รูปที่ ๑ การใช้คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ หมายถึง คำพิเศษพวกหนึ่งซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมแก่ชั้นของบุคคล ไม่เฉพาะแก่พระราชาเท่านั้น ชั้นของบุคคลที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ จำแนกออกเป็น 5 ชั้น คือ
๑. พระราชา
๒. เจ้านาย หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
รูปที่ ๒ พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน
๓. พระภิกษุสามเณร
รูปที่ ๓ พระภิกษุสามเณร
๔. ขุนนางมียศและบรรดาศักดิ์
๕. สุภาพชน หมายถึง บุคคลทั่วไปนอกจาก ๔ ประเภทดังกล่าว
คำราชาศัพท์ต่าง ๆ ที่ควรทราบ
๑. การใช้คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย ในการกราบบังคมทูลอย่างเป็นทางการ
๑.๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
๑.๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองพระบาท
คำลงท้าย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม หรือ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
๑.๓ สมเด็จเจ้าฟ้า หรือ พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ( สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภร-ณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
๑.๔ พระอนุวงศ์ขั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอและพระวรวงศ์เธอ (ทรงกรม) (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายา , พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ , พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา , พระเจ้า-หลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
คำขึ้นต้น กราบทูล...........(ออกพระนาม)....... ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ ชาย – เกล้ากระหม่อม หญิง – เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
๑.๕ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม)
คำขึ้นต้น ทูล..................(ออกพระนาม)...........ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ ชาย – กระหม่อม หญิง – หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
๑.๖ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
คำขึ้นต้น ทูล................ (ออกพระนาม)...............
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ ชาย – กระหม่อม หญิง – หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย แล้วแต่จะโปรด
๒. การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการเขียนหนังสือ
๒.๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ) ขอพระราชทานพระบรมราโชวาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำสรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)
๒.๒ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ) ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำสรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)
๒.๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบบังคมทูล....(ออกพระนาม)..... ทราบฝ่าละอองพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ...(ลงชื่อ)
๒.๔ สมเด็จเจ้าฟ้า
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบทูล............(ออกพระนาม)............. ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ...(ลงชื่อ)
๒.๕ พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
คำขึ้นต้น ขอประทานกราบทูล...(ออกพระนาม).........ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ...(ลงชื่อ)
๒.๖ พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม) และ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ที่ทรงกรม)
คำขึ้นต้น กราบทูล.......(ออกพระนาม).... ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) เกล้ากระหม่อม (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
๒.๗ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม)
คำขึ้นต้น ทูล...........(ออกพระนาม)..........ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) กระหม่อม (หญิง) หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
๒.๘ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
คำขึ้นต้น ทูล...........(ออกพระนาม)..........
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) กระหม่อม (หญิง) หม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย แล้วแต่จะโปรด
๒.๙ สมเด็จพระสังฆราช
คำขึ้นต้น กราบทูล.................................
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) เกล้ากระหม่อม (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
๒.๑๐ สมเด็จพระราชาคณะ และ รองสมเด็จพระราชาคณะ
คำขึ้นต้น นมัสการ..................................
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) กระผม ( หญิง ) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒ – พระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
๒.๑๑ พระราชาคณะ
คำขึ้นต้น นมัสการ..................................
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) ผม ( หญิง ) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒ – พระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
๒.๑๒ พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
คำขึ้นต้น นมัสการ.....................................
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – (ชาย) ผม (หญิง) ดิฉัน
บุรุษที่ ๒ – ท่าน
คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพ
๒.๑๓ ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร และประธานศาลฏิกา
คำขึ้นต้น กราบเรียน.....................................
สรรพนาม บุรุษที่ ๑ – ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน
บุรุษที่ ๒ – ท่าน
คำลงท้าย ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
https://sites.google.com/site/thailandlearning/page6