต่เราจะมีความแกร่ง ความอดทนแค่ไหน ตอนไปเป็นปลัดอำเภอ ก็ไปบู๊กับเขาเรื่องที่ดินสาธารณะเป็นหมื่นๆ ไร่ที่นครสวรรค์ เมื่อก่อนมีการบุกรุกที่กัน เราก็ตามไปจับ เจอขู่บ้างอะไรบ้าง แต่เรายึดหลักตรงไปตรงมา มีหลักเกณฑ์ คือ นโยบาย กฎหมาย และดุลพินิจ ใช้ 3 สิ่งนี้เป็นเกราะคุ้มกันตัวเองมาตลอด นายเก่าๆ ท่านก็เคยสอนว่า “หากล้มก็ขอให้ล้มคาหลัก หากตายก็ขอให้ตายคาหลัก”


“ชีวิตนี้โดนข่มขู่เอาชีวิตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเราก็รู้ว่าเขาขู่ แต่บางครั้งก็เหมือนลงมือจริง เช่น มีคนขับรถตามมาแล้วพยายามเบียดให้ตกถนน หรือสภาพรถมีปัญหา เราไม่อยากพูดว่าเป็นการลอบทำร้ายเพราะไม่มั่นใจ หากพูดไปลูกน้องเราจะเสียขวัญ เสียสมาธิ จึงได้แต่กำชับลูกน้องว่าวันหลังให้ระวังหน่อยนะ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ เจอตั้งแต่เป็นปลัดอำเภอ นายอำเภอ รองผู้ว่าฯ เป็นผู้ว่าราชการแล้วก็ยังเจอแบบนี้ 2 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ป่าไม้ และการปราบปรามยาเสพติด”


ดร.ปรีชา เชื่อว่า สิ่งที่ทำให้แคล้วคลาด คือความจริงใจ ตรงไปตรงมา และบุญ เป็นคนทำบุญบ่อยๆ ไม่ใช่ทำทีละเยอะๆ แต่มีโอกาสก็จะทำบุญ ช่วยเหลือผู้คนโดยไม่คิดหวังผลตอบแทน เราได้อธิษฐานจิตว่าหากบุญไม่ถึงเราก็ขอให้ถึงลูกเมียเรา


ราชการไทย หนีไม่พ้นระบบอุปถัมภ์ ต้องทำความเข้าใจ “ผลประโยชน์” วัดความ “นิ่ง” และ “ศักยทิฐิ”

คนทั่วไปมักพูดว่าจะทำราชการต้องมีเส้นสาย ในฐานะข้าราชการคนหนึ่ง ดร.ปรีชา ยอมรับว่า มีจริง มีคนที่เข้ามาหาจะฝากลูกหลานเป็นประจำ ชีวิตนี้เจอมาเยอะมาก แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจ “หากแกเอาลูกมาฝาก แล้วลูกคนอื่นละ ถ้ารับลูกแกแล้วลูกเขาละ เขาจะไม่ด่าผู้ว่าฯหรือ...” เราต้องปฏิเสธอย่างมีเหตุผล


“เบื่อมาก....มาวิ่งเต้นกันแบบนี้ ไม่แฟร์กับคนอื่น เราเองก็เคยมีประสบการณ์มา เราก็ทำได้แค่อดทน อยู่ได้ด้วยตัวเอง หากเราจิตใจอ่อนแอ มันก็ได้แค่นั้น อยู่ตรงไหนก็ได้ทำงาน ตำแหน่งไหนขอแค่ทำงานซื่อตรง ก็เป็นประโยชน์กับประชาชน แต่หากมีตำแหน่งหน้าที่ ก็จะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากขึ้น ทำดีได้มากยิ่งขึ้น”


ส่วนพวกฉ้อฉลติดสินบน ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ ตำแหน่งเราอยู่ระดับนี้ก็มีมาอย่างต่อเนื่อง เราก็ทำได้แค่นิ่งๆ จะไปติดยึดทำไม เราเป็นข้าราชการเราควรทำเพื่อประโยชน์ใคร อยู่ที่คนบริหารว่า “นิ่ง” ขนาดไหน ของแบบนี้เอาไปทำอะไร เราใส่ใจมันหรือไม่ หากเราใส่ใจ เราก็จะ “ติดกับดัก” เขา พระท่านเรียก “ศักยทิฐิ” คือหลงในตัวตน ทั้งที่จริงเราไม่มีตัวตน เรามีเพียงจิตวิญญาณ ส่วนตัวตนเป็นเพียงที่พักเฉยๆ เดี๋ยวเขาเอาเราไปเผาแล้ว ควรทำงานด้วยความสบายใจ



อดีตพ่อเมืองติดดิน เดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ทุกข์ราษฎร คือ ทุกข์ของราชการ สุดภูมิใจได้มีโอกาสเดินตามรอยพระยุคลบาท

“อาสาม ไทม์แมชชีน” ยิงคำถามว่า รู้สึกอย่างไรกับคำว่า “ข้าราชการ” อดีตพ่อเมืองชื่อดังกล่าวอย่างหนักแน่นและภาคภูมิใจว่า นี่ถือว่าสูงสุดอยู่แล้ว ราช หมายถึง The King ส่วน “การ” แปลว่างาน ดังนั้น ข้าราชการ คือการทำงานเพื่อแผ่นดิน เป็นข้าของเบื้องยุคลบาท หากใครได้ทำราชการ ได้มีโอกาสเดินตามรอยพระยุคลบาท ถือเป็นสิ่งวิเศษที่สุดแล้ว “จากเด็กบ้านนอกไถนา มาเป็นข้าราชการ ข้ายุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้สึกว่ามีบุญที่เกิดเป็นคนไทย คือ 1. ได้เกิดแผ่นดินไทยที่สงบ 2. มีพระเจ้าแผ่นดิน และ 3. หากได้เป็นราชการ ได้สนองงาน ถือว่าสุดยอดในชีวิตแล้ว


อดีตพ่อเมืองติดดิน ยังกล่าวต่อว่า คนเป็นข้าราชการที่ดี คือ ต้องสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ เดินตามรอยพระยุคลบาท คิดเสมอว่า ทุกข์ของราษฎรคือทุกข์ของแผ่นดิน ทุกข์ของราษฎรแม้แต่คนเดียวจะอยู่ได้ไง ราษฎรทุกข์แล้วราชการจะอยู่ได้อย่างไร หากเป็นนายอำเภอคุณต้องรู้ว่าความทุกข์ของคนในอำเภออยู่ตรงไหน หากเป็นผู้ว่าฯ ก็ต้องรู้ว่าความทุกข์ในจังหวัดของคุณอยู่ตรงไหน หรือแม้แต่คนต่างประเทศที่ผ่านเข้ามา หากมีความทุกข์ก็ต้องช่วยเหลือเขา ใช่ว่าจะต้องช่วยคนอย่างเดียว หมู หมา กา ไก่ หากช่วยได้ก็ต้องช่วย เพราะคุณสมัครใจมา หากไม่ตั้งใจมาเป็นข้าราชการก็ให้ออกไป


“เวลาทำงานของผม ส่วนใหญ่ก็จะทำอยู่ที่จวนผู้ว่าฯ แป๊บเดียว คือมาสั่งงานเสร็จก็จะออกไป ห้องทำงานจริงๆ ของผม คือ พื้นที่ ท่านเคยเห็นห้องทำงานในหลวงไหม ในหลวงทำงานที่ไหน...ก็ทุกจังหวัด เราจึงต้องทำงานเดินตามรอยเบื้องยุคลบาท “สถานที่ทำงานในหลวงอยู่ในพื้นที่ หากเราไม่ลงพื้นที่จะรู้ได้อย่างไรว่าเขามีปัญหาอย่างไร เราต้องลงไปให้เห็นกับตาแล้วขึ้นมาแก้ปัญหา น้ำแล้งยังไง อุบัติเหตุเกิดบ่อยเพราะอะไร คนเขาทุกข์อย่างไร มันเป็นเรื่องที่เราต้องไปสัมผัส อะไรที่เราได้สัมผัสแล้วมาแก้ก็จะแก้ถูกจุด”



อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด นามมังกร "ดร.ปรีชา เรืองจันทร์"


ผลงานสมัยที่ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ กับบทบาทพ่อเมืองพิษณุโลก

ชาวโลกโซเชียลฮือฮา อดีตผู้ว่าฯ ยึดอาชีพเกษตรกร ความสุขช่วงบั้นปลาย 

ล่าสุด เมื่อเร็วๆ นี้ โลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้กล่าวขวัญถึง เพราะไม่เคยเห็นอดีตข้าราชการระดับสูง เกษียณราชการแล้วมาทำการเกษตร ซึ่ง อดีตพ่อเมือง กล่าวว่า “ก็ผมเป็นลูกชาวนา กลับมาทำนาก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่ผ่านมาไม่ว่าไปเป็นผู้ว่าฯ จังหวัดไหน ก็ได้ปลูกพืช ปลูกต้นไม้มาตลอด ตอนนี้ก็เป็นเกษตรกรกับภรรยา 2 คน ช่วยกันดูแลที่ดิน 20 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ


1. ป่าปล่อย ในหลวงสอนว่าไม่ต้องทำอะไร ปล่อยเฉยๆ ก็เป็นป่ามีต้นหวาย เห็ดโคน


2. ป่าปลูก เช่น ปลูกไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน


3. ไม้ดอกไม้ประดับ ชอบพวกไม้หอม ดอกลำดวน ดอกไม้อื่นๆ


4. ไม้แดก (ไม้กินได้) กล้วยหอม กล้วยไข่ ส้ม ฝรั่ง มะละกอ ฯลฯ


“การทำอาชีพเกษตร ห้ามคิดรวย ถ้าคิดก็จนตั้งแต่แรกคิดแล้ว ที่เราทำ เรายึดหลัก “ความสุข” ความสุขของผมคือแบบนี้ ทำแล้วไม่เดือดร้อนใคร ไม่เดือดร้อนครอบครัว ไม่เดือดร้อนสังคม ไม่เดือดร้อนประเทศชาติ ได้ทำสิ่งที่รักก็มีความสุขแล้ว” ดร.ปรีชา กล่าวทิ้งท้าย...



เด็กบ้านนอก ขี่ควาย ปลูกข้าว ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้สิน

ขอบคุณภาพ - เฟซบุ๊ก นายปรีชา เรืองจันทร์ กับ ผู้ว่าฯ ปรีชา เรืองจันทร์


ที่มา http://www.thairath.co.th/content/616435





Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view