ความหมายของ 4 M ความหมายของ 7 S และ ความหมายของ 5 Forces Model
เว็บมาสเตอร์ |
ความหมายของ 4 ‘ M 1.บุคลากรหรือคน (Man) เป็นผู้ที่ปฏิบัติภารกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา 2.เงินหรืองบประมาณ (Money) เป็นงบประมาณที่นำมาใช้ในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 3.วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) หมายถึง วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้หรือสิ่งของที่นำมาใช้ผลิตและบริการรวมถึงอาคารสถานที่ (4.)การจัดการ (Management) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ เช่น การบังคับบัญชา การกำหนดขอบข่ายงาน (Job Description) อำนาจหน้าที่ ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน การกำหนดเวลาที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ความหมายของ 7 ‘ S 1. กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน ของกิจการ 2. โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ 3. ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ 4. รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ 5. การจัดการบุคคลเข้าทำงาน (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลกรอย่างต่อเนื่อง 6. ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย การให้บริการ 7. ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความหมายของ 5 Forces Model 1. วิเคราะห์สภาวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม - จำนวนคู่แข่ง และความสามารถในการแข่งขัน (Market Structure) - ความเจริญเติบโตของ Demand l - ความแตกต่างของสินค้า Product Differences - กำลังการผลิตส่วนเกิน - ต้นทุนคงที่ของอุตสาหกรรม - ต้นทุนในการเก็บรักษา - อุปสรรคกีดขวางการออกจากธุรกิจ Sunk Cost, การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร และโรงงานไปทำการผลิตสินค้าอื่น กระทำได้ยาก, ความผูกพันทางจิตใจ, หน้าตา และชื่อเสียง, ผลกระทบโดยรวมของธุรกิจทั้งหมด (ความต่อเนื่อง) , ข้อตกลงกับ สหภาพแรงงาน 2. วิเคราะห์คู่แข่งรายใหม่ Barrier to Entry อุปสรรคกีดขวางการเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ง่ายหรือยาก ซึ่งได้แก่ - การประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) - ความแตกต่างของสินค้า (Product Differentiation) หรือความภักดีต่อยี่ห้อ (Brand Royalty - เงินลงทุน (Capital Requirements) - การเข้าถึงช่องทางในการจัดจำหน่าย (Access to distribution Channel) - นโยบายของรัฐบาล (Government Policy) รวมถึงสัมปทาน และใบอนุญาตต่าง ๆ - ต้นทุนแฝงในการเปลี่ยนแปลงสินค้าที่ใช้ (Switching Cost) - ข้อได้เปรียบในเรื่องของการเป็นเจ้าของเทคโนโลยี่ ประสิทธิผลที่ได้จากการเรียนรู้ การป้องกัน หรือการตอบโต้จากคู่แข่งเดิมในตลาดอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ อาจศึกษาจากพฤติกรรมของคู่แข่งเดิมในตลาด ที่เคยทำในการตอบโต้การเข้าตลาดซึ่งการป้องกันจากผู้คู่แข่งเดิม อาจทำโดย การใช้การตัดราคา ซึ่งพบว่า ถ้าตลาดค่อนข้างอิ่มตัว หรือโตช้า ผู้แข่งเดิม มักจะตอบโต้อย่างรุนแรง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ซึ่งตรงข้ามกับตลาดสินค้าที่ยังเติบโต ซึ่งไม่ค่อยมีการตัดราคารุนแรง 3. วิเคราะห์สินค้าทดแทน - ความยืดหยุ่นในการทดแทนกันของสินค้า - ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สินค้าทดแทน - ระดับความจงรักภักดีในสินค้า - ระดับราคาสินค้าทดแทน และคุณสมบัติในการใช้งานของสินค้าทดแทน - วิเคราะห์อำนาจต่อรองของลูกค้า - ปริมาณการซื้อที่มาก ทำให้ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองสูง - ข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้า ที่ผู้ซื้อทราบยิ่งมีมาก ก็ยิ่งมีอำนาจในการต่อรองสูง - Brand Royalty - การรวมตัวของกลุ่มผู้ซื้อ ยิ่งมาก อำนาจในการต่อรองยิ่งมาก - ยิ่งความสามารถของผู้ซื้อ ที่อาจจะไปผลิตสินค้าเอง หรือความสามารถรวมกิจการไปข้างหลัง (Backward Integration) ได้ดีเท่าไร อำนาจต่อรองก็สูง - ยิ่งต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้าคู่แข่งอื่น ต่ำเพียงไร อำนาจในการต่อรองยิ่งสูง 5. วิเคราะห์อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ - จำนวนผู้ขายวัตถุดิบ ยิ่งน้อยราย ทำให้ Suppliers มีอำนาจต่อรองมากขึ้น และสัดส่วนที่ Suppliers นั้นขายให้เรายิ่งน้อย อำนาจในการต่อรองยิ่งเพิ่มขึ้น - การรวมตัวของ Suppliers ยิ่งมาก อำนาจต่อรองของ Suppliers ยิ่งมาก - จำนวนแหล่งวัตถุดิบ หรือวัตถุดิบที่มียิ่งน้อย อำนาจต่อรองของ Suppliers ยิ่งมาก - ความแตกต่าง และความเหมือนของวัตถุดิบ ยิ่งมาก ทำให้อำนาจต่อรองของ Suppliers ยิ่งมาก ยิ่งถ้า Supplier นั้นเป็นผู้ผลิตรายเดียว ยิ่งทำให้เขามีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ที่มาhttp://moohmome.blog.com/2011/03/06/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-4-%E2%80%98-m-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82/ |