http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,160,082
เปิดเพจ6,305,699

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไป

(อ่าน 243/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์


8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไป (1)


ข่าวการชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. รอบทั่วไป ครั้งที่ 1/2559 เป็นจริงเมื่อ สพฐ. ได้แจ้ง หนังสือเวียน ด่วนที่สุดที่ ศธ.04009/ ว 1845 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ความว่า ให้ชะลอการสอบแข่งขั้นครั้งนี้ไว้ก่อน โดยมีเหตุผลว่า อยู่ระหว่างการหารือแนวปฏิบัติ เพื่อให้การสอบมีความเรียบร้อย ประสิทธิภาพ และเป็นไปทางเดียวกัน


ข่าวนี้ คงไม่ถึงกับทำให้ใครเสียใจจนร้องไห้โฮแน่ บางคนอาจยิ้มหรือดีใจด้วยซ้ำ เพราะจะได้ต่อเวลาอ่านหนังสืออกไปอีก ก็อาจมีเสียความรู้สึกบ้างสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมมานาน และพร้อมที่จะสู้ศึกแล้ว หลังจากที่สะดุดมาแล้วครั้งหนึ่


บางคนอาจจะเสียความรู้สึก หรือคิดมากหน่อย เพราะได้ลาออกจากงานมาแล้ว ท้าเพื่อนให้รอชมผลงานอีกต่างหาก จะกลับไปก็กะไร เขิน อาย หรือเขาอาจไม่รับ อีกอย่างช่วงการรอสอบค่าใช้จ่ายมันมี ภาระต้องรับผิดชอบมันมี จึงคิดหนักไง...แต่หากเป็นคนคิดมาก ๆ ก็จะคิดหนักไปอีก ตรงคำว่า ชะลอ เพราะไปเปิดพจนานุกรมฯ ดูความหมาย แปลว่า ประคอง พยุง ทำให้ช้าลง หรือ ลดความไวลง เพื่อรอ ....ซึ่งต่างกันเล็กน้อยกับคำว่า เลื่อน หมายถึง เคลื่อน ย้าย ยืดเวลาออกไป หรือ เปลี่ยนเวลาจากเดิมไปมีกำหนดเวลาใหม่ที่แน่นอน... ดังนั้น ชะลอ คือยังไม่แน่ อาจจะไม่มีการสอบ และสพฐ. เลือกใช้คำนี้ น่าจะบอกอะไร เลา ๆ เป็นนัย.....คิดไปโน้น....อย่างนี้ร้องให้หนักมาก...ผมว่าอย่าคิดมากขนาดนั้นเลยครับ มีการสอบเกิดขึ้นแน่ เพียงแต่รอความชัดเจนก่อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขากำลังหาทางออก ทางไป....เตรียมตัวให้พร้อม นั้นคือหน้าที่เรา


ข้อเขียน “8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไป” เป็นข้อเขียนที่อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของ Page นี้ คือ ให้ความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการสอบสายครู ซึ่งนอกจากจะเป็นข้อสอบ เนื้อหา องค์ความรู้ เทคนิคการเตรียมตัวสอบ ยังรวมถึง ประเด็นความเคลื่อนไหว รูปแบบ วิธีการ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวพันกับเรื่องของการสอบฯ ด้วย


ประกอบกับ หลักการแนวคิดของการศึกษาไทย การศึกษาโลก การเปลี่ยนแปลงพัฒนานวัตกรรม ไอที คุณลักษณะที่คาดหวังของคนที่ใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21....การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลา เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้จากสถานการณ์ การเรียนรู้ด้วยการคิด และอะไรอีกมากมาย จึงเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับคนไทย โดยเฉพาะเด็กหรือเยาวชนไทย รวมถึงครู อาจารย์


ข้อเขียนนี้....เกิดจากการคิดวิเคราะห์แล้วนำเสนอให้เห็นถึงเหตุและเห็นผลว่า ทำไม สพฐ. ถึงชะลอการสอบออกไป ภายใต้ข้ออ้างอิงตามระเบียบกฎหมายที่มี แค่นี้เท่านั้น เป็นความคิดเฉพาะบุคคล ไม่ผูกพันกับองค์กรหรือหน่วยงาน ...จะไม่คิดวิพากษ์วิจารณ์ว่า สมควรหรือไม่สมควรที่ชะลอสอบ จะเกิดผลเสียอะไร ใครหน่วยงานใดที่จะต้องรับผิดชอบผลที่เกิด ...หรือจะไม่คิดเชิงอนาคต ว่าจะสอบเมื่อใดกันแน่ สอบแล้วจะเกิดปัญหาหรือไม่ จะได้บรรจุไหม ผลกระทบตามมาจะมีการฟ้องร้องกันไหม หรือ โน้น นี่ นั้น ....เอาเพียงว่า คิดเขียนให้ท่านอ่านเป็นความรู้ ได้คิดตาม ได้ปลุกสมองไปพร้อม ๆ กัน มันอาจจะแก้หงุดหงิด ผ่อนคลาย ได้ปล่อยลดอารมณ์ที่ตึง ๆ ลงได้บ้าง ท่านอาจ เออ ออ ห่อ หมก หรือไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่สามารถนำไปอ้างอิงใด ๆ ได้แล้วกัน


เรื่องนี้เริ่มจาก "กติกา" แล้วกัน... ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ; เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูฯ) เป็นคนออกและคุมกติกา เกี่ยวกับการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย และ จิปาถะฯ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูฯ ทุกตำแหน่ง ทุกสายงานของกระทรวงศึกษาธิการ และยังใช้กับกระทรวง หรือกรมอื่นที่มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย


สำหรับกติกาการสอบรรจุครูผู้ช่วย สพฐ. นี้ ก.ค.ศ.ท่านออกกติกาให้โดยเฉพาะ เข้าใจย่อ ๆ ว่า หลักเกณฑ์ตาม ว.14/2558 มีชื่อเต็มๆ ว่า หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ. 0206.6/ว14 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 (ที่มาของ ว 14/2558) โดยมีสาระหลัก ๆ เจาะจงไปที่อำนาจหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้ 


1) สพฐ. เป็นผู้กำหนด วัน เวลาในการสอบฯ รวมทั้งกำกับ ติดตามการสอบฯ ให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม ให้เป็นไปตามกติกา
2) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบฯ ในการจัดทำข้อสอบนั้นให้รวมกันในเขตตรวจราชการนั้น ๆ แล้วไปพูดคุยขอให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบให้
3) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้ประกาศสอบแข่งขัน ระบุตำแหน่ง จำแนกคุณวุฒิ เงินเดือน เงื่อนไข ข้อความอื่น ๆ รวมทั้งกำหนดรูปแบบวิธีสมัครสอบฯ การดำเนินการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมสมัครสอบฯ การให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน คุณสมบัติและคุณวุฒิ เป็นต้น
4) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้ประกาศสอบแข่งขัน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วัน เวลา สถานที่สอบ ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ รวมทั้งยกเลิก หรือแก้ไขหากการดำเนินการสอบแข่งขันครั้งนั้น มีการทุจริต ส่อทุจริต หรือ ผิดพลาดไม่เป็นธรรม
5) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ต้องพิจารณาให้รอบคอบ หากจะดำเนินการสอบและประกาศขึ้นบัญชีครั้งใหม่ในวิชาเอกเดิมที่เคยสอบเอาไว้ เพราะจะทำให้บัญชีที่เคยขึ้นไว้มีอันถูกยกเลิก ทั้งที่ควรจะมีอายุไขยืนอยู่ถึงสองปี
6) ก.ค.ศ. เป็นผู้กำหนดหลักสูตรสอบแข่งขัน เกณฑ์การประเมิน หรือ การขอใช้บัญชี รวมทั้งพิจารณากรณีผู้ดำเนินการสอบฯ ได้ปรึกษาหารือ กรณีที่จะต้องดำเนินการแตกต่างไปจากกติกา ที่ ก.ค.ศ. ว่าไว้
7) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ทั้งประถมและมัธยม) แต่งตั้งกรรมการ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบตามความจำเป็น เหมาะสม ในการสอบฯ ตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ได้มอบหมาย


หากพิจารณาแล้ว ผู้มีบทบาท อำนาจ หน้าที่หลักในการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ. คือ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถมและมัธยม) เคยรับไป


กติกาคงเดิมแต่คนดำเนินงานเปลี่ยนมือ... ต่อมา วันที่ 21 มีนาคม 2559 มีประกาศ หัวหน้า คสช. ออกมาสองฉบับ คือ 10 และ 11/2559 เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค รวมถึง ประกาศ คำสั่ง หนังสือเวียน หลายฉบับตามมาติด ๆ ส่งผลดังนี้


1) เวลา 00.0001 น. วันที่ 22 มีนาคม 2559 อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาและกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตฯ หายวับไปกับตา...เกิดคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (ก.ศจ.) มารับไม้แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา คณะนี้มี 22 คน มีในทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จำนวน 8 คน....รับไป....
2) เกิด อ.ก.ศ.จ (คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด) อย่างน้อยสามคณะ ๆ ละ 9 คน คือ อ.วินัย อ.วิทยฐานะ อ.บรรจุแต่งตั้งฯ มาช่วยงาน กศจ. เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูฯ ในจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น....ขณะนี้ทั้งสาม อ. กำลังแต่งตัว....
3) ให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อทำหน้าที่งานธุรการและปฏิบัติงานราชการในหน้าที่ของ กศจ.และตามที่ กศจ.มอบหมาย ปฏิบัติตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการตามที่มอบหมาย รวมทั้งประสานดำเนินงานในระดับจังหวัด โดยมี ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เป็นผู้บังคับบัญชาในสำนักงานฯ โดยมีรองศึกษาธิการจังหวัดเพื่อช่วยงานหนึ่งคน โดยในระยะชั่วคราวนี้ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (หรือ เขต 1 กรณีมีเขตประถมหลายเขตฯ) ทำหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานฯ นั้นๆ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้ง
4) ศึกษาธิการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องเฉพาะงานเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
5) กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ฯ ที่กล่าวอ้างถึง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้ กศจ. เอามาอ้างได้


เมื่อกติกาการสอบยังเหมือนเดิม แต่ผู้ดำเนินการสอบเปลี่ยนไป...จึงเกิดประเด็น อาจจะนำไปสู่ความไม่เรียบร้อย ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และไปคนละทิศ คนละทาง เช่น หาก กศจ.จะมอบหมายให้ดำเนินงานแทน (เหมือนที่ผ่านมา ที่ อ.ก.ค.ศ.มอบให้เขตพื้นที่ดำเนินการแทนฯในบางเรื่อง) จะมอบให้ใครระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบ หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด หรือ


จึงเป็นที่มาของ 8 เหตุผลที่ สพฐ.สั่ง ชะลอสอบบรรจุครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ครั้งที่ 1/2559 ออกไป


 


 


ที่มา สอบได้ ไม่ง้อติว






Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view