http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,157,910
เปิดเพจ6,303,424

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

รวมคำบรรยายแนวข้อสอบคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

รวมคำบรรยายแนวข้อสอบคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม
ลองดูเผื่อใช้ประโยชน์ได้

กดตรงลิ้งนี้

http://pun2013.bth.cc/webboard/forum-view-107104


http://download-picture.wunjun.com/1/

 

 

 

 รายงาน 

   PS 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองไทย 

   รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยชนะ อิงคะวัติ 

   วันศุกร์ที่ 5 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2554
   **********************************

   

   โหลดเอกสารดังกล่าว

http://www.4shared.com/document/ymW1se25/_PS_712__.html

******************************************************************************************************************************************************

QuizPS 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยชนะ อิงคะวัติวันเสาร์ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2554



 โหลด QUIZ ได้ที่นี่
   http://www.4shared.com/document/2K91xjgl/Quiz_PS_712_.html

   

                 
     กระดาษตอบ QUIZ ของอำนาจเจริญ

 
 
http://www.4shared.com/document/3s-FFM3F/_QUIZ.html
      
      
      กระดาษ Quiz ที่เป็น word แก้ไขได้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกเครือข่าย
      โหลดตรงนี้

      http://www.4shared.com/document/-3l87P-w/_Quiz.html
      

 

 

*************************************************************************************

Quiz

Ps 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองไทย

รศ.สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554


โหลดได้ที่นี่


   http://www.4shared.com/document/sAxt_Kgf/Quiz_Ps_712_.html

   กระดาษตอบ QUIZ ของอำนาจเจริญ

 
 
http://www.4shared.com/document/3s-FFM3F/_QUIZ.html
      
      
      กระดาษ Quiz ที่เป็น word แก้ไขได้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกเครือข่าย
      โหลดตรงนี้

      http://www.4shared.com/document/-3l87P-w/_Quiz.html
      

 

***********************************************************************************

 

 

 

คำบรรยายเก่าๆชุดที่ 1

http://www.4shared.com/file/tNGACbtm/PS_712.html

คำบรรยายเก่าๆชุดที่ 2

http://www.4shared.com/file/AMb2R5jq/PS712_2.html

คำบรรยายเก่าๆชุดที่ 3

http://www.4shared.com/file/vgfxIkYD/PS712.html



คำบรรยายเก่่าๆ

   Ps 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองไทย

  : ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ *************************************************************************

ชุดที่ 1
http://www.4shared.com/file/9-rdxT-k/712_Wut.html

ชุดที่ 2
http://www.4shared.com/file/fJoew4U6/712_Wuttsak___.html


และ Quiz
Quiz ของอ.วุฒิศักดิ์สอนที่ตรัง เมื่อวันที่  6  สิงหาคม 2554
สังคมไทยมีรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง
รูปแบบใดมากที่สุด อธิบายและลักษณะดังกล่าวสะท้อน
ให้เห็นถึงพัฒนาการทางการเมืองของไทยหรือไม่อย่างไร

*********************************************************************************************


    ขอเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปัน

คำบรรยายวิชา PS 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของมหาชนไทย 

Public Participation in Thai Politics

ดร.ชัยชนะ  อิงคะวัต วันที่ 5  สิงหาคม พ.ศ. 2554

        วิชา PS  712  ให้นักศึกษาทำรายงานหัวข้อ “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554”  ความยาว 10 หน้ากระดาษ A 4 เขียนด้วยลายมือ  ***กำหนดส่งวันที่ 3 กันยายน 2554****ส่งที่คุณไพฑูรย์  บุญสระ บัณฑิต อาคารท่าชัย ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

          จริง ๆแล้วการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.นั้นเป็นเพียงวันเลือกตั้ง แต่กระบวนการศึกษารัฐศาสตร์จะต้องดูกระบวนการทางการเมืองด้วย กระบวนการทางการเมืองอาจจะมาก่อนวันเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้ง หรือหลังวันเลือกตั้งว่าผลจะเป็นอย่างไร หรือจากผลที่เป็นเช่นนี้จะนำไปสู่การเป็นอย่างไร

          ข้อแนะนำของอาจารย์เกี่ยวกับหัวข้อการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. 2554 นักศึกษาอาจจะเลือกประเด็นต่อไปนี้...

          -ความขัดแย้งในทางการเมืองไทยก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554

          -การเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. อาจเป็นหนทางในการยุติความขัดแย้งอย่างไร

          การเขียนบทความ  ต้องเริ่มด้วย....

          1. บทนำ (Describe)  ยกสภาพความเป็นมาให้เห็นชัดซึ่งสภาพปัญหา เป็นการอธิบายเกริ่นนำถึงสภาพต่าง ๆ

          2.การวิเคราะห์ (Analyze)

          3.สรุปและเสนอแนะ (Prescribe)

          เกณฑ์การวัดผล 

          1.คะแนนการเข้าชั้นเรียน                10                คะแนน

          2.รายงาน                                   20                คะแนน

          3.การทดสอบในชั้นเรียน                  30                คะแนน

          4.คะแนนสอบไล่                           40                คะแนน

                             รวม                        100             คะแนน

          ............เริ่มบรรยายเนื้อหา.............

          1.พัฒนาการประชาธิปไตยของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (พัฒนาการจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์)

          -พัฒนาการของไทย 79 ปีประชาธิปไตย (เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2475 -2554) เป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก

          2.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Political change)

          3.มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับภาคประชาชนอย่างไร ?

          รัฐ-ชาติ (Nation –state) ประเทศไทยมีความเป็นรัฐ-ชาติในปีพ.ศ. 2435 (สมัยรัชกาลที่ 5) เพราะถ้าเราไม่มีความเป็นรัฐ-ชาติประชาธิปไตยก็ไม่เกิดและแล้วการมีส่วนร่วมภาคประชาชนก็ไม่เกิดเช่นกัน

          ลักษณะของการเป็นรัฐ – ชาติ ได้แก่

          1.ขอบเขตที่แน่นอน

          2.อำนาจอธิปไตย

          3.รัฐบาล

          4.ราษฎร  สมัยก่อนราษฎรของไทยอยู่ตามชนบท ไกลปืนเที่ยง(ไม่เหมือนราษฎรในปัจจุบัน) มีระบบทาส ใช้ระบบการปกครองแบบเวียง  วัง  คลัง  นา ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบเทศาภิบาล (กระทรวง ทบวง กรม) ในปี 2535

          ความเป็นรัฐ -ชาติของประเทศ  ASEAN 10  ได้แก่ 

          -สิงคโปร์มีพัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน  46 ปี  (ตั้งแต่ปี 1965)

          -มาเลเซียมีพัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน  57  ปี  (ตั้งแต่ปี 1963)

          จะเห็นว่าความเป็นรัฐ-ชาติเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาคประชาชนและพัฒนาการมาสู่การเข้ามามีส่วนในการเมืองการปกครอง

          ปัญหาและอุปสรรคประชาธิปไตยไทย 

          1.รัฐประหาร ประเทศไทยเกิดรัฐประหาร 13-14 ครั้ง เพราะอำนาจทหารยังปรากฏในสังคมไทยในปัจจุบัน จึงมีคำถามว่า...

          (1) จะมีรัฐประหารเกิดขึ้นอีกหรือไม่?” คำตอบคือใคร ๆก็ตอบไม่ได้

          (2) เมืองไทยมีเสถียรภาพทางการเมืองหรือไม่ ?

          (3)อะไรคือหลักสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน ?  

          หลักสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน ได้แก่

          (ก) รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) เป็นกรอบลัทธิทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎกติกาที่ให้อำนาจประชาชนที่ให้เข้ามามีส่วนในทางการเมืองการปกครอง

          *คำว่า   ism : นิยม เกิดขึ้นในศตวรรษที่  15  เมื่อเกิดรัฐ-ชาติในยุโรป  (รัฐ-ชาติของสังคมไทยตั้งแต่ปี 2535 เป็นการเลียนแบบมาจากสังคมตะวันตก) จึงเกิดพัฒนาการประชาธิปไตยและเกิดรัฐธรรมนูญนิยม  

          ค.ศ. 1787 สหรัฐฯมีรัฐธรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษร  จริง ๆฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 เพราะฉบับที่หนึ่งตกลงกันไม่ได้ในเรื่องของวุฒิสมาชิก(ส.ว.) เพราะช่วงแรกส.ว.เสนอให้มีรัฐใหญ่มีผู้แทนมากกว่ารัฐเล็ก  รัฐเล็กก็ไม่ยอม ตกลงกันไม่ได้ จึงฉีกทิ้งไป  ท้ายที่สุดจึงมาร่างกันใหม่โดยให้ทุกรัฐทั้งรัฐเล็กและรัฐใหญ่มีส.ว.เท่ากันคือรัฐละ 2 คน  ปัจจุบันสหรัฐฯมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 235  ปี (4 ก.ค.) 

          รัฐธรรมนูญสหรัฐฯปี 1787 มีเพียงแค่ 7 มาตราเท่านั้น และได้พูดถึงสัญญาระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร(ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี)มีอำนาจอะไรบ้าง และอำนาจตุลาการ  ตัวอย่างเช่น สภาคองเกรสอนุมัติเงินให้กับประธานาธิบดีบารัค  โอบาม่า ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเพื่อนำไปทำงานได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญอเมริกาเขียนถึงเรื่องทหาร(เป็นหัวใจสำคัญ) รองลงมาคือเรื่องเงิน แต่การอนุมัติเงินต้องผ่านสภาคอง เกรส 

          ปัจจุบันเพดานหนี้ของอเมริกัน 14.3 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐฯ เป็นหนี้ทั่วโลกรวมทั้งค้าขายกับไทยก็ขาดทุนด้วย พูดง่าย ๆว่าต้องการขอเพิ่มอีก 2.4 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐฯ แต่การของเพิ่มวงเงินนั้นรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าต้องให้สภาเป็นผู้อนุมัติ แต่จะให้สภาไหนเป็นผู้อนุมัติ เพราะมี 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร กับ สภาวุฒิสภา

          *สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯมีทั้งหมด  435 คน เป็นตัวแทนของคนอเมริกัน คนอเมริกันต้องเสียภาษีให้กับรัฐ จึงมีการกำหนดอำนาจไว้ที่สภาผู้แทนราษฎร  ประชาชนต้องมีสิทธิโดยผ่านทางผู้แทน ในสภาผู้แทนราษฎรจะมีคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งชื่อ Ways & Means

          Tripler A เกี่ยวกับเครดิตของอเมริกา อเมริกันต้องการ 3A และต้องรักษาไว้ให้ได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ปูตินประธานาธิบดีรัสเซีย หรือแม้แต่จีนออกมาพูดว่าอเมริกาไม่สมควรที่จะได้ A นานแล้ว สมควรที่จะได้ D ลบด้วย แต่อเมริกาใช้อำนาจเงินคืออเมริกันดอลล่าห์  ซึ่งอำนาจในโลกนี้มีอยู่ 2 อำนาจ คือ อำนาจทหารและอำนาจเงิน  แต่อำนาจที่เป็นตัวเงินมันต้องการเครดิต เพราะระบบการเงินยุคใหม่เป็นระบบที่เป็นระบบ Visual Economy

          การที่อเมริกายังคงรักษา Tripler A  หมายความว่า อเมริกาดอลล่าห์ยังแข็งอยู่ ทำให้จีนเก็บตุนดอลล่าห์ไว้มาก ดังนั้นลักษณะของความสัมพันธ์ของเรื่องอำนาจเงินหมายความถึงว่า ดูดี เป็นเศรษฐกิจ แต่เป็นหนี้เขาเยอะ  เช่น คน จ.อุทัยที่อยู่ในตลาดแต่งตัวสบาย ๆสวมเสื้อยืด เป็นเจ้าของเงินกู้  ในขณะที่คนนครสวรรค์มากู้เงินคนอุทัยธานี นี่คือภาพของจริง/เงินจริง

          เคยมีลูกศิษย์ชวนอาจารย์ไปทานอาหารช่วงเมื่อ 10 ปีมาแล้วที่ร้านหรู ราคาแพง ระหว่างนั่งทางอาหารลูกศิษย์คนนั้นก็คุยให้อาจารย์ฟังว่าตอนนี้ตัวเขาเป็นหนี้อยู่ร้อยล้าน อาจารย์กลืนอาหารไม่ลงเลย แต่ลูกศิษย์คนนี้บอกอาจารย์ว่า อาจารย์ไม่ต้องกลัวหรอกเพราะเขาไม่ปล่อยให้ตัวผมล้มละลายหรอก เพราะถ้าตัวผมล้มละลายเขาก็จะไม่ได้สักบาท เขาก็ต้องให้ผมทำงานต่อ เมื่อผมทำงานได้ เขาก็ได้เงินคืน นี่คือระบบอเมริกา อเมริกาวันนี้ทำไมถึงจน

          อาจารย์อยากให้ข้อคิดว่าการเรียนทางรัฐศาสตร์ต้องประยุกต์ใช้กับชีวิตให้ได้ เช่น  เรียนเรื่องระบบการเมือง เดวิดกล่าวว่า การเมืองคือชีวิต ชีวิตทางการเมือง (Political life) หมายถึงคน ดังนั้นการเรียนรัฐศาสตร์สิ่งที่อาจารย์อยากฝากไว้ให้นึกถึงคน นึกถึงปากท้อง การกินอย่างแท้จริง เช่น กรณีคนอุทัยที่แต่งตัวสบาย ๆสวมเสื้อยืดกางเกงขาก๊วย แต่เป็นเจ้าของเงินกู้ คนทำโก้หรูต้องมากู้เงินคนอื่น ในทางของจริงเรื่องเงินในทางเศรษฐศาสตร์ ใช้คำว่า Real  Economy : ระบบเศรษฐกิจที่จับต้องได้ กินได้/ใช้ได้ทันที ประเทศไทยเป็นระบบเกษตรกรรม กินได้ทันที ในขณะที่สิงคโปร์ไม่มีอะไร แต่เก่งในเรื่องของเศรษฐกิจแบบ Visual เช่น ตลาดหุ้น  คนกลางขายน้ำมันทั่วโลก     

          สมัยอาจารย์ไปเรียนหนังสือในอเมริกาปี 1970 คนอเมริกันไม่มีบัตรเครดิต แต่คนอเมริกันมีเงินในกระเป๋าจริง ๆ (real economy) เปิดกระเป๋าออกมาถ้ารวยก็เห็นดอลล่าห์เลย  ใครอยากได้เงินก็ออกไปทำงานเดี๋ยวเดียวก็ได้เงินมา ฉะนั้นอเมริกาตอนนั้นมีกินมีใช้มาก และการมีกินมีใช้ไม่ใช่เฉพาะประเทศมั่งคั่งอย่างเดียว มีการผลิตรถยนต์ต่าง ๆ พร้อมทั้งไปเอาเปรียบประเทศอื่น ๆในทางความสัมพันธ์ตามทฤษฎี Independency ในปี 1970 ประเทศเล็ก ๆถูกดูดทรัพยากรเข้าไปอยู่ในอเมริกา คนอเมริกันก็เริ่มเป็นเศรษฐีใหม่ ฟุ่มเฟือย ต่อมาในปี 1971 คนอเมริกันเริ่มทำ Credit card ขึ้นมาใช้  Credit card ครั้งแรกคือ American standard  เป็นการใช้เงินล่วงหน้า เป็นหนี้เป็นสินกันตาม ๆ คนอเมริกันโดยเฉพาะผู้หญิงที่ถือกระเป๋าใบใหญ่ ๆเปิดมาไม่มีเงินในกระเป๋า จะมีแต่บัตรเครดิตทั้งนั้น (ปัจจุบันคนไทยเริ่มเข้าสู่แบบอเมริกาแล้ว เด็กหนุ่มเด็กสาวใช้เงินกันล่วงหน้าอย่างสนุกสนาน หารู้ไม่ว่านั่นคือความหายนะที่จะตามมาภายหลัง  สินค้าก็เริ่มมากขึ้น เพราะนายทุนต้องการให้ประชาชนใช้มากขึ้น)

          สหรัฐฯเคยเจ๋งในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน แต่ฟื้นมาอีกทีเพราะมีระบบไมโครซอร์ฟของคอมพิวเตอร์ออกมาช่วยไว้ จะเห็นว่าเครื่องมือเทคโนโลยีทันสมัยอย่างเช่น ไอพอด ,ไอแพดฯลฯ ล้วนมาจากอเมริกาทั้งสิ้น คอมพิวเตอร์ของอเมริกันมาจากทหาร กองทัพอเมริกันใหญ่มาก คิดเทคโนโลยีไว้ทั้งหมด จะให้ภาคธุรกิจมาทำการค้าบางตัว

          รัฐธรรมนูญนิยม  (Constitutionalism) มีเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับ...

          1) สัญญาประชาคม (Social contract) เป็นสัญญาที่ในสังคมตะวันที่เกิดขึ้นในภาคการปฏิบัติจริง ๆในปี 1789 คือ การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นประเทศแรกที่ประชาชนลุกฮือขึ้นมาล้มสถาบันกษัตริย์ที่มีอยู่เดิม และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐ (republic) เป็นรัฐของประชาชน (คืนกลับสู่ประชาชน)   

          2) รัฐธรรมนูญให้สิทธิแก่พลเมือง

          กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายใหญ่ ในทางวิชาการเรียกว่า กฎหมายมหาชน เพราะเป็นกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมดในประเทศ

          สรุป...จากการเป็นรัฐธรรมนูญสัญญาประชาคม รัฐธรรมนูญอเมริกันมีทั้งหมด 7 มาตราไม่ได้พูดถึงภาคประชาชนเลย จะเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนจะมีได้อย่างไร รัฐธรรมนูญอเมริกันมีการถกเถียงกันมาก มีคนหยิบยกขึ้นมาพูดว่ารัฐธรรมนูญปี 1787 ไม่มีสาระของความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นสาระของความเป็นประชาธิปไตยมาเริ่มที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญของอเมริกันข้อที่ 1 ทำให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพในเรื่องต่าง ๆได้ เช่น เดือนที่ผ่านรัฐนิวยอร์ก) ได้ประกาศให้พวกเกย์ สามารถแต่งงานกันได้ (เป็นรัฐที่ 6) เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามโดยที่รัฐธรรมนูญกำหนดรัฐธรรมนูญข้อที่ 1 เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้กรอบ จึงเป็นเงื่อนไขใช้อิงกับประชาธิปไตย 

          ฉะนั้นการมีส่วนร่วมจะต้องมองเห็นคน จากการที่ผู้หญิงอเมริกันก็มีสิทธิเสรีภาพและมีส่วนร่วมในทางการเมืองหลังจากมีรัฐธรรมนูญร้อยปี ทำให้เห็นสภาพสังคม  (ในขณะที่ประเทศไทยหลังปี 2475 หญิงและชายมีสิทธิทางการเมืองเท่าเทียม)กัน  

          คนผิวดำในอเมริกา เดิมอพยพมาจากแอฟริกาเข้ามาเป็นทาส เข้ามาทางภาคอีสานใต้ของอเมริกา  คนอเมริกันมีการค้าทาส ทาสเหล่านั้นไม่สิทธิทางการเมือง  ทาสในอเมริกันเป็นเพียงสิ่งของ/โต๊ะ/เก้าอี้ /ช้าง ม้า วัว ควาย มองทาสไม่ใช่คน (ต่างจากสังคมไทยที่มีสิทธิเสรีภาพมากมาย ทาสในไทยต่างจากทาสของอเมริกา สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง ใจกว้าง)

          นักศึกษาได้เรียนสังคมวิทยาการเมืองมาแล้วทำให้เข้าใจและเห็นภาพของมนุษย์ที่เหมือนอยู่ในที่เดียวกันแต่แตกต่างกันทั้งเศรษฐกิจ สังคม เพศ ผิวพรรณ  ฯลฯ ทำให้เห็นถึงการรังเกียจเดียดฉันท์ต่าง ๆ ปัจจุบันบารัคมีปัญหาอย่างหนักไม่เพียงแค่เป็นประธานาธิบดีฝ่ายตรงข้าม แต่ยังมีลักษณะการรังเกียจเดียดฉันท์ในตัวบารัคเองด้วย จึงทำให้เกิดกลุ่มขวาจัด (T-party)ขึ้นมา ดังนั้นความหมายประชาธิปไตยที่พูดอาจารย์อยากให้นักศึกษาลงไปสู่สาระของความเป็นจริง แล้วเราก็จะเห็นภาพของสังคมมากกว่าที่เรียนเป็นตัวหนังสือ เราต้องเจาะไปถึงความเป็นจริง

          *คนผิวดำในอเมริกามีสิทธิครั้งแรก ๆคือ สองคนครึ่งมีเสียงหนึ่งเสียง (5 คนมีเพียง 2 เสียง) ดังนั้นเมื่อเปิดโอกาสให้คนผิวสี/ผิวดำมีสิทธิในการเลือกตั้งและมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง จึงขยายสิทธิเลือกตั้งออกไปมาก จึงทำให้มีคนเข้ามามีส่วนร่วมมาก

          ในสังคมอังกฤษ ส.ว. จะเกิดก่อน ส.ส. ซึ่งส.ว.คือขุนนาง เป็นผู้ที่มีอำนาจและมีเงิน  เพราะว่ากษัตริย์มอบที่ดินให้ แล้วทำมาหากินจากที่ดิน พร้อมทั้งมีข้าทาสบริวาร นี่คือเหตุที่ทำให้สภาขุนนางเกิดในอังกฤษเกิดขึ้นก่อน ในขณะที่ราษฎรธรรมดา/ชาวบ้านไม่โอกาส และคนเหล่านี้กว่าจะมีสิทธิเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง กว่าจะได้เป็นส.ส.ของราษฎรนั้นแทบตาย เพราะทั้ง ส.ว.เริ่มกีดกัน บางครั้งมีนักเลงขู่บังคับ ใช้อำนาจมืด        จะเห็นว่านักรัฐศาสตร์จะอ่านรัฐธรรมนูญต่างจากนักนิติศาสตร์ เพราะนักนิติศาสตร์จะอ่านตามบรรทัด ดูตีความในข้อกฎหมาย แต่นักรัฐศาสตร์ดูหลักการเมืองการปกครองเป็นหลัก  แต่สังคมไทยเป็นสังคมนักกฎหมายมักจะอ่านตามบรรทัด  เช่น รัฐธรรมนูญปี 40 บอกว่าคนที่เป็นส.ส.จะต้องจบปริญญาตรี คนที่ไม่จบปริญญาตรีไม่มีสิทธิเป็นส.ส. ถ้ามองในแง่ของการมีส่วนร่วมจะต้องตัดคนที่ไม่จบปริญญาตรีออกไปส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีสิทธิไปเป็นผู้แทน  แต่อย่างไรก็ตามถ้ามองว่าคนที่จบปริญญาตรีจะเป็นผู้แทนได้ดีกว่าคนที่ไม่จบปริญญาตรีหรือไม่ และความรู้จบปริญญาตรีที่มีอยู่เชื่อมโยงกับความรู้ในการเป็นผู้แทนหรือไม่ ซึ่งใครก็ตอบไม่ได้  แม้แต่อาจารย์ที่จบปริญญาเอกก็ไม่สามารถเป็นผู้แทนได้ดีเหมือนกับครูประยงค์หรือกำนันจุนที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน ทั้ง ๆที่ท่านไม่ได้จบปริญญาตรีด้วย แต่เขาสามารถเป็นตัวแทนประชาชนได้ดี  จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40 นี้อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดคุณสมบัติของการเป็นผู้แทนในประเด็นนี้เพราะว่าชาวบ้านที่ยากจนมีโอกาสเรียนหนังสือหรือไม่ แล้วตัดเขาออกจากสังคม ไม่ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นผู้แทน (ทั้ง ๆที่ประเทศอื่น ๆอย่างเช่นอเมริกา,อังกฤษไม่ได้กำหนดคุณสมบัติด้านการศึกษาต่อการเป็นผู้แทนประชาชน) ดังนั้นสิทธิพื้นฐานของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญในสังคมต่อไป

          ประชาธิปไตยแบบจีน เป็นประชาธิปไตยของประชาชน (People ‘s Democracy) ผ่านทางพรรคคอมมิวนิสต์ ในจีนมีพรรคการเมือง 7-8 พรรค แต่พรรคที่เรียกว่า rulink party มีเพียงพรรคเดียว อาจารย์ทำนายได้ว่าเมื่อจีนพัฒนาเศรษฐกิจถึงจุดนี้แล้ว ต่อไปจีนต้องเปิดเรื่องการมีส่วนร่วมในแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ไม่เช่นนั้นสังคมจีนอยู่ไม่ได้(เครื่องพัง) เพราะคนจีนในปัจจุบัน คนจีนที่รวยก็รวยจริง ขับขี่/นั่งรถเบนซ์รุ่นเอสคลาส  มีสิทธิในเรื่องของทรัพย์สิน จึงเกิดข้อแตกต่างกับคนจีนที่อยู่ในอินแลนด์และอยู่ในบริบทของสังคมนิยม โดยรัฐมอบที่ดินให้เขาทำ รัฐก็ช่วยประกันต่าง ๆคนเหล่านี้มีความรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง

          * Vote  No : ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่เลือกใคร ถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง รุสโซ ได้เขียนเรื่องสัญญาประชาคม (The social contract) ต้องชัดเจนในเรื่องของปัจเจกบุคคล (Individuals) เป็นหน่วยในการวิเคราะห์  ปัจเจกบุคคลต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน และแต่ละปัจเจกบุคคลต่างมีวิญญาณ(wills)ของแต่ละคน เช่น นักศึกษาชอบคุณยิ่งลักษณ์ ก็เป็น willsของนักศึกษาพร้อมทั้งมีเหตุผลประกอบ เช่น เป็นญาติคุณทักษิณ ,อยากได้นายกฯหญิงคนแรก ,มีเงิน  ฯลฯ คนในประเทศมีหลายล้านคนก็จะมี wills หลายล้าน wills เรียกว่า general will  หลักการของประชาธิปไตยคือเสียงข้างมาก (majority rule) การมี wills ของแต่ละคนประชาธิปไตยถือว่าเป็นสิทธิของคน ๆนั้นที่เขาจะเลือกหรือไม่เลือก เพราะประชาธิปไตยถือกฎทางเลือก (Choice)

          รุสโซไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมาก แต่รุสโซชอบประชาธิปไตยทางตรง   

          *   ส่วน No Vote : ไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นอนหลับทับสิทธิ

          ข. พรรคการเมือง (political party) 

          1) พรรคการเมือง ทำหน้าที่ ระดมสรรพพลัง (mobilization) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองและประชาธิปไตย

          2) พรรคสร้างอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นสร้างความเชื่อในระบบประชาธิปไตย

          3) พรรคการเมืองทำหน้าที่ในการสร้างนโยบายเพื่อประชาชน

          4) พรรคการเมืองสร้างกฎเหล็กของประชาธิปไตย

          5) พรรคการเมืองสร้างการสื่อสารทางการเมือง

          6) พรรคการเมืองสร้างเอกภาพในสังคม  สร้างจริงหรือไม่ เช่น พรรคอัมโนในมาเลเซีย

 

*********************************

คำบรรยายวิชา PS 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของมหาชนไทย 

Public Participation in Thai Politics

ดร.ชัยชนะ  อิงคะวัต วันที่ 6  สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภาคเช้า

 

คำถาม : ทำไมเราต้องศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ?

          1.ลัทธิประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับ “ปัจเจกชน (individuals) /ปัจเจกชนนิยม (individualism)”  

          ปัจเจกชน (individuals) ถือเป็นหน่วยของการวิเคราะห์  ประชาธิปไตยต้องการการออกเสียงของคนหนึ่งคน(ปัจเจกชน) แต่เมื่อคนหนึ่งคนมารวมกันเยอะ ๆก็จะกลายเป็นการอยู่ร่วมกัน 

          ปัจเจกชนนิยม (individualism) เปรียบเหมือนอะตอมที่มีความเป็นอิสระ  ความอิสระในการเคลื่อนอยู่ในกรอบของโมเลกุล  โมเลกุลเปรียบเหมือนสังคม อะตอมเปรียบเสมือนปัจเจกชน  ยุคสมัยเพลโต้/อริสโตเติ้ลได้พูดถึงเรื่องนี้ทำให้วิชาฟิสิกส์และวิชาสังคมศาสตร์โยงด้วยเหตุผลนี้  จึงมีสมมติฐานว่าปัจเจกนั้นจำเป็นเปลี่ยนเหมือนอะตอมที่มีพลังขับเคลื่อนด้วยตัวของมันเอง แต่อะตอม(ปัจเจก)อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ จำเป็นต้องมีโมเลกุลคือสังคม กลุ่ม องค์กร ฯลฯของบุคคลที่ทำหน้าที่แทนเรา

          ก. สิทธิและเสรีภาพ  ได้แก่

          -สิทธิทางการเมือง  เช่น สตรีอเมริกันมีการเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้ง เรียกว่า การเมืองของสตรี         

          -สิทธิในทรัพย์สิน  สังคมจีนปัจจุบันมีหนึ่งประเทศสองระบบ ระบบหนึ่ง คือ ให้ทรัพย์สินเป็นของปัจเจกได้ แต่รัฐทำหน้าที่เก็บภาษี  สิทธิการเติบโตของเงินสำหรับปัจเจก เพราะต้องการกระตุ้นว่าคนเรามีเป้าหมาย ต้องการทำมาหากิน  ต้องการสร้างที่ทำให้เขาสุขสบาย  แต่ในลัทธิสังคมนิยมสุดโต่ง คือ สังคมที่ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวมทั้งหมด เพราะมองว่าตัวทรัพย์สินทำให้เกิดอำนาจ พระพุทธองค์จึงประสงค์ไม่ให้มีทรัพย์สิน สังคมนิยมกำลังเดินตามสิทธิในทรัพย์สิน เป็นทรัพย์สินส่วนตัว แต่รัฐเข้าไปดูแลเพื่อให้มีทรัพย์สินน้อยลง

          ไอน์สไตล์กล่าวว่า เราในฐานะปัจเจกต้องมี commonsense และจินตนาการ  เป็นการจินตนาการสังคมที่ดีในอนาคต บ้านที่ดีในอนาคต ครอบครัวที่ดีในอนาคต  ดังนั้นทรัพย์สินส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญมีการควบคุมว่าอย่ามีมากเกินไป  ถ้ามีมากก็ต้องเสียภาษีมาก

           -สิทธิในทางสังคม ปัจเจกนิยมเชื่อในเสรีภาพของบุคคล และเสรีภาพของบุคคลจะต้องไม่มีพันธนาการ     

สิทธิจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวบุคคล(ปัจเจก) สิทธิขายไม่ได้ ถ้าขายก็จะไม่อยู่ในกรอบของประชาธิปไตย

          อาจารย์เคยทำรายการโทรทัศน์ช่องทรูวิชั่นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาช่วงบารัค โอบามาหาเสียงเลือกตั้ง  ได้คุยกับคนในวอชิงตันที่โฟนอินเข้ามา และได้ไปถามคนในอเมริกันว่า “คุณมีการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่” คนอเมริกันกลับถามกลับมาว่าขายได้ด้วยหรือ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการซื้อสิทธิขายเสียงไม่อยู่ในสมองของคนอเมริกันเลย ต่างจากในเมืองไทย

          ข.  ปัจเจกต้องมี “ขันติธรรม (toleration)”  คือ ความอดทน ไม่หวือหวา ใครมากระทบก็ให้อภัยไป อย่าไปโวยวาย

          ค.  การมีเหตุผล ปัจเจกชนต้องมีเหตุผล เช่น การซื้อปลาในตลาดต้องซื้อปลาที่คุณภาพดี ราคาเหมาะสม

          2.กระบวนการการเรียนรู้ของภาคประชาชน

          Political socialization : การหล่อหลอม/บ่มเพาะของสังคม  การเรียนรู้เป็นการบ่มเพาะคนในสังคมเพื่อให้อยู่ในกรอบของระบบการเมือง  ต้องเริ่มจาก...

          2.1 ครอบครัว (family) ปัจจุบันสภาพครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากในอดีตที่เคยเป็นครอบครัวขนาดใหญ่มาเป็นครอบครัวขนาดเล็ก มีพ่อ แม่ และลูกเท่านั้น  สภาพครอบครัวไทยในปัจจุบันน่าสงสารต้องต่อสู้อยู่ภายใต้กลไกอุตสาหกรรม แทนที่จะได้อยู่กับพี่ป้าน้าอาเหมือนในสมัยเด็กก็ต้องดึงตัวเองออกมาจากสภาพเช่นนั้นเพราะสภาพเศรษฐกิจ การศึกษา  การมีงานทำ มีชื่อเสียง เป็นสภาพที่สังคมกำหนดให้เป็นครอบครัวอุตสาหกรรมเป็นครอบครัวอยู่กันแบบเล็ก ๆเพราะสภาพต่าง ๆในสังคมเป็นตัวกำหนด

          2.2 โรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย  ช่วงที่ไทยมีปัญหากับกัมพูชามีการตีความกันแปลกๆ กลุ่มหนึ่งมองว่าพวกที่ไม่ยอมให้ที่ดินกัมพูชาไปเป็นพวกลัทธิชาตินิยม(nationalism) (อาจารย์สุรินทร์ พิศสุวรรณได้ทำวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาฮาวาร์ดใช้ทฤษฎี concept เรื่องชาตินิยม(ในสามจังหวัดภาคใต้)  ชาตินิยมเกี่ยวด้านภาษา ศาสนา ครอบครัว ความเป็นอยู่ของกลุ่มมุสลิม) ชาตินิยมไม่ได้หมายถึงการจะเอาที่ดินไปให้กัมพูชาอย่างเดียว ไม่ใช่ปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนเท่านั้น ฉะนั้นทุกคนต้องเข้าใจการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในแนวของคนพวกนี้

          ญี่ปุ่นทะเลาะกับเกาหลีใต้เรื่องเกาะหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับว่าใครเป็นเจ้าของเกาะ ไม่เกี่ยวกับดินแดน ปัจจุบันยังเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศ ชาตินิยมเป็นเรื่องของความภูมิใจในชาติของตนอง ชาติจะดีหรือไม่ดีก็อีกเรื่องหนึ่ง คนญี่ปุ่นมีความเป็นชาตินิยมจนกระทั่งสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศเขาเอง ดูได้จากคนญี่ปุ่นจะใช้รถยี่ห้อที่ตัวเองผลิตเท่านั้นจะไม่ใช้รถยี่ห้ออื่นเลย เช่นเดียวกับฝรั่งเศสที่ไม่พยายามพูดภาษาอังกฤษ เพราะคิดว่าภาษาตัวเองเป็นภาษาที่น่าภูมิใจ  แม้กระทั่งด้านอาหาร/แฟชั่น ฝรั่งเศสแข่งกับอิตาลีสูงมาก แข่งกันทำเงิน

          อดัม  สมิธได้เขียนหนังสือแนะนำรัฐบาลอังกฤษว่าทำไมต้องไปซื้อไวน์ของพวกโปรตุเกสทำไม ไกลก็ไกล คุณภาพก็สู้ของฝรั่งเศสไม่ได้

          โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้สอนความเป็นชาตินิยมให้คนในประเทศ เช่น โรงเรียนในญี่ปุ่นเน้นการสอนในเรื่องชาตินิยมมาก เพราะชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียนมากกว่าอยู่ในครอบครัว

          3.3 สื่อมวลชน (mass – media) ปัจจุบันสื่อมวลชนนำเสนอข่าวสารมากมายหลายช่องทาง มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเราได้บริโภคข่าวสารหรือมีข้อมูลมากมาย ข้อเสียคือมีข่าวสารข้อมูลมากเกินไปจนไม่รู้จะเชื่อใคร  สื่อบางฉบับได้เอาคนที่เก่งที่สุดของหน่วยงานออกเพราะไปด่านายทุนที่ไปลงทุนกับหนังสือพิมพ์ของเขา แต่ให้ออกโดยจ่ายเงินชดเชยให้พอสมควร สะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่สื่อมวลชน ความอิสระในองค์กรก็ไม่มี  มีสุภาษิตของฝรั่งว่า “you are what you read , and whom you talk. : คุณจะเป็นอะไรขึ้นอยู่กับคุณอ่านอะไร ใครละที่คุณคุยด้วย”  ในขณะที่พระพุทธองค์สอนไว้ว่าให้คบบัณฑิต และได้สอนไว้ในหลักกาลามสูตรว่าอย่างไปเชื่ออะไรง่าย ๆ

          *อาจารย์แนะนำให้นักศึกษาอ่านหนังสือชื่อ Understanding Politics : เข้าใจการเมือง

          1.ประชาธิปไตยกับชนชั้นนำ

          Peroto & Mossca ได้พูดถึงทฤษฎีที่เขียนไว้ในงานเขียนตัวเอง แต่ปัจจุบันก็ไม่สามารถโต้แย้งได้ในประเด็นที่ว่า ในทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมประชาธิปไตย สังคมนิยมหรือปกครองด้วยรูปแบบอื่น  ชนชั้นนำจะต้องอยู่ในทุกสังคม

          จีนใช้ทฤษฎีสังคมนิยมในการประกาศแนวทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ปี 1949 จนถึงปัจจุบัน มีชนชั้นนำอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน

          2.พัฒนาการประชาธิปไตยไทยกับสหรัฐฯ

          สหรัฐฯในช่วงที่มีการเปลี่ยนปลงเข้าสู่ความเป็นรัฐที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 1987  มีเพียงแค่ 7 มาตราเท่านั้น ได้มีคนอเมริกันด้วยกันเองวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญของอเมริกาไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะเขียนขึ้นโดยชนชั้นนำอย่างจอร์จ วอชิงตัน ,แมดิสัน,จอห์น เจ. ฯลฯ จึงร่างขึ้นมาเพียงแค่ 7 มาตราเพื่อให้เกิดรัฐ/สหรัฐฯแบบอเมริกาขึ้นมาได้ และบุคคลเหล่านั้นก็ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ เช่น จอร์จ วอชิงตันขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 1 ของสหรัฐฯ

          ส่วนชนชั้นนำของไทยต้องนึกถึงคณะราษฎร(เป็นพรรคการเมือง) เป็นกลุ่มคนชั้นนำที่วางกรอบของประเทศไว้ในช่วงปี 2475 ต่อมาในปี 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ร่างกฎหมายเทศบาล เพื่อสร้างโรงเรียนให้กับชนบท , อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ก็ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถนำมาทำงานได้เพราะเกิดการขัดแย้งกันเองในคณะ (อาจารย์มองว่าถ้าเค้าโครงเศรษฐกิจของอาจารย์ปรีดีทำงานได้ ไม่ถูกขัดแย้งกันเอง ประเทศไทยวันนี้เกษตรกรจะมีที่ดินเป็นของตัวเอง ปัญหาวังน้ำเขียวก็คงไม่เกิด

          ชนชั้นนำทั้งของไทยและอเมริกาต่างทะเลาะกันเอง ตัวอย่างเช่น ชนชั้นของไทยทะเลาะกันทำให้เกิดรัฐประหารปี 2490 โดยจอมพลผิน  ชุณหะวัน แล้วร่างรัฐธรรมนูญไปซ่อนไว้ใต้ตุ่ม  จนกระทั่งปี 2500 จอมพลสฤษฎิ์ขึ้นมามีอำนาจจากการทำรัฐประหารจอมพลป. พิบูลสงคราม  จอมพลป.จึงต้องหนีออกนอกประเทศไปทางอรัญประเทศ โดยมีพ.ต.อ.ชุมพล โลหะชาละ เพื่อเดินทางไปอินเดียและญี่ปุ่น และไปเสียชีวิตที่ญี่ปุ่น  หลังจากนั้นจอมพลสฤษฎิ์ได้แต่งตั้งให้พจน์  สาระสินเป็นนายกรัฐมนตรี นายกฯที่มาจากพลเรือน เพื่อให้แนวทางการพัฒนาเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาของสหรัฐฯ  จะเห็นว่าชนชั้นนำของไทยขัดแย้งกันในเรื่องของผลประโยชน์และอำนาจ

          ในขณะที่ชนชั้นนำของสหรัฐฯทะเลาะกัน กลุ่มของประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันขัดแย้งกับประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน (ประธานาธิบดีคนที่3) เป็นผู้นำพรรคทางใต้ของอเมริกา ได้ตั้งการเมืองขึ้นมา แต่จอร์จไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะมองว่าพรรคการเมืองทำให้แตกแยก แบ่งพรรคแบ่งฝ่าย แต่เจฟเฟอร์สันมีความผูกพันกับกลุ่ม/คณะของตัวเองมาก พรรคการเมืองเป็นกฎเหล็กของประชาธิปไตย เพราะพรรคการเมืองเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์กันภายในกลุ่ม/คณะบุคคล( orligarchy) ดังนั้นพรรคการเมืองคือชนชั้นนำกลุ่มหนึ่ง

          กลุ่มชนชั้นของไทย คือกลุ่มนักธุรกิจ/กลุ่มทุนของอดีตนายกฯทักษิณ  ในขณะที่กลุ่มข้าราชการขณะนี้ถูกโยงเข้าไปสู่กลไกของชนชั้นนำ คือ เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น เพราะหลักราชการต่อให้เป็นข้าราชการที่ดี ราชการถือเป็นเครื่องมือของรัฐ  แม้แต่กลุ่มทหารก็ถูกกลืนเข้าไปในกลุ่มทุน ทำให้เกิดการแตกแยกกันเองในกลุ่มทหาร

          ไม่มีใครนึกว่าบารัค โอบามาจะก้าวเข้ามาเป็นเบอร์หนึ่งของชนชั้นสูงสุด บารัคได้ก้าวมาเป็นผู้นำสหรัฐฯก็ด้วยปัจจัยตัวเอง เนื่องจากมีนายทุนให้การสนับสนุน นายทุนเหล่านี้ไม่ลงเล่นกาสรเมืองด้วยตัวเอง แต่จะให้เงินในรูปของเงินอุดหนุน รัฐบาลต้องเป็นผู้พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ให้กับพวกเขา (ต่างจากชนชั้นนำของไทย นายทุนมักจะลงเล่นการเมืองเอง)

          3.ทฤษฎีประชาธิปไตยแบบ “พหุนิยม”  

          สังคมพหุนิยม คือ กลุ่มผลประโยชน์ สร้างกลุ่มให้เยอะ ๆ ให้คนมีพลังอำนาจมากเพื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มต่าง ๆเพื่อกดดันรัฐบาล ในประเทศไทยเราการเป็นสังคมพหุนิยมจะต้องออกแรงมาก ต้องสร้างจิตสำนึกให้กับภาคประชาชนว่าประชาธิปไตยแบบเลือกส.ส.เข้ามาเป็นตัวแทนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีประชาธิปไตยทางตรงด้วย(ประชาธิปไตยแบบเราเอง)

          ปี 2535 ทหารรัฐทำการรัฐประหาร (รสช.) ได้ทำการยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการรวมตัวของสหภาพแรงงานทั้งหมด เป็นการตัดแขนตัดขาพวกสหภาพแรงงานต่าง ๆ จะเห็นว่าใครที่ไม่อยู่ในสหภาพก็ไม่คิดอะไร แต่ถ้าเราอยู่ในสหภาพทำให้รู้ว่าเป็นการตัดกำลังเพื่อไม่ให้มีพลัง ไม่อยากให้มีการรวมตัว  ในขณะที่ในอเมริกาสหภาพแรงงานสามารถไปนั่งต่อรองกับประธานาธิบดีได้ว่าจะจ้างงานกี่เปอร์เซ็นต์ ,ให้สวัสดิการให้พวกแรงงานอย่างไร  โดยหลักการพรรคดีโมแครตจะดูแลชาวบ้าน/คนชน ฐานเสียงคือคนชนชั้นกลางและชนชั้นคนลำบาก แต่ชนชั้นที่รวยกับชนชั้นที่ไม่รู้เรื่องจะอยู่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม จะเห็นว่านโยบายของรีพับริกันกับนโยบายพรรคเพื่อไทยคล้ายกัน เพราะเป็นพรรคนายทุนใหญ่ เน้นทุนใหญ่

          บารัค โอบาม่าหาเงินได้จากการใช้ Social media  เช่น เฟสบุ๊ส เว๊บไซด์ขอบริจาคจากปัจเจก  ทำให้บารัคมีเงินเข้ามาแข่งขันครั้งนี้ จะเห็นว่าการบริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมืองเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองทางหนึ่งเช่นกัน

          จะเห็นว่าการเป็นสังคมพหุนิยม ชนชั้นนำจะต้องฟังเสียงคนชนชั้นล่าง

          คำถาม : ช่วยให้อาจารย์แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องการเมืองใหม่ (new politics) ที่กลุ่มพันธมิตรได้เสนอแนวทางใหม่ต่อสาธารณชน

          อาจารย์ : กลุ่มพันธมิตรคือกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่มีอุดมการณ์ว่า เราต้องสร้างพลังของประชาชนโดยตรงโดยไม่ผ่านผู้แทน (ไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมือง เห็นได้จากการฟ้องร้องกับพรรคการเมืองใหม่ของคุณสมศักดิ์ โกสัยสุข เพราะพันธมิตรมองว่าในสถานการณ์เช่นนี้ไม่ควรตั้งพรรคการเมืองเข้าไปแข่งขัน)

          แนวคิดการเมืองใหม่คือแนวคิดเชิงพหุนิยม แต่เป็นรูปแบบการเมืองภาคประชาชน คือ การสร้างพลังประชาชนโดยตรงเพื่อที่จะคัดอ้างกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนคือพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้ทำตามอำเภอใจ

          เช่น เกาหลีใต้ที่มีการเรียนรู้มาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาของไทย เพื่อควบคุมนักการเมืองที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ในขณะที่ไทยไม่เคยสนใจนำมาประยุกต์ใช้  ประธานาธิบดีลีเมืองบัก ประธานาธิบดีคนปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายขวา (อย่างพรรคเพื่อไทย) คือ มีทุนใหญ่สนับสนุน ระบบทุนต้องการรักษาทุนนี้ไว้โดยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง  จะเห็นว่าไม่มีประเทศไหนในโลกที่มีฝ้ายซ้ายแบบอาจารย์ใจ /หมอเหวงมาร่วมมือกับนายทุนใหญ่อย่างคุณทักษิณ แต่หมอเหวงอ้างว่าเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรระดับหนึ่ง และหลังจากนั้นก็จะล้มทุนต่อไป

          ทั้งนี้อุดมการณ์ทางความคิดความเชื่อล้วนแต่อยู่ในตัวประชาชนทั้งสิ้น แต่สามารถเข้ามาร่วมกันได้ ทั้ง ๆในแง่ทฤษฎีเป็นเหมือนน้ำกับน้ำมันร่วมกันได้อย่างไร  จะเห็นว่าปัจจุบันนี้อาจารย์ใจทวงสัญญาแล้วว่าผมสนับสนุนคุณแล้ว คุณก็ต้องให้ค่าแรง/กรรมกรทั่วโลกเข้ามาในประเทศไทยได้ เพื่อที่จะมาทำมาหากิน เพราะแนวคิดสังคมนิยมที่สุดโต่งมองว่ามนุษย์ต้องมีความเสมอภาค จะไปเบียดบังกรรมกรไม่ได้ ในขณะที่คุณทักษิณต้องเอาใจในส่วนค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน  ถ้ารัฐบาลทำได้เป็นการลดแรงกดดันลงไป ดังนั้นเมื่อมีความเห็นที่แตกต่างกันมาก พรรคเพื่อไทยเมื่อขึ้นมาบริหารจะทำอย่างไรที่จะประนีประนอมในพรรคของเขาได้ นี่คือปัญหาหลักของเพื่อไทย ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์หมดแรงได้แต่นั่งมองการฟาดฟันกันเองของพรรครัฐบาล  อาจารย์มองว่าจากต่อนี้ไปประเด็นต่าง ๆจะแสดงออกมาให้เห็นมากมาย ฉะนั้นคำถามต่อไปคือเอกภาพของพรรคการเมืองเกิดขึ้นได้อย่างไร

          กลุ่มพันธมิตรบอกว่าต้องประชาชนให้เกิดสำนึกรู้ขึ้นมาแล้วคอยหยุดอำนาจของชนชั้นนำ หรือลดทอนอำนาจให้ฟังเสียงประชาชนมากขึ้น

          อาจารย์เจิมศักดิ์ได้เชิญอาจารย์ไปสัมภาษณ์ในรายการวิทยุแห่งหนึ่ง แล้วยิงคำถามอาจารย์ว่าเคยมีประเทศใดบ้างที่มีพรรคการเมืองและมีเสื้อแดงเล่นนอกสภา อาจารย์ตอบว่า มีคือ Tea Party ซึ่งเกิดขึ้นก่อนอเมริการ่างรัฐธรรมนูญเพราะอเมริกาปฏิวัติอังกฤษปี 1976 เรียกว่า Boston  tea ที่เมืองบอสตัน  ภาคประชาชนรวมตัวขึ้นมาแล้วจับอาวุธสู้กับทหารอังกฤษ และใช้สัญลักษณ์นี้จนกระทั่งปัจจุบัน tea party ในปัจจุบันมีที่นั่งในสภามาก เพราะมีผู้แทนที่หัวขวาจัดอยู่ในสภาหลายคนอย่างจอห์น  แบรนเนอร์ สังกัดพรรครีพับริกัน มากจากหลายความเห็น ความเห็นหนึ่งคือไม่ต้องการให้คนผิวดำเป็นประธานาธิบดี แต่ต้องปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ

          คำถาม :  New Politics คือการการเมืองใหม่สุดท้ายที่จะทำให้มีเบรก

          อาจารย์ : การเมืองไม่ใช่สิ่งที่ราบรื่น เจออะไรหรือสะดุดอะไร ถ้าไม่มีเบรกจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีคนคอยเตือนสติด้วย อย่าไปเฮไหนเฮนั้นตามเพื่อน อย่าขาดสติ ต้องมีสติ

          คำถาม :  สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองของไทย ไม่ว่าจะการปิดสนามบิน เผาเวิร์ดเทรดเกิดจากระบบหรือตัวบุคคล

          อาจารย์ :  ในอเมริกาก็เคยมีการเผาเกิดขึ้นในชายเมืองของรัฐลอสแองเจลิส เผาเมืองวัตต์เพราะเกิดความแค้นที่ถูกกดขี่ แต่อเมริกาไม่มีเผาหรือปิดสนามบิดเหมือนกับของไทย  เหตุการณ์นี้มองว่าบุคคล ๆเดียวจะกระทำการเผาไมได้ ต้องมีองค์การที่เชื่อหรือมีอุดมคติทางการเมืองเหมือน ๆกัน ในสังคมประชาธิปไตยมองว่ารวมตัวกันได้แต่อย่าใช้ความรุนแรง แต่มีสิทธิที่จะใช้ประชามติ เช่น ใช้สื่อ การวิจารณ์ การเดินขบวนแต่ต้องสงบ (ถ้าไม่สงบก็ต้องให้บ้านเมืองเป็นผู้จัดการ) ขณะนี้ศาลกำลังให้การตัดสินว่าการปิดสนามบิน/การเผาปิดหรือไม่  ฉะนั้นถ้าทั้งสองกลุ่มทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลืองกระทำเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดการใช้อำนาจของประชาชน ดังนั้นการเปิดโอกาสให้มีพลังขบวนการทางสังคม (Social movement) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมได้

          คำถาม : การปกครองทุกแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันการปกครองระบอบในรูปแบบประชาธิปไตยมีข้อดีข้อเสียที่โดดเด่นแตกต่างจากระบบอื่นอย่างไร

          อาจารย์ : ข้อดีของประชาธิปไตยคือได้เสียงข้างมากมาช่วยกันคิดสร้างประเทศ

          คำถาม : จากการที่คุณชูวิทย์ ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้านในการเลือกตั้งซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดทำมาก่อน อาจารย์มีความเห็นอย่างไร และถือเป็นการพัฒนาการเมืองรูปแบบใหม่หรือไม่

          อาจารย์ : อย่าไปสนใจเลย ในส่วนปัจเจกชนมองว่าคุณชูวิทย์เป็นคนกล้า ๆที่จะประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ในระบบประชาธิปไตยจะฝ่ายค้านไม่มีอะไร เพราะเบื้องลึกของสภาพจิตวิทยาของสังคมไทยให้ความเคารพนับถือคนที่เป็นเจ้าเป็นนาย  เพราะคนเหล่านั้นสามารถให้ประโยชน์กับเราได้  ไม่นับถือคนที่เป็นไพร่ แต่ในระบอบประชาธิปไตยฝ่ายค้านบางครั้งก็เป็นประโยชน์กับเรา เป็นกระบอกเสียงบางอย่างนอกเหนือจากพลังในภาคประชาชน

          คำถาม : การทำประชามติประชาชนมีสิทธิเสนอข้อคิดเห็นหรือไม่

          อาจารย์ : กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องมีการฟังเสียงประชาชนตามส่วนต่าง ๆมานั่งคุยกัน  หรือกรณีรัฐนิวยอร์กอนุมัติให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ ก่อนอนุมัติออกไปต้องมีนักวิชาการมาระดมสมอง พูดคุยกันในกลุ่มต่าง ๆ เป็นการรับฟังเสียงส่วนใหญ่ (Public hearing) ตามรัฐธรรมนูญไทยปี 2540/2550 ได้กำหนดให้มีการริเริ่มกฎหมายโดยภาคประชาชน (Initiative) ประชาชนสามารถเสนอความคิดเห็นได้

 

 

****************************(ต่อช่วงบ่าย)

*****************************************************************************

คำบรรยายวิชา PS 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของมหาชนไทย 

Public Participation in Thai Politics

ดร.ชัยชนะ  อิงคะวัต วันที่ 6  สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภาคบ่าย 

 

          การเลือกตั้งจะเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยได้อย่างไร ?

          นี่คือประเด็นคำถามหลักที่อาจารย์ถามและต้องพยายามหาคำตอบให้ได้ อาจารย์ได้แยกออกเป็นประเด็น ๆได้คือ การเลือกตั้ง การเสริมสร้าง และประชาธิปไตย

          ประชาธิปไตย : จะมีความเป็นนามธรรมในตัวมันเองมาก เช่น ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตย เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้ง ฉะนั้นประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง  แต่อย่างไรก็มีคำถามว่าเปอร์เซ็นต์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ๆนั้นหมายความว่าเป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ ?

          1.ระบบการเลือกตั้งแบบ “winner takes  all  system” เป็นระบบที่ผู้ชนะเอาไปทั้งหมด (ผู้ชนะได้คะแนนเสียงทั้งหมด ผู้ชนะกินรวบ)

          -เป็นระบบที่ใช้ในอเมริกา  สังคมอเมริกันไม่ชอบคลุมเครือ กล่าวง่าย ๆคือชนะก็ชนะไปเลย แพ้ก็แพ้เลย ไม่มีขาวกับดำ  จะไม่แบ่งคะแนนเล็ก ๆย่อยๆ ให้เป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย  ใครเป็นผู้ชนะใครเป็นผู้แพ้จบไปเลย ดังนั้นผู้ชนะกับผู้แพ้จะกลายเป็นการกระตุ้นทำให้ระบบพรรคการเมืองสองพรรคการเมือง

          -การเลือกตั้งประธานาธิบดีของอเมริกา อเมริกามีมลรัฐทั้งหมด 50 มลรัฐ  จะมี”คณะผู้เลือกตั้ง (election college) ” ชุดหนึ่ง เป็นผู้ตัดสินว่าใครชนะ/ใครได้

          สมมติว่าในรัฐ ก. มีผู้แข่งขันกันสองคนระหว่างบารัคกับแมคเคน และในรัฐ ก.นี้มีคนในรัฐทั้งหมด 100 คน สมมติว่าบารัคได้คะแนน 60 คะแนน ในขณะที่แม็คเคนได้ 40 คะแนน หมายความว่า บารัคได้คะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งไปของรัฐนี้ทั้งหมดทุกคน แยกเสียงไม่ได้ ถือว่าเป็นระบบการเลือกตั้งแบบ winner takes  all  system

          แต่สมมติว่าในรัฐ ข. แมคเคนได้คะแนนเสียง 52 คะแนน ส่วนบารัคได้ 48 คะแนน  หมายความว่า แมคเคนได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดทุกคนของรัฐ ข. กล่าวง่าย ๆคือแมคเคนได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งรัฐ ข. 100 %

          จะเห็นการเลือกตั้งในระบบนี้  ทำให้คนอเมริกันมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่ทางเลือก ฉะนั้นระบบการเลือกตั้งแบบ winner takes  all  system บางครั้งจะทำให้คนไม่อยากออกมาร่วมในกิจกรรมเลือกตั้งของประเทศนั้น ๆ

          2.ระบบการเลือกตั้งแบบ “พรรคเด่นพรรคเดียว”  เช่น  สิงคโปร์ พรรคของประธานาธิบดีลีกวนยู(พรรค PAP) ครองตำแหน่งเป็นรัฐบาลนานถึง 47 ปี (1965-ปัจจุบัน) ทั้ง ๆที่พรรคการเมืองในสิงคโปร์มีมากถึง 30 พรรค ส่วนพรรคที่เข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายค้านมีเพียง 3 พรรคเท่านั้น (3 คน) อีกประมาณ 20 กว่าพรรคไม่มีผู้แทนเลย  อย่างไรก็ตามยังคงมีคนที่อยากให้อีก 20 กว่าพรรคมีโอกาสขึ้นมาเป็นรัฐบาลบ้าง แต่โอกาสไม่เกิดขึ้นเลย  เพราะประชาชนถูกกลไกของระบบการเมืองแบบเก่าควบคุมให้เขาต้องเลือกพรรค PAP เป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองของสิงคโปร์ พรรค PAP เป็นพรรคที่ลีกวนยูตั้งมากับมือและเป็นพรรคที่บริหารประเทศเข้าตาประชาชนส่วนใหญ่ เห็นได้จากระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์เป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน พร้อมทั้งสามารถควบคุมกลไกของราชการและการบริหารพรรคได้เข้มแข็งพอสมควร  จะเห็นว่าประชาชนคนสิงคโปร์แม้จะมีอาชีพขับแท็กซี่แต่ก็ยังสามารถมาเที่ยวเมืองไทยได้ปีละ 2 ครั้ง ถือว่าประชาชนเขามีอำนาจ มีเงินกระเป๋าที่จะไปไหนมาไหนก็ได้

          ทั้งนี้ยังคงมีคนสิงคโปร์หลายคนมีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับระบบการเมืองของเขาเอง เขาไม่มีทางเลือก เลือกกี่ครั้งก็ได้พรรคเดิม ส่งผลให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายที่จะมีส่วนในระบบการเมือง จึงทำให้เกิดความคิดในทางลบกับรัฐบาล/ประเทศ ส่งผลให้หลายคนหนีออกนอกประเทศ ไปทำมาหากินนอกประเทศ

          แม้แต่ในสหรัฐฯในยุคประธานาธิบดีบุช คนอเมริกันก็เบื่อหน่ายการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะบุชบ้าสงครามมากเกินไป มีแต่การจัดการการก่อการร้าย ไม่คิดถึงการสร้าง/การสร้างงานอย่างไร

          3.ระบบการเลือกตั้งแบบ “สัดส่วนช่วยแก้ปัญหาการมีส่วนร่วม (Proportional representation) ” เป็นระบบที่มีเขตเลือกตั้งเล็กลงกว่าเดิม ใช้กันในกลุ่มประเทศแถบยุโรป  ข่อเสียขงระบบการเลือกตั้ง PR นี้ คือ ทำให้เกิดพรรคการเมืองหลายพรรค มีการแบ่งคะแนนกันออกไป

 

 

          คำถามจากศูนย์ฯอำนาจเจริญ  

          1.ตามแนวการพัฒนาทางการเมืองไทย สาเหตุที่มีปัญหา คือ การพัฒนาชุมชน ชุมชนไม่เข้มแข็งและไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ อีกทั้งยังมีแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในอดีตจนปัจจุบัน ไม่ว่าแนวทางของคุณประยงค์ ,คุณอัมพร,ครูชุบ ยอดแก้ว ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนในทางการเมืองของไทย ทำไมไม่นำมาเป็นแบบแผนของการปฏิบัติโดยเฉพาะสหประชาชาติได้นำแนวทางเหล่านี้ไปใช้ในติมอร์ตะวันออก

          อาจารย์ : การพัฒนาชุมชนนั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งที่เราส่งออกการพัฒนาชุมชนไปที่ติมอร์ตะวัน  ปี 2550 อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมเสนอให้มีสภาชุมชนขึ้นมา เป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นการรวมตัวของภาคประชาชน  การพัฒนาท้องถิ่นไทยถูกวิจารณ์ว่าเป็นการพัฒนาจากข้างบนลงสู่ข้างล่าง คือ อำนาจมาจากส่วนบน(กระทรวงมหาดไทย) ลงสู่ข้างล่าง แต่การพัฒนาชุมชนยุคใหม่ต้องการให้พัฒนาจากข้างล่างสู่ข้างบน

          ในยุคสมัยก่อนปี 1787 อเมริกายังไม่มีรัฐ แต่เกิดชุมชน มีการรวมตัวกันสร้างหน่วยการปกครองท้องถิ่นมาก่อนที่จะมีประเทศ ประชาชนอยู่อย่างร่วมไม้ร่วมมือกัน อยู่เป็นลักษณะของชุมชนที่มีการพัฒนาโดยธรรมชาติของเขาเอง เพราะอพยพมาจากต่างถิ่นต่างแดนต่างก็มารวมตัวกัน มีการสร้างวัด  สร้างโรงเรียน  เป็นการพัฒนาที่เน้นจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบน

          จากคำถามอาจารย์ของตอบว่าเห็นด้วย และทำอย่างไรที่จะลดบทบาทของราชการให้น้อยลง และให้ภาคประชาชนรวมตัวกันเป็นการพัฒนาชุมชนในลักษณะที่เป็นชุมชนเข้มแข็ง  และถ้ามีชุมชนเข้มแข็งจริง ประชาธิปไตยก็จะไม่ตกอยู่ในมือของทุน

          คำถามจากศูนย์ จ.นครศรีฯ  

          1.ทิศทางการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทย ควรจะมีการพัฒนาหรือขับเคลื่อนไปในทิศทางใด จึงจะเหมาะสมกับสังคมไทย เช่น สถาบัน ,ปัจเจกบุคคล,ระบบการเมือง ฯลฯ

          อาจารย์ :  1.1 สถาบันประชาธิปไตยไม่ใช่สถาบันกษัตริย์ สถาบันประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง ?

          สถาบันในทางรัฐศาสตร์ถือว่ามีความจำเป็น เพราะมนุษย์ต่างคนต่างอยู่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีสถาบันขึ้นมา สถาบันประชาธิปไตยมีดังต่อไปนี้

          1) รัฐธรรมนูญ  เป็นเพียงแค่หนังสือที่บ่งบอกถึงกฎหมายหรือกฎกติกาที่คนร่างขึ้นมา เมื่อพูดถึงสถาบันก็ต้องนึกถึงปัจเจก กลุ่ม และชนชั้นนำ และสุดท้ายชนชั้นนำเหล่านี้ก็นำกลุ่มมาแก้รัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญปี40 ถูกยกเลิกไปด้วยการทำรัฐประหารปี 2549 นำโดยพลเอกสนธิ  บุนยรัตนกลิน  ตั้งพลเอกสุรยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นว่าชนชั้นนำของกลุ่มคุณทักษิณถูกเขี่ยออกไป แล้วมีชนชั้นนำชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่โดยพยายามสร้างให้เห็นว่าชนชั้นนำชุดนี้เป็นกลาง และมีสสร.มาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ขึ้นมา  ปัจจุบันการเมืองไทยทะเลาะกันระหว่างชนชั้นนำ ประชาชนเป็นเพียงแค่เล่นละครในวันที่ 3 ก.ค.เท่านั้นแล้วกลับไปนั่งดูและลุ้นที่บ้าน จะเห็นว่าชนชั้นนำที่เสียผลประโยชน์จากนโยบายค่าแรง 300 บาทก็มีเพราะเป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ต้องจ่ายค่าแรงมากขึ้น

          นโยบายเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆแต่มาจากพลังผลักดัน เช่น นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พรรคเพื่อไทยคิดจะทำจริงขึ้นมา ชนชั้นนำที่ต้องเสียประโยชน์ก็ต้องเริ่มกดดันแล้ว ในขณะที่ประชาชนไม่รู้จะกดดันอย่างไร นอกจากหนังสือพิมพ์ช่วยเป็นกระบอกเสียงว่าให้ไปเถอะเขาอยู่ลำบาก  เมื่อ 300 บาทผ่านสิ่งที่ตามมาคือราคาสินค้าที่สูงขึ้น  เกิดภาวะเงินเฟ้อ ตลบาดหุ้นก็เริ่มตามเกม

          รัฐธรรมนูญปี 50  บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในวาระได้ไม่เกิน 2 วาระ ๆละ 4 ปี รัฐศาสตร์มองว่าเป็นความต้องการที่สยบอำนาจเดิม ต้องการบล็อกอำนาจของคุณทักษิณไม่ให้อยู่เกิน 8 ปี เพราะคุณทักษิณเคยพูดว่าจะอยู่ถึง 20 ปี

          2) รัฐสภา (สถาบันตัวแทน)

          3) พรรคการเมือง

          4) กกต.

          5) ฯลฯ

          1.2  ระบบ   ในระบบรัฐสภาไม่สามารถกำหนดวาระได้ เพราะว่าสภาเป็นผู้ตั้งนายกรัฐมนตรี ระบบสภาให้น้ำหนักอยู่ที่ประชาชนเลือกสภามา แล้วสภาก็เลือกนายกรัฐมนตรี  แต่ทำไมมหาธีย์มูฮัมหมัดของมาเลเซียจึงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึง 23 ปี ทั้ง ๆที่ใช้ระบบสภาเช่นเดียวกัน

          1.3 ปัจเจกบุคคล ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆในสุญญากาศ  เพราะคนที่เติบโตในประเทศไทยจะมีความคิดไม่เหมือนกับคนที่เติบโตในต่างประเทศ ดังนั้นการหล่อหลอมทางความคิด วิถีชีวิตแตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น นายกฯอบต.คนหนึ่งไม่ยอมไปงานสังคม งานบวช งานแต่งของใครเลย รับรองได้เลยว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่รับการเลือกตั้งแน่นอน

          การสอบ : อาจารย์จะให้นักศึกษาปรับหลักการบางอย่าง เพียงแค่เอา concept บางอย่างมาอธิบายประกอบ  หลักการตอบข้อสอบ คือ

          1.ต้องอ่านโจทย์ให้ชัดเจน  อ่านเพื่อให้เห็นว่าผู้ถามต้องการถามอะไร อะไรคือจุดสำคัญ

          2.การตอบคำถามควรใช้หลักเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์ เช่น  พูดถึงสถาบัน ให้นักศึกษานึกถึง พรรคการเมือง  รัฐธรรมนูญ  การเลือกตั้ง ระบบสภา  สถาบันตัวแทน(ส.ส.)  สถาบันราชการ  ฯลฯ ดึงให้ออกมาให้เป็นรูปธรรม เช่น การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่

          คำถามข้อที่ 2. : จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงโดยปราศจากการครอบงำของนักการเมือง

          คำถามข้อที่ 3 : การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ทำไมทหารจึงต้องเข้ามาแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา

          อาจารย์ : ทหารกับการเมือง เมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐเข้ามาทำรัฐประหาร ช่วงนั้นก็จะไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองเกิดขึ้น ไม่มีการเลือกตั้ง  การแสดงออกของประชาชนบางส่วนถูกระงับ  การใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงก็ถูกควบคุม ซึ่งเป็นปกติที่ระบบทหารขึ้นมา จริง ๆหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันบทบาททหารลดลงมาก  เช่น

          -ซูฮาโต้ปกครองอินโดนีเซียมาเป็นเวลา 32 ปี ซูฮาร์โต้เป็นทหารที่เนียน เพราะเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองเป็นของตัวเองคือพรรคโคข่า มีรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่ามีสถาบันครบเครื่อง แต่มี power อยู่ด้านหลัง ทำให้ซูฮาร์โต้ผ่านการเลือกตั้งทุก 5 ปี

          -ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศหนึ่งที่ในอดีตทหารมีบทบาททางการเมืองมาก แต่ปัจจุบันทหารไม่กล้าลุกขึ้นมาทำรัฐประหารเหมือนกับประเทศไทย

          -สิงคโปร์ ในความหมายของเรามองว่าสิงคโปร์ไม่มีทหาร  สิงคโปร์ประกาศว่าประชาชนเพศชายทุกคนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปต้องเป็นทหาร แต่ไม่ต้องมีกองทัพในความหมายแบบที่ว่า นายทหารก็มีแต่จะมีประชาชนเข้ามาหมุนเวียนจนกระทั่งอายุครบ 35 ปีก็ปลดระว่าง และปีหนึ่งก็จะเข้ามาปลดระวางเพียงเดือนเดียว พร้อมทั้งได้รับเงินเดือนด้วย จะเห็นว่าด้านกองกำลังทหารของสิงคโปร์ก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะประชาชนหมุนเวียนกันเข่ามาทำหน้าที่เป็นทหาร พร้อมทั้งมีเทคโนโลยีที่สุดยอดเพราะมีเงินซื้อได้ทั้งหมด (อิสราเอลก็ทำแบบสิงคโปร์เช่นกัน)

          ปัจจุบันเมืองไทยทหารทำหน้าที่รักษาสถาบัน ดูแลความมั่นคงภายนอก แต่ทหารไทยหันมาดูแลความมั่นคงภายในแทน จะเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างชายแดนไทยกัมพูชาตั้งตำรวจเข้าไปทำหน้าที่แทน เพราะนี่คือกลยุทธ์ที่มองว่าเป็นเรื่องภายในจึงให้ตำรวจเข้าไปดูแล แต่เถ้าเอาทหารไปเมื่อไหร่ก็จะรบกันทันที

          อย่างไรก็ตามทหารก็ยังคงยังอยู่ ถ้าหากไม่ปรับปรุงกองทัพให้เป็นประชาธิปไตย ต้องลด scale ลงมา

          ความชอบธรรม (Justifications)  

          -ความชอบธรรมในปี 2535 ที่รสช.ทำรัฐประหาร คือ การคอรัปชั่นมากเกินไปในรัฐบาล 

          -ความชอบธรรมในปี 2475 คือไม่มีความเป็นธรรมทางด้านเศรษฐกิจในสังคมไทย

          -ความชอบธรรมในปี 2549 คือ หมิ่นเหม่ต่อสถาบันกษัตริย์ จะเห็นว่าการทำรัฐประหารครั้งนี้ประชาชนเห็นด้วย 85 % ในการทำรัฐประหาร

          จะเห็นว่าการทำรัฐประหารพบว่าประชาชนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดรัฐประหาร รวมทั้งความชอบธรรม คือ สิ่งที่รัฐบาลที่ผ่านมาทำอะไรไว้บ้าง  ฉะนั้นทุกวันนี้จะให้ทหารหายไปหมดเลยในประเทศไทย ทำไม่ได้ เพราะไม่มีอำนาจใดที่จะไปผลักดัน ดังนั้นมีวิธีการหนึ่งคือต้องสร้างสิ่งที่ไม่เป็นช่องว่าให้เขามาทำรัฐประหารได้

          คุณสนธิ  ลิ้มทองกุล กล่าวว่ามีประเด็น 2 เรื่องที่จะทำให้เสื้อเหลืองออกมา นี่คือระเบิดเวลาง่ายๆ  คือ

1)      รัฐบาลถ้าแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม

2)      ต้องจัดการเรื่องการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์

          ปัจจุบันกลุ่มพันธมิตรลงเล่นกับปตท.เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่าแต่ละปีปตท.ทำกำไรมากน้อยเท่าไร     เพราะปตท.ของไทยเป็นบริษัทติดอันดับของโลกที่ทำกำไรสูงสุดของโลก แต่คนไทยใช้น้ำมันแพงเหลือเกิน  แม้แต่ราคาไข่ เนื้อไก่ในเมืองไทยแพงกว่าในอเมริกา เพราะระบบไก่หรือไข่ไก่เป็นระบบผูกขาดโดยนายทุนใหญ่

          อาจารย์กับอาจารย์วุฒิศักดิ์สอบชิงทุนพร้อมกัน ไปเรียนที่อเมริกาเหมือน แต่อาจารย์วุฒิศักดิ์เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ เป็นลูกศิษย์ของเดวิด  อีสตัน

          คำว่า “ประชานิยม” (Populism)  มีการพูดถึงคำนี้กันมากจริง ๆตั้งแต่ปี 2543 -2544 จนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นการสร้างความนิยมโดยกำหนดเป็นนโยบายเพื่อดึงคะแนนเสียงจากผู้เลือกตั้ง เช่น นโยบาย 30 สิบบาทรักษาทุกโรค อะไรก็ตามที่มีราคาถูกก็จะไปโดนใจคนรากหญ้า/คนจน แต่ประชานิยมจะไม่โดนใจคนอย่างนักศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี อเมริกันเองก็ใช้นโยบายประชานิยมเช่นกันเพื่อดึงคะแนนเสียงจากผู้เลือกตั้ง อเมริกาขายความกลัว สิ่งที่คนอเมริกันกลัวที่สุดคือการก่อการร้าย จะเห็นว่าเรื่องความกลัวจะไม่ชนชั้นอีกต่อไป เพราะชนชั้นที่รวยยิ่งจะกลัวมากกว่าคนจนเพราะมีฐานะมีทรัพย์สินมากกว่า บุชจึงขายความกลัวในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยที่สอง (2001-2004) จะเห็นว่าบินลาดินปรากฏตัวในหน้าจอทีวีแอลเจลจิร่าของพวกมุสลิมก่อนการเลือกตั้ง 3 วัน ทำให้สำนักข่าวแอลเจลจิร่าได้รับความเชื่อถือมากกว่าสำนักข่าว CNN  และ BBC ของอังกฤษเสียอีก

          ประธานาธิบดีมีที่ปรึกษาแนะนำว่าคนอเมริกันกลัวบินลาดิน จึงให้ใช้ประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นประชานิยม ทำให้บุชจึงออกประกาศเป็นนโยบายหลักว่าตัวเองเป็นประธานาธิบดีแห่งสงคราม ทำให้คนอมริกันเห็นว่าถ้ามีบุชก็ไม่ต้องกลัวบินลาดิน

          ในทัศนะของอาจารย์มองว่าประชานิยม คือ สภาพจิตวิทยาว่าสภาพสังคมนั้นต้องการอะไร

          ระบบพวกพ้องนิยม (cronyism) เป็นระบบที่ต่างประเทศมองประเทศในเอเชียของเรา โดยเพ่งไปที่ระบบพวกพ้องแบบเครือญาติของซูฮาร์โต้ซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว 

ซูฮาร์โต้ทำธุรกิจในอินโดนีเซียเกี่ยวกับสนามบิน รถในสนามบิน รถแท็กซี่ไปโรงแรม โรงแรม ฯลฯ ธุรกิจเช่นนี้เป็นระบบของการเชื่อมโยงในลักษณะใหม่ที่ทำให้เกิดความคับข้องในเรื่องประชาธิปไตย เพราะระบบพวกพ้องเป็นระบบของกลุ่มชนชั้นนำที่สร้างเครือข่ายในพื้นที่ต่าง ๆเพื่อให้เครือข่ายเหล่านั้นสนับสนุนตัวเองขึ้นไปทำหน้าที่ในทางการเมือง ระบบนี้ยังเกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์ในยุคประธานาธิบดีมาร์กอส เป็นผู้ที่มีบารมีมาก มีบริวารมาก มีเงินมาก และใช้ความรูปหล่อของตนเองและอำนาจกฎหมายในการที่จะสร้างคนที่สนับสนุนตัวเอง และระบบพวกพ้องในฟิลิปปินส์มาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในยุคสมัยประธานาธิบดีโจเซฟ  เอสตราด้า เมื่อมีการแบ่งเค้กในหมู่ชนชั้นนำของเขา

          นี่คือระบบพวกพ้องซึ่งทำลายระบบประชาธิปไตยที่เป็นปัจเจกที่จะรวมตัวกันในลักษณะของคนที่ไม่มีพวกพ้อง แต่อาศัยหลักการขึ้นมาเพื่อมาอยู่ร่วมกัน

..............

          อาจารย์ต้องการให้นักศึกษากลับไปอ่าน

          1. “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในเมืองไทย”

          2.” จากรัฐสู่ประชาสังคม ” ของอเนก  เหล่าธรรมทัศน์ หน้า 7 - 64

          ตัวอย่างคำถามของนักศึกษาแต่ละศูนย์วิทยบริการที่ถามอาจารย์  แต่อาจารย์ไม่ได้ตอบ (อาจารย์อาจจะนำมาใช้เป็นข้อสอบก็ได้)

          1.จากผลของการแสดงออกในเรื่องของการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่แสดงออกถึงการไม่เลือกใครคือโหวตโน แสดงให้เห็นถึงแนวคิดทางการเมืองอย่างไร

          2.มีกระบวนการอย่างไรที่ทำให้ประชาชนเข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง เนื่องจากในปัจจุบันผู้มีอาชีพรับสมัครเลือกตั้งจะใช้นโยบายการตลาดเป็นจุดหมาย

          3.อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรต่อหน้าที่ของ กกต.

          4.การประกาศรับรองก่อนจะมีการตรวจสอบ เป็นความใจเสาะของกกต.หรือไม่

          5.อาจารย์มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการเมืองไทยว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ และหากรูปแบบการเมือของไทยยังคงมีรูปแบบประชาธิปไตยทุนนิยม

...............

          Quiz…

          คำถาม : “ประชานิยม” และ “ระบบพวกพ้องนิยม” เป็นกระบวนการปิดกั้นประชาธิปไตย เนื่องจากระบบทั้งสองส่งเสริมและชักจูงให้ประชาชนขาดอิสระทางความคิดตามแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย

          ให้นักศึกษานำแนวคิดข้างต้นมาวิเคราะห์การเมืองของไทย (โดยเฉพาะการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. 2554) ที่ผ่านมา  พร้อมยกตัวอย่าง

 

 ************************************

 

 

 

 

Tags : รวมคำบรรยายแนวข้อสอบคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

ความคิดเห็น

  1. 1
    replica watches
    replica watches bell@gmail.com 08/10/2011 14:28
    replica vacheron constantin watches replica watches Chopards female clients and fans Why not indulge replica watch technically superior features of all IWC watches replica watch for a mid priced leather bag you.
  2. 2
    replica watches
    replica watches feet@yahoo.com 08/10/2011 14:26
    mens watches replica watches handbags and deliver cheap watches replica dreaming of 2 As the designer watches have replica watch accomplished through a hand sewn.

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view