สถิติ
เปิดเว็บ | 01/07/2011 |
อัพเดท | 26/09/2024 |
ผู้เข้าชม | 4,159,338 |
เปิดเพจ | 6,304,939 |
สินค้า
ลิ้งก์ตัวอักษร
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน /เผื่อใช้ประโยชน์ได้บ้าง
(อ่าน 935/ ตอบ 2)
เว็บมาสเตอร์ |
หัวข้อ :แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน /เผื่อใช้ประโยชน์ได้บ้าง
24/04/2016
, 13:27
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน /เผื่อใช้ประโยชน์ได้บ้าง Link: คลิ๊กที่นี่ |
เว็บมาสเตอร์ |
ความคิดเห็นที่ 1
24/04/2016
, 13:34
**** แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 3 สอบท้องถิ่น*** * ปรัชญาของการพัฒนาชุมชนมี 7 ประการ ประกอบด้วย ตอบ 1. คนเป็นทรัพยากรที่ประเสริฐ มีค่า และสำคัญที่สุด 2. คนเป็นสัตว์โลกที่พัฒนาได้ดีที่สุด 3. การรวมกลุ่ม 4. ความยุติธรรม 5. การศึกษา 6. หลักประชาธิปไตย 7. ความสมดุลของการพัฒนา * อุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรมของการพัฒนาชุมชน สำหรับนักพัฒนาที่จะมีในตนเองเพื่อเป็นจุดหมายในการพัฒนาชุมชนให้ดี ให้ไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม มีอะไรบ้าง ตอบ 1. มุ่งหวังให้ชุมชนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า 2. มุ่งหวังให้ความเป็นอยู่ในท้องถิ่นในชนบทดีขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นอยู่ 3. ไม่ลำเอียง ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำตัวเป็นกลาง 4. มีความเชื่อถือต่อบทบาทสตรีและเยาวชน 5. มีการบริหารที่จะรู้ความเป็นระเบียบ ตลอดจนมีการวิจัยและประเมินผลโครงการ 6. ให้องค์กรอาสาสมัคร เอกชน เข้าร่วมในงานพัฒนาชุมชนด้วย 7. ยึดถือประชาชนเป็นหลัก ยึดถือความต้องการและปัญหาที่แท้จริงของประชาชนเป็นหลักใหญ่ 8. ยึดทรัพยากรของชาวบ้านเป็นหลัก รู้จักรวมกลุ่มให้เป็นประโยชน์ 9. ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน แผนหรือโครงการพัฒนาชุมชน จะต้องมาจากประชาชนในหมู่บ้าน 10. ทำงานร่วมกับประชาชน ไม่ทำตัวเป็นนายหรือมีลักษณะเป็นนายร่วมคิดทำกิจกรรม 11. ไม่มีการบังคับให้กระทำ ให้ชาวบ้านเข้ามาดำเนินการด้วยความสมัครใจ 12. ให้มีการปกครองตนเองในชุมชนตามหลักประชาธิปไตย 13. นักพัฒนาจะเป็นตัวกลไกในการประสานงาน นำบริการต่าง ๆ ของรัฐสู่ประชาชนในหมู่บ้าน 14. เป็นที่ปรึกษาของชาวบ้านเมื่อมีปัญหา 15. รู้ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ปรับให้เข้ากับชุมชนนั้น ๆ 16. มีหลักการในการพัฒนาชุมชน คือ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมกันรับผลประโยชน์ ริเริ่มเร่งรัดพัฒนาชนบท 17. สอนให้ประชาชนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น 18. ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบตรงต่อเวลา * ผู้ที่ทำงานด้านพัฒนามีความจำเป็นจะต้องมีความเชื่อขั้นพื้นฐาน 3 ประการ คือ ตอบ 1. คนมีศักดิ์ศรี 2. คนมีความสามารถ 3. ความสามารถของคนพัฒนาได้ * ความเชื่อที่ว่าชาวชุมชนมีศักดิ์ศรี หมายถึง ตอบ ไม่ดูถูกหมิ่นชาวชุมชน เพราะถ้าขาดความเคารพในความเป็นคนเหมือนกัน ขาดความคิดว่าชาวชุมชนถึงแม้จะจนและมีความรู้น้อย แต่มีศักดิ์ศรี เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับชาวชุมชนด้วยวิธีการ กิริยาท่าทางที่ดูถูกดูหมิ่นและจะยัดเยียดความคิดของตนให้กับชาวชุมชน โอกาสการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนก็เกือบจะหมดลงไป * ความเชื่อที่ว่าชาวชุมชนมีความสามารถ หมายถึง ตอบ เป็นความเชื่อที่เจ้าหน้าที่สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพราะในความเป็นจริงแล้วชาวชุมชนมีความสามารถมากภายใต้สิ่งแวดล้อมของเขา เราก็มีความสามารถในรูปแบบของเรา เป็นความสามารถคนละอย่าง * ความเชื่อที่ว่า ความสามารถของคนนั้นพัฒนาได้ หมายถึง ตอบ สามารถจะพัฒนาในสิ่งที่ยังไม่มี ให้มีความสามารถได้ เพราะถ้าหากขาดความเชื่อนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ของเราอาจจะดูหมิ่นชาวชุมชนว่าชาวบ้านก็มีความสามารถเพียงแต่เลี้ยงควายกับปลูกข้าวเท่านั้นเอง และถ้าคิดว่ากิจกรรมอย่างอื่น ๆ นั้น ชาวชุมชนไม่สามารถจะทำให้เจ้าหน้าที่ก็จะเริ่มยัดเยียดหรือดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนไป * “ชุมชน” มีความหมายที่หลากหลายและสามารถจะจัดกลุ่มตามนัยหรือความหมายที่ใกล้เคียงกันได้ 4 แนวคิด คือ ตอบ 1. แนวคิดทางสังคมวิทยา (Sociological Perspective) 2. แนวคิดทางมานุษยวิทยา (Humanistic Perspective) 3. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนประชาคม (Civil Society Perspective) 4. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในรูปแบบใหม่ (Virtual Community Perspective) * แนวคิดทางสังคมวิทยา (Sociological Perspective) หมายถึง ตอบ ชุมชนมีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม (Community as unit of Social Organization) และนิยามความหมายว่า “ชุมชน” หมายถึง หน่วยทางสังคมและกายภาพ อันได้แก่ ละแวดบ้าน หมู่บ้าน เมือง มหานคร George Hillary ได้พยายามหาความหมายร่วมจากคำจำกัดความของชุมชนที่มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย โดยสรุปหาลักษณะความหมายต่าง ๆ ได้ว่า ชุมชน ประกอบไปด้วย 1. อาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (Geographical area-territorial) 2. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction-sociological) 3. มีความผูกพัน (Common ties-psycho cultural) * แนวคิดทางมนุษยนิยม (Humanistic Perspective) หมายถึง ตอบ 1. ไม่ได้ให้ความสนใจหรือความสำคัญกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์หรือพื้นที่ 2. เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ 3. เน้นลักษณะความรู้สึกเชิงอัตวิสัยของความเป็นชุมชนหรือแบบแผนในอุดมคติซึ่งเกี่ยวกับนำเสนอลักษณะชุมชนที่ควรจะเป็นชุมชนที่ดีหรือชุมชนในอุดมคตินั่นเอง * แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนประชาคม (Civil Society Perspective) หมายถึง ตอบ 1. มีความหลากหลายทั้งในรูปแบบของการรวมตัว พื้นที่ รูปแบบของกิจกรรม ประเด็นของความสนใจปัญหา 2. มีความเป็นชุมชนที่อาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ 3. ประกอบด้วยจิตสำนึกสาธารณะ (Public Consciousness) 4. เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 5. มีกิจกรรมบนพื้นฐานของกระบวนการกลุ่มและพื้นฐานของการเรียนรู้ร่วมกัน 6. มีเครือข่ายและการติดต่อสื่อสารและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความเข้าใจต่อองค์ประกอบที่สำคัญของประชาสังคม อันได้แก่ - การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม - การมีส่วนร่วมของสมาชิกอย่างกว้างขวาง - การมีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน - การมีองค์ความรู้และความสามารถ รวมทั้งวิธีการใหม่ ๆ ในการแสวงหาความรู้ - มีการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งประสานกันอย่างเป็นระบบภายใต้การจัดการที่มีประสิทธิภาพ * แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในรูปแบบใหม่ (Virtual Community Perspective) หมายถึง ตอบ มีลักษณะเป็น “ชุมชนทางอากาศ” หรือผู้สนใจจะมีส่วนร่วมในรายการวิทยุ ชุมชนเครือข่ายบน Internet อาจกล่าวได้ว่า เป็นชุมชนไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ทางกายภาพและไม่จำเป็นว่าสมาชิกต้องพบปะหน้าตากันโดยตรง แต่เป็นชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องสานความสัมพันธ์และจิตสำนึกร่วมของสมาชิก * ชุมชน ในความหมายเชิงรูปธรรม คือ ตอบ จำกัดอยู่กับความหมายที่ให้ความสำคัญกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์หรือบริเวณบ้านเล็ก ๆ ที่มักนึกถึงหมู่บ้านเท่านั้น * ชุมชน ในความหมายเชิงนามธรรม คือ ตอบ เป็นคำที่มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและใช้ในลักษณะแตกต่างกันออกไป จึงมิอาจกล่าวได้ว่า “ชุมชน” เป็นคำที่มีความหมายแน่นอนตายตัวเพียงประการเดียว การไม่ยึดติดกับความหมายแคบ ๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะช่วยให้เกิดทรรศนะอันกว้างขวางในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้หลายแง่มุมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาแนวคิดและความหมายของชุมชนในทัศนะของการพัฒนาชุมชนก็ควรจะศึกษาถึงความหมายที่เป็นรากฐานและเอื้อต่อการปฏิบัติงานร่วมกันกับสมาชิกของชุมชนต่อไปด้วย * จุดมุ่งหมายในการพัฒนาที่นักพัฒนาจะต้องระลึกอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานไปสู่จุดหมาย ก็คือ ตอบ 1. เพื่อพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพ 2. ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมือกันในการพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง 3. ส่งเสริมให้ประชาชนรู้สึกภาคภูมิใจที่จะอาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านของตนอย่างสงบสุข 4. ส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวและชุมชนให้ดีขึ้น 5. ส่งเสริมความสามารถของแต่ละบุคคล ให้แต่ละคนนำเอาความสามารถในตัวเองออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ 6. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในการดำเนินชีวิตตามระบอบประชาธิปไตย 7. พื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสังคมให้ดีขึ้น 8. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถแก้ปัญหาของตนเองและชุมชนได้ 9. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน ประเทศชาติ 10. เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนในทุกรูปแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวให้ดีขึ้น * ความหมายของการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วยความหมายที่แตกต่างกันออกไป 4 ฐานะ คือ ตอบ 1. ขบวนการเคลื่อนไหว (Movement) ความหมายของการพัฒนาชุมชนในฐานนี้ หมายถึง การต่อสู้ของมวลชนเพื่อการปฏิรูปสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งประชาชนมีความไม่พอใจอย่างรุนแรง การพัฒนาชุมชนในความหมายนี้ จะประกอบด้วยความสนใจในเรื่องอำนาจและสิทธิมวลชน ความเชื่อ ศรัทธา ดุดมการณ์ และปรัชญาของประชาชนที่เข้ามาร่วมในการปฏิรูป 2. โครงการ (Program) การพัฒนาชุมชนในความหมายนี้ หมายถึง โครงการที่รัฐเป็นผู้จัดเตรียมและให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชนในรูปของโครงการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความต้องการในการที่จะนำเอาบริการต่าง ๆ เหล่านั้นมาบำบัดความต้องการ 3. วิธีการ (Method) ในฐานะนี้ การพัฒนาชุมชน จะมุ่งพิจารณาวิธีการทำงานโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งวิธีการทำงานที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4. กระบวนการ (Process) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ได้รับการวางแผนอย่างมีระบบและขั้นตอน ในฐานะนี้ การพัฒนาชุมชนจะถูกมองว่าหรือกิจกรรมพัฒนาใด ๆ เป็นเรื่องที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องกันไปอย่างมีขั้นตอนโดยเริ่มต้นจากการทำการศึกษาและสำรวจสภาพของชุมชน การวิเคราะห์ขีดความสามารถของชุมชน การร่วมกับประชาชนจัดลำดับของปัญหาความต้องการ การวางแผนการปฏิบัติงานโดยใช้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษามาประกอบการวางแผน การดำเนินงานตามแผน และขั้นสุดท้าย ก็คือ การติดตามประเมินผลภารกิจที่ได้กระทำไปแล้ว * การพัฒนาชุมชน หมายถึง ตอบ 1. การสร้างความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการพัฒนาทางด้านวัตถุและจิตใจของคนที่อยู่ในชุมชนโดยมีจุดเน้นหนักหรือวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะมีพื้นฐานจาก 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความคิดริเริ่มและร่วมมือกันช่วยเหลือตนเองผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม 3. การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ควรที่จะได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุนทางด้านวิชาการจากภาครัฐ * การพัฒนา การพัฒนาสังคม และการพัฒนาชุมชน มีความแตกต่างกัน ในเรื่องใดบ้าง ตอบ 1. ปรัชญาและความเชื่อ 2. ความหมาย 3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4. วิธีการ 5. เป้าหมาย 6. ลักษณะ 7. การตัดสินใจดำเนินการตามแผน * ความเป็นมาของการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็น 3 สมัย คือ ตอบ 1. สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1780 – 1993) 2. สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2310) 3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2425 – ปัจจุบัน) สามารถแบ่งออกได้ 2 ระยะ คือ 3.1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2425 – 2475) 3.2 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน) * หลักการของการพัฒนาชุมชน ถือว่าเป็นหลักหรือจุดยืนในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน เพื่อการสร้างสรรค์ความเจริญในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้แก่ชุมชนและประเทศชาติในที่สุด และการที่จะสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนดังกล่าวนี้ ต้องฝึกอบรมประชาชนให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยอาศัยหลักการอะไรบ้าง ตอบ 1. พิจารณาถึงบริบทของชุมชนเป็นหลักในการเริ่มงาน (Context) บริบทของชุมชน หมายถึง สภาพความเป็นอยู่ในชุมชน ซึ่งในการพิจารณานั้น นักพัฒนาควรจะพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งสภาพความเป็นอยู่ทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การที่นักพัฒนาทราบสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนก็สามารถที่จะวางแผนและดำเนินงานพัฒนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 2. การดึงประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วม (Participation)การจัดกิจกรรมการพัฒนาอะไรก็ตาม จะต้องดึงหรือชักจูงประชาชนให้เข้ามาเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่ศึกษาชุมชน วางแผนวางโครงการ ปฏิบัติการตามโครงการ และการประเมินผล ซึ่งจะทำได้มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของกิจกรรม แต่ยึดหลักการที่สำคัญว่าต้องให้ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ เนื่องจากกว่าผลของการดำเนินงานพัฒนานั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวประชาชน ดังนั้น ควรที่จะให้ประชาชนเลือกแนวทางในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง 3. การทำงานต้องค่อยเป็นค่อยไป (Gradualness) ความล้มเหลวของการพัฒนาชุมชนเกิดขึ้น เพราะการเร่งรีบทำงานให้เสร็จเร็วเกินไป ก่อนที่จะรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพทั่วไปและปัญหาที่แท้จริงของชุมชนหรือก่อนที่ประชาชนจะมีความเชื่อมั่นในตนเองหรือก่อนที่จะมีทรัพยากรเพียงพอ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่านักพัฒนาต้องการให้มีผลงานออกมาโดยเร็ว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการของบประมาณมาใช้ในการดำเนินงาน ดังนั้น การพัฒนาชุมชนไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป ควรดำเนินงานแบบค่อยเป็นค่อยไป ควรคิดถึงผลกระทบในการพัฒนาชุมชนในระยะยาว 4. การให้ความสำคัญกับคนในชุมชนเป็นหลัก (Man-Center Development) มีความจริงอยู่ประการหนึ่งว่า การช่วยคนไม่อาจสำเร็จได้ ถ้าผู้นั้นไม่ต้องการจะช่วยตนเอง โดยหลักการนี้ การพัฒนาชุมชนจึงต้องเริ่มด้วยการให้ความสำคัญกับคนในชุมชนเป็นหลักหรือเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดยให้คนในชุมชนค้นหาความต้องการและปัญหา (Identify Need and Problem) ของตนเองให้พบไม่ว่าจะด้วยวิธีกระตุ้น ยั่วยุ หรือชักจูงก็ตาม 5. การใช้วิธีดำเนินงานแบบประชาธิปไตย (Democracy) การพัฒนาชุมชนจะต้องนำแบบประชาธิปไตยมาใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนร่วมกันทำงานตามข้อตกลงที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ ยึดถือในเสียงข้างมากและรับฟังเสียงข้างน้อย (Rule of Majority, Right of Minority) 6. การดำเนินงานต้องยืดหยุ่นได้ (Flexible) เนื่องจากสังคมมีความเคลื่อนไหว (Dynamic) ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องเลือกวิธีดำเนินงานให้กว้างและเข้ากับสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงจะต้องเป็นไปเฉพาะวิธีดำเนินงานเท่านั้น โดยยึดมั่นในหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายเสมอ 7. สอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชน (Culture) วัฒนธรรมเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูปัญหาเพื่อเข้าถึงประชาชน การพัฒนาชุมชนจะสำเร็จหรือล้มเหลว เกิดจากความเข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะในแต่ละชุมชน สังคมมีวิถีชีวิต (Way of Life) ที่แตกต่างกัน จนมีคำกล่าวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและงานพัฒนาว่า “การเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนได้มากเท่าใด ก็จะเข้าใจงานพัฒนาชุมชนได้มากเท่านั้น” 8. ทำงานกับผู้นำท้องถิ่น (Local Leader) การทำงานกับผู้นำท้องถิ่นเป็นหลักการพัฒนาชุมชนที่สำคัญอย่างหนึ่ง การพัฒนาชุมชนจะขยายตัวกว้างออกไปและบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถของผู้นำในท้องถิ่น ซึ่งจะมีทั้งผู้นำที่เป็นทางการ คือ มีบทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ตามที่ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผสส. อสม. ครูในหมู่บ้านหรือตำบล และผู้นำที่ไม่เป็นทางการ คือ ผู้นำที่คนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือและมีบทบาทในการชี้นำการพัฒนา เช่น เถ้าแก่โรงสี เถ้าแก่ไร่อ้อย คนเฒ่าคนแก่ จ้ำ พระสงฆ์ เป็นต้น 9. ทำงานกับองค์การที่มีอยู่ในชุมชน (Community Organization) ในชุมชนใดที่มีสมาคม สถาบัน สโมสร หรือองค์กรอื่น ๆ อยู่ย่อมมีผู้นำขององค์กรนั้น ๆ อยู่ด้วยหลักการพัฒนาชุมชนต้องพยายามใช้องค์กรเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ โดยดึงเอาสมาชิกหรือตัวแทนขององค์กร เข้ามาร่วมทำงานเพราะองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้จะมีการรวมกลุ่มกันอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดึงเอากำลังของกลุ่มมาใช้ในการพัฒนา แต่ถ้าหากไม่มีองค์กรอยู่ในชุมชนก็ควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มตั้งเป็นองค์กรขึ้นโดยการให้การศึกษาตลอดจนการฝึกอบรม 10. ทำการประเมินผลตลอดเวลา (Evaluation) การประเมินผลมิใช่เป็นแค่เพียงการเปรียบเทียบผลงานในอดีต เพื่อให้รู้ว่ามีความก้าวหน้าเพียงใด เท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ถึงข้อดี ข้อเสีย ความผิดพลาด และความสำเร็จ ในสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมนั้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานครั้งต่อไปได้ ซึ่งในการประเมินผลนั้นสามารถทำได้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานและเมื่อโครงการเสร็จสิ้นไปแล้ว 11. สอดคล้องกับนโยบายของชาติ (Policy) ไม่มีองค์การใดที่จะเกิดขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าองค์การนั้นไม่ดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของชาติ และเช่นเดียวกัน ไม่มีองค์การใดจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ดำเนินงาน ถ้าหากองค์การนั้นขัดกับนโยบายของชาติ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ ผลการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงในระดับชาติเสมอ ฉะนั้น จึงต้องสอดคล้องเป็นแนวเดียวกันนโยบายของชาติ 12. การทำงานโดยผ่านกระบวนการกลุ่ม (Grouping Process) การทำงานโดยผ่านกระบวนการกลุ่ม เป็นหลักการที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำงานพัฒนาชุมชน ประชาชนต้องได้รับการกระตุ้นให้ทำงานผ่านกระบวนการกลุ่ม เพราะพลังกลุ่มมีอิทธิพลเข้มแข็งและมั่นคงมากกว่าคน ๆ เดียว จนมีคำกล่าวเกี่ยวกับกลุ่มในงานพัฒนาชุมนว่า “ไม่มีกลุ่มก็ไม่มีการพัฒนาชุมชน” (No Group No C.D.) 13. การพัฒนาชุมชนต้องทำเป็นกระบวนการต่อเนื่อง (Continuity) โครงการใดโครงการหนึ่งที่ดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาชุมชนและสำเร็จไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่า งานพัฒนาชุมชนเสร็จสิ้นตามไปด้วย จะต้องมีการเริ่มทำโครงการใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด หรือเรียกได้ว่า เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง โครงการใหม่นี้ อาจใหญ่กว่าเดิมหรือยากกว่าเดิมก็ได้ ซึ่งก็ย่อมแล้วแต่ประชาชนจะเป็นผู้กำหนด สำหรับขั้นตอนตามกระบวนการพัฒนาชุมชนที่จะใช้สำหรับทำโครงการใหม่นั้น ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเริ่มจากขึ้นตอนแรก คือ ขั้นการศึกษาชุมชน แต่อาจเริ่มจากขั้นตอนอื่นได้เลย เช่น เริ่มจากขั้นตอนวางแผนทันทีก็ได้ * ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาจะยึดหลักการพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน 10 ประการ คือ ตอบ 1. ต้องพัฒนาชุมชนทุก ๆ ด้านไปพร้อมกัน ถ้าพิจารณาอย่างกว้าง ๆ จะเห็นว่า สิ่งที่จะต้องทำการพัฒนาในชุมชนนั้นมีเพียง 2 ประการ คือ ด้านวัตถุและจิตใจ ด้านวัตถุนั้น หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุทุก ๆ ด้าน เช่น ถนนหนทาง ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานรักษาพยาบาล ไฟฟ้า วิทยุ เป็นต้น เมื่อสภาพแวดล้อมทางวัตถุเจริญก้าวหน้าดีแล้ว ไม่ได้หมายความว่า สภาพจิตใจของประชาชนจะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วยเสมอไป จึงจำเป็นต้องส่งเสริมสภาพจิตใจให้แปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ถูกต้องด้วย เช่น การให้การศึกษา ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมพร้อมกันไปด้วย 2. ยึดประชาชนเป็นหลักในการพัฒนา การทำงานกับประชาชนนั้นจะต้องคำนึงถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนกำลังประสบปัญหาอะไร กำลังมีความต้องการอะไร อะไรเป็นปัญหารีบด่วน เป็นความต้องการรีบด่วนที่จะต้องรีบแก้ไข อะไรเป็นปัญหาความต้องการที่รองลงมา สิ่งเหล่านี้จะต้องคำนึงถึงตัวประชาชนเป็นที่ตั้ง การแก้ปัญหาจึงจะตรงจุดมิใช่แก้ปัญหาจากปัญหาและความต้องการของผู้ปฏิบัติงานพัฒนาเอง 3. การดำเนินงานจะต้องค่อยเป็นค่อยไป จุดมุ่งหมายของการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ก็คือ ต้องการแปรเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในชุมชนและวัตถุไปพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น การดำเนินงานตามกิจกรรมจึงไม่ควรเร่งรีบจนเกินไปจนประชาชนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร การมุ่งผลงานตามกิจกรรมอย่างเดียวนั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างแท้จริง การดำเนินงานจึงต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยเลือกทำในชุมชนที่พร้อมกว่าก่อน 4. ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมของชุมชนเป็นหลัก ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมในท้องถิ่นมีลักษณะสนับสนุนการพัฒนาแล้ว จึงควรส่งเสริมให้วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นให้ได้มีบทบาทในการพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น สิ่งใดที่เป็นการขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมควรหลีกเลี่ยง หรือถ้าเห็นว่าประเพณีบางอย่างไม่ถูกไม่ควรก็ไม่ควรจะไปตำหนิติเตียนตรง ๆ แต่ควรชี้นำเสนอแนะให้ประชาชนเห็นว่าดีและไม่ดีอย่างไรด้วยเหตุผลแล้วช่วยกันหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น 5. ต้องพยายามใช้ทรัพยากรในชุมชนให้มากที่สุด ผลงานพัฒนาชุมชนนั้น ควรจะเริ่มจากการนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยชี้นำสอนแนะให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปเป็นวัสดุเครื่องใช้ในครัวเรือนให้ได้ คำว่า ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ทุกสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ตัวคน วัตถุ สถาบันทางสังคม และกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น 6. ต้องยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน การดำเนินงานพัฒนาชุมชนจะเริ่มด้วยการประชุมปรึกษาหารือกัน ร่วมกันคิดว่าจะทำอะไร เมื่อตกลงกันแล้วก็จะร่วมกันทำโดยมอบหมายงานให้แต่ละคนได้รับผิดชอบร่วมกัน งานจะมาจากเบื้องล่าง คือ ตัวประชาชนในชุมชนเอง ไม่ได้มาจากถูกสั่งให้กระทำ ในการเข้าไปแก้ปัญหาของประชาชนนั้น ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาจะไม่ใช่วิธีออกคำสั่งแต่จะให้การศึกษา ชักชวน ชี้นำให้ประชาชนได้เห็นปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขโดยความสมัครใจ 7. ต้องใช้หลักการประสานงาน งานพัฒนาชุมชนจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหนอยู่ที่การประสานงาน เพราะงานพัฒนาชุมชนนั้นมิใช่งานของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นงานที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบทุกหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานพัฒนาก็มิใช่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทุก ๆ ด้าน จึงต้องอาศัยการประสานงานเป็นหลักในการดำเนินงาน 8. เริ่มต้นทำงานกับกลุ่มผู้นำก่อน ผู้นำในท้องถิ่นเป็นผู้ที่ประชาชนในชุมชนให้ความเคารพเชื่อถือ จะพูดจาทำอะไร ประชาชนส่วนใหญ่จะยอมรับและคล้อยตาม การจะกระทำกิจกรรมพัฒนาในชุมชนหากผู้นำเห็นชอบด้วย ปัญหาการขัดแย้งและการให้ความร่วมมือก็จะน้อยลงหรือหมดไป 9. การดำเนินงานต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของชาติ การจัดทำแผนงานหรือกิจกรรมใด ๆ จะต้องให้เป็นไปตามแผนพัฒนาระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสมอ 10. ปลูกฝังความเชื่อมั่นในตนเองให้กับประชาชน ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานสำเร็จลงได้ แม้งานนั้นจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม หากมีความมั่นใจและเชื่อในพลังงานที่ตนมีอยู่แล้ว การดำเนินงานก็จะสำเร็จลงได้โดยไม่ยากนัก * หลักการปฏิบัติงาน 4 ป. ประกอบด้วยอะไรบ้าง ตอบ 1. ประชาชน (People oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนต้อง 1.1 ทำงานกับประชาชนไม่ได้ทำให้ประชาชน 1.2 พัฒนาทัศนคติของประชาชนทุกเพศทุกวัยโดยการเพิ่มพูนทักษะ 1.3 พิจารณาสภาวการณ์และปัญหาของชุมชนและประชาชนเป็นหลักในเรื่องงาน 2. ประชาธิปไตย (Democracy oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้อง 2.1 ทำงานในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นในระดับหมู่บ้าน ตำบล 2.2 สนับสนุนให้ประชาชนรวมกลุ่มกันริเริ่มกิจกรรมเพื่อปรับปรุงท้องถิ่นด้วยตนเอง 2.3 อาศัยหลักการเข้าถึงประชาชนในการทำงานและร่วมงานกับผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในรูปกลุ่ม 3. ประสานงาน (Co-ordination oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้อง 3.1 ร่วมมือประสานงานกับหน่วยงาน องค์การทั้งของรัฐบาลและเอกชน 3.2 ชักนำบริการของนักวิชาการไปสู่ประชาชนและกระตุ้นให้ประชาชนไปหานักวิชาการเพื่อรับบริการตามความต้องการโดยเหมาะสม 3.3 พัฒนากรจะเป็นผู้เชื่อมประสานงานระหว่างนักวิชาการกับประชาชน 4. ประหยัด (Economy oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้อง 4.1 ให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองเป็นหลัก รัฐบาลช่วยเหลือในสิ่งซึ่งเกินความสามารถของประชาชนเท่านั้น 4.2 ในการจัดทำกิจกรรมพัฒนาต่าง ๆ พยายามนำทรัพยากรในชุมชนทั้งในด้านกำลังคนและวัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 4.3 ทุกฝ่ายร่วมกันคิดและวางแผนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมไว้ล่วงหน้าจึงจะทำให้ประหยัดแรงงาน เวลา วัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน มีอีกด้านล่างครับ |
Page : 1
แสดงความคิดเห็น