IMF มีมติบรรจุ “หยวน” เข้าตะกร้าสกุลเงินหลัก มีผลอะไรบ้าง ?
- คณะกรรมการบริหารกองทุน IMF มีมติเมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) ให้เงินหยวนของจีน เข้าตะกร้าสกุลเงินหลักได้ โดยจะมีผลในวันที่ 1 ต.ค. 2016
- ชื่อทางการของเงินหยวน คือ Renminbi แปลว่า “เงินของประชาชน”
- หลังวันที่ 1 ต.ค. 2016 ตะกร้าสกุลเงินหลักจะประกอบด้วย US Dollar 41.73%, Euro 30.93%, Renminbi 10.92%, Yen 8.33%, British Pound 8.09% สังเกตว่า เงินหยวนเข้ามาก็ “ใหญ่” เลย เป็นอันดับ 3 เหนือเยนและปอนด์
- การเข้ามาของหยวน เป็นการ “แย่ง” น้ำหนักจากเงิน Euro แบบเต็มๆ เพราะปัจจุบัน Euro มีน้ำหนัก 37.4% หลังมีหยวนในตะกร้า น้ำหนักของสกุล Euro เหลือ 30.93% เท่านั้น
- การเปลี่ยนแปลงตะกร้าสกุลเงินหลัก (Special Drawing Rights หรือ SDR Basket) นี่ไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อยๆ นะครับ ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1999 โน่น ซึ่งเป็นการเอาสกุลเงินมาร์คเยอรมันและฟรังก์ฝรั่งเศสออก แล้วเอาสกุลยูโรใส่ไปแทนที่
- คณะกรรมการชุดนี้ประชุมทุก 5 ปี ครั้งก่อนเมื่อปี 2010 ก็ปฏิเสธการรับสกุลหยวนเข้าตะกร้า อ้างว่าคุณสมบัติยังไม่ครบถ้วน แต่ในระยะหลัง ความนิยมใช้สกุลเงินหยวนมีมากขึ้น ทางการจีนเองก็ทำทุกวิถีทางเพื่อดันให้ IMF อนุมัติให้ได้ ทั้งการเร่งปฏิรูปการเงิน และการผ่อนคลายให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น ซึ่งเรื่องปฏิรูปนี้จีนไม่ได้เพิ่งทำ แต่ทำมานานกว่า 20 ปี
- ผลกระทบกับจีน => จีนจะได้ประโยชน์มาก เพราะจีนมีการค้าขายและการลงทุนกับต่างประเทศมากขึ้นเยอะ จากเดิมที่ต้องชำระเงินด้วยดอลล่าร์ ก็สามารถเลือกชำระเป็นหยวนได้ ภาครัฐและเอกชนของจีนสามารถออกพันธบัตรสกุลหยวนขายในตลาดโลกได้ นักลงทุนต่างชาติก็สามารถเข้าซื้อพันธบัตรของจีนได้มากขึ้น (ปัจจุบันต่างชาติถือพันธบัตรจีนเพียง 2.4%)
- ผลกระทบกับค่าเงินหยวน => ในระยะสั้นคงมีไม่มาก เพราะการยืดเวลาไปมีผลเดือน ต.ค. 2016 ก็เพื่อให้สถาบันการเงินต่างๆ มีเวลาเตรียมระบบรองรับสกุลเงินหยวน โดยคาดว่าเงินหยวนจะถูกเปิดให้เคลื่อนไหวในกรอบกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องในปี 2016 แต่คงไม่รุนแรงมากนัก
- ผลกระทบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ => ปัจจุบันทุนสำรองเงินตราของธนาคารกลางทั่วโลกมีมูลค่ารวม 424 ล้านล้านบาท อยู่ในสินทรัพย์สกุลดอลล่าร์มากถึง 64% เป็นหยวนเพียง 1% แต่หลังจาก 1 ต.ค. 2016 เป็นต้นไป เราจะเห็นธนาคารกลางต่างๆ ลดสัดส่วนทุนสำรองในรูปดอลล่าร์ แล้วเปลี่ยนเป็นหยวนมากขึ้น ธนาคารกลางจีนเองก็มีทุนสำรองมหาศาล ที่ผ่านมาก็เก็บเป็นดอลล่าร์ซะเยอะ ต่อจากนี้ไปก็สามารถเก็บเป็นสกุลอื่นได้มากขึ้น
- ผลกระทบกับตลาดหุ้นจีน => มีความเป็นไปได้ที่การรับหยวนเข้าตะกร้าเงินจะช่วยให้ตลาดหุ้น A Shares ของจีนเปิดตัวเองกับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น จะอาจส่งผลให้ A Shares เข้าไปอยู่ในดัชนี MSCI Emerging Market Index ซะที ซึ่งถ้าทำได้จะเป็นเรื่องใหญ่และเป็นข่าวดีของตลาดหุ้นจีนมาก เพราะมีกองทุนมูลค่ารวม 61 ล้านล้านบาทที่ลงทุนตาม MSCI EM คาดว่าตลาดหุ้นจีนน่าจะมีน้ำหนัก 20% ของดัชนี ซึ่งแปลว่าเงินลงทุนจำนวน 12 ล้านล้านบาท เตรียมไหลเข้าตลาดหุ้นจีนในอนาคต
โดย วิน พรหมแพทย์, CFA
Chief Investment Officer (CIO)
CIMB-Principal Asset Management Co. Ltd.
http://www.cimb-principal.co.th
*** คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ***
Win Phromphaet’s comments, opinions and analyses are his personal views and are intended to be for informational purposes and general interest only and should not be construed as individual investment advice or a recommendation or solicitation to buy, sell or hold any security or to adopt any investment strategy. It does not constitute legal or tax advice. The information provided in this material is rendered as at publication date and may change without notice and it is not intended as a complete analysis of every material fact regarding any country, region, market or investment. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the viewer. Please consult your own professional adviser before investing.
IMF มีมติบรรจุ “หยวน” เข้าตะกร้าสกุลเงินหลัก มีผลอะไรบ้าง ?
- คณะกรรมการบริหารกองทุน IMF มีมติเมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) ให้เงินหยวนของจีน เข้าตะกร้าสกุลเงินหลักได้ โดยจะมีผลในวันที่ 1 ต.ค. 2016
- ชื่อทางการของเงินหยวน คือ Renminbi แปลว่า “เงินของประชาชน”
- หลังวันที่ 1 ต.ค. 2016 ตะกร้าสกุลเงินหลักจะประกอบด้วย US Dollar 41.73%, Euro 30.93%, Renminbi 10.92%, Yen 8.33%, British Pound 8.09% สังเกตว่า เงินหยวนเข้ามาก็ “ใหญ่” เลย เป็นอันดับ 3 เหนือเยนและปอนด์
- การเข้ามาของหยวน เป็นการ “แย่ง” น้ำหนักจากเงิน Euro แบบเต็มๆ เพราะปัจจุบัน Euro มีน้ำหนัก 37.4% หลังมีหยวนในตะกร้า น้ำหนักของสกุล Euro เหลือ 30.93% เท่านั้น
- การเปลี่ยนแปลงตะกร้าสกุลเงินหลัก (Special Drawing Rights หรือ SDR Basket) นี่ไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อยๆ นะครับ ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1999 โน่น ซึ่งเป็นการเอาสกุลเงินมาร์คเยอรมันและฟรังก์ฝรั่งเศสออก แล้วเอาสกุลยูโรใส่ไปแทนที่
- คณะกรรมการชุดนี้ประชุมทุก 5 ปี ครั้งก่อนเมื่อปี 2010 ก็ปฏิเสธการรับสกุลหยวนเข้าตะกร้า อ้างว่าคุณสมบัติยังไม่ครบถ้วน แต่ในระยะหลัง ความนิยมใช้สกุลเงินหยวนมีมากขึ้น ทางการจีนเองก็ทำทุกวิถีทางเพื่อดันให้ IMF อนุมัติให้ได้ ทั้งการเร่งปฏิรูปการเงิน และการผ่อนคลายให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น ซึ่งเรื่องปฏิรูปนี้จีนไม่ได้เพิ่งทำ แต่ทำมานานกว่า 20 ปี
- ผลกระทบกับจีน => จีนจะได้ประโยชน์มาก เพราะจีนมีการค้าขายและการลงทุนกับต่างประเทศมากขึ้นเยอะ จากเดิมที่ต้องชำระเงินด้วยดอลล่าร์ ก็สามารถเลือกชำระเป็นหยวนได้ ภาครัฐและเอกชนของจีนสามารถออกพันธบัตรสกุลหยวนขายในตลาดโลกได้ นักลงทุนต่างชาติก็สามารถเข้าซื้อพันธบัตรของจีนได้มากขึ้น (ปัจจุบันต่างชาติถือพันธบัตรจีนเพียง 2.4%)
- ผลกระทบกับค่าเงินหยวน => ในระยะสั้นคงมีไม่มาก เพราะการยืดเวลาไปมีผลเดือน ต.ค. 2016 ก็เพื่อให้สถาบันการเงินต่างๆ มีเวลาเตรียมระบบรองรับสกุลเงินหยวน โดยคาดว่าเงินหยวนจะถูกเปิดให้เคลื่อนไหวในกรอบกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องในปี 2016 แต่คงไม่รุนแรงมากนัก
- ผลกระทบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ => ปัจจุบันทุนสำรองเงินตราของธนาคารกลางทั่วโลกมีมูลค่ารวม 424 ล้านล้านบาท อยู่ในสินทรัพย์สกุลดอลล่าร์มากถึง 64% เป็นหยวนเพียง 1% แต่หลังจาก 1 ต.ค. 2016 เป็นต้นไป เราจะเห็นธนาคารกลางต่างๆ ลดสัดส่วนทุนสำรองในรูปดอลล่าร์ แล้วเปลี่ยนเป็นหยวนมากขึ้น ธนาคารกลางจีนเองก็มีทุนสำรองมหาศาล ที่ผ่านมาก็เก็บเป็นดอลล่าร์ซะเยอะ ต่อจากนี้ไปก็สามารถเก็บเป็นสกุลอื่นได้มากขึ้น
- ผลกระทบกับตลาดหุ้นจีน => มีความเป็นไปได้ที่การรับหยวนเข้าตะกร้าเงินจะช่วยให้ตลาดหุ้น A Shares ของจีนเปิดตัวเองกับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น จะอาจส่งผลให้ A Shares เข้าไปอยู่ในดัชนี MSCI Emerging Market Index ซะที ซึ่งถ้าทำได้จะเป็นเรื่องใหญ่และเป็นข่าวดีของตลาดหุ้นจีนมาก เพราะมีกองทุนมูลค่ารวม 61 ล้านล้านบาทที่ลงทุนตาม MSCI EM คาดว่าตลาดหุ้นจีนน่าจะมีน้ำหนัก 20% ของดัชนี ซึ่งแปลว่าเงินลงทุนจำนวน 12 ล้านล้านบาท เตรียมไหลเข้าตลาดหุ้นจีนในอนาคต
โดย วิน พรหมแพทย์, CFA
Chief Investment Officer (CIO)
CIMB-Principal Asset Management Co. Ltd.
http://www.cimb-principal.co.th
*** คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ***
Win Phromphaet’s comments, opinions and analyses are his personal views and are intended to be for informational purposes and general interest only and should not be construed as individual investment advice or a recommendation or solicitation to buy, sell or hold any security or to adopt any investment strategy. It does not constitute legal or tax advice. The information provided in this material is rendered as at publication date and may change without notice and it is not intended as a complete analysis of every material fact regarding any country, region, market or investment. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the viewer. Please consult your own professional adviser before investing.