http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,073,786
เปิดเพจ6,190,055

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

ประเด็นความผิดพลาด การสอบแข่งขันข้าราชการส่วนท้องถิ่น 2562

(อ่าน 1274/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์




การสอบแข่งขันข้าราชการส่วนท้องถิ่นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562ผู้เข้าสอบยังงงในคำชี้แจงของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) มาต่อควันหลงกัน ยอมรับว่าสื่อโซเชียลในยุคนี้ไวมากและมีอิทธิพลมากที่ผสมผเสกับข่าวปลอม (Faked News) อาจไปกันใหญ่ ควรรับฟังในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไว้ก่อน แต่ก็ใช่ว่ารายละเอียดปลีกย่อยจะไม่สำคัญ เพราะนี่คือการสอบระดับประเทศที่มีผู้เข้าสอบเป็นเรือนแสน เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ ที่มีการเตรียมการกันมานาน สรุปภาพรวมของการสอบครั้งนี้คือ การบริหารจัดการสอบไม่รอบคอบ กระบวนการดูเหมือนเคร่งครัด จริงจังจนผู้เข้าสอบเครียด ผู้คุมสอบก็พลอยเครียดตาม เพราะผู้เข้าสอบถามและคอยแก้ปัญหาที่ตอบไม่ได้ เป็นต้น แต่ กสถ. ยืนยันภาพรวมเรียบร้อย ใช้ข้อสอบใหม่ทั้งหมด ไม่มีปัญหาการทุจริต ข้อสอบที่บกพร่องไปมิใช่ “ไม่ใช่สาระสำคัญ”
ในประเด็นความผิดพลาดที่เกิดจากความผิดหลงของข้อสอบ ในระดับที่เล็กน้อย คงไม่มีปัญหา แต่ในระดับที่ทำให้มีผลต่อ “ผลคะแนน” อันเกิดจากการผิดหลง ไม่ว่าจะเกิดด้วยความตั้งใจจริง ๆ หรือ ที่เรียกว่า “ข้อสอบลวง” หรือ ด้วยความผิดพลาดที่ไม่ได้มีการตรวจทานคำผิดคำถูก (พิสูจน์อักษร) ตรงนี้เป็นปัญหาแน่นอน แม้ กสถ. จะชี้แจงว่า “เป็นข้อสอบที่ได้รับการคัดเลือกและการพิมพ์ต้นฉบับข้อสอบด้วยมาตรการการบริหารจัดการข้อสอบ ซึ่งต้องมีความมิดชิด ปลอดภัย รัดกุม ป้องกันการเข้าถึงจากผู้ไม่มีหน้าที่และป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบและคำตอบได้ 100%” อีกทั้ง ได้มีการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย สถานที่ บุคคล อย่างรัดกุม เข้มงวด และกำหนดการรักษาความลับแก่กรรมการคัดเลือกข้อสอบ เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อสอบให้เป็นความลับในระดับ “ลับที่สุด” นอกจากนี้ กสถ. ได้ออกประกาศชี้แจงการสอบไว้ 3 ฉบับ ในฉบับที่ 3 ได้แจ้งเตือนโซเชียลในการนำเข้าข้อมูลในคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นอันเป็นเท็จด้วย เรียกได้ว่ามีมาตรการเกินร้อย
การบริหารจัดการข้อสอบและการสอบแข่งขันที่ผิดหลง มีมาตรการ รปภ. ลับสุดยอดด้วย “ระบบฟิวส์ข้อสอบ ป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบที่เป็นระบบตรวจสอบระบบได้” ที่ไม่ได้กล่าวชี้แจงไว้ ที่หน่วยผู้ดำเนินการสอบต้องทำอย่างเคร่งครัด ในการบริหารจัดการสอบแข่งขันที่มีขั้นตอนอย่างน้อย 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กำหนดกรอบอัตราที่รับ (2) กำหนดเกณฑ์การสอบ (3) ประกาศเกณฑ์การสอบ และรับสมัคร (4) การออกข้อสอบ ควบคุมการจัดทำข้อสอบ รักษาความปลอดภัยข้อสอบ (5) การจัดสถานที่สอบ และลำดับที่นั่งสอบ สำหรับบริหารจัดการได้อย่างประสิทธิภาพ (6) ทำการสอบ เก็บรวบรวมคำตอบ (7) ตรวจความเรียบร้อย กระดาษคำตอบ ก่อนเข้าเครื่องตรวจ ในความเป็นมาตรฐานของข้อสอบ ก็คือ “ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้” (Validity & Reliability) ตามหลักการวัดและประเมินผล (Measurement and Evaluation) ที่สำคัญ 3 เรื่องคือ (1) การทดสอบ (Testing) เป็นชุดคำถามที่เรียกว่า “ข้อสอบหรือแบบทดสอบ” (2) การวัดผล (Measurement/Assessment ) หมายถึงการวัดคุณลักษณะ (Attribute) ของบุคคลจากผลการตอบคำถามในแบบทดสอบ (3) การประเมินผล (Evaluation)
ความบกพร่อง ที่เกิดจาก “การผิดตกยกเว้น หรือการผิดหลง” บ่งบอกถึงความบกพร่องของทีมสำนักทะเบียนและวัดผลที่ต้องตรวจสอบ ไม่ใช่ให้สำนักพิมพ์ (ผู้พิมพ์) ตรวจสอบดำเนินการ เมื่อมีหลุดมาจึงเป็น “สะเพร่า” ด้วยสัญญาจ้างที่มองว่าเป็นสัญญาจ้างบริการ (Service Contract) หรือสัญญาจ้างเหมาบริการ หรือ หรือสัญญาจ้างเหมา หรือสัญญาจ้างทำของ ก็แล้วแต่ ตามราคามาตรฐานที่มีการแข่งขันประมูลกัน โดยมืออาชีพ (จากมหาวิทยาลัย) แต่บกพร่องในการบริหารจัดการ “ออกข้อสอบ” ใช้ใครมาทำใช่มืออาชีพหรือไม่ มองมุมกลับด้าน รปภ.ข้อสอบที่มีอยู่แล้ว แต่ความผิดพลาดดังกล่าวโดยอ้างเกรงว่าข้อสอบรั่ว ถูกโจร ถูกเปลี่ยนตัวข้อสอบ จึงขาดน้ำหนักความเชื่อถือ ขาดที่หวังพึ่งพิง (คสช.มอบอำนาจให้) แล้วทำให้ความโปร่งใสมีตำหนิ แล้วใครเป็นตัวการต้นเหตุแห่งความบกพร่อง ที่จริงมีปัญหาการสอบแข่งขันนอกจากตัวข้อสอบดังกล่าวแล้ว อาจมีปัญหาการเรียกรับประโยชน์ การตกเบ็ด การหลอกลวง (ตามน้ำ) ในการบรรจุแต่งตั้งที่รับรู้กันภายใน อปท.มานานก็เป็นนโยบายที่อธิบดี สถ. คนปัจจุบันต้องการแก้ไขให้หมดไป นี่เป็นเพียงข้อสังเกตมุมกลับที่อาจมองผิดไปก็ได้
เงื่อนไขการเรียกบรรจุแต่งตั้ง บัญชีสอบแข่งขันท้องถิ่นปี 2560 มีการขึ้นบัญชีผู้สอบได้มีกำหนด 2 ปี จำนวน 32,369 คน แม้จำนวนอัตราว่างจะมีเพียงประมาณ 21,605 อัตรา แต่บัญชีสอบได้ไม่สมดุลกับตำแหน่งว่าง คือ บางตำแหน่งมีผู้สอบได้มากขึ้นบัญชีไว้มาก บางตำแหน่งไม่พอ ในการเรียกบรรจุในรอบท้าย คือ รอบที่ 11-12 (ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2562) จึงมีการเรียกไปบรรจุแต่งตั้งใน 4 กลุ่ม คือ (1) บรรจุในตำแหน่งที่สอบได้ และกลุ่มภาค/เขตที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ (2) บรรจุในตำแหน่งที่สอบได้ ในกลุ่มภาค/เขตอื่น (ไม่ใช่กลุ่มภาค/เขตที่ได้รับการขึ้นบัญชี) (3) บรรจุในตำแหน่งประเภทเดียวกันในตำแหน่งเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบได้ (4) บรรจุในตำแหน่งประเภทและระดับต่ำกว่าในตำแหน่งเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบได้ และการเรียกบรรจุรอบที่ 13 (รอบสุดท้าย) ได้ยกเว้นการบรรจุในกลุ่มที่ (2) นี่เป็นการคาดการณ์ การวางแผนอัตรากำลังบรรจุทดแทนที่ไม่มีความแน่นอน การสอบแข่งปี 2562 ครั้งนี้ก็เช่นกัน เพราะ ความสับสนของข้อมูลตำแหน่งกรอบอัตราตามโครงสร้าง และ กรอบอัตราว่าง ประกอบกับข้อมูลการโอนย้ายระหว่าง อปท. รวมทั้งการพ้นจากตำแหน่งกรณีต่าง ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด กล่าวคือ สถ. ไม่ได้นำตำแหน่งว่างของปี 2560 มาใช้ในการสอบแต่ตำแหน่งและจำนวนเป็นไปตามที่มีผู้สอบได้ การเผยแพร่ จึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงผู้สื่อข่าวรายงาน อย่างไรก็ตาม กสถ.ต้องการให้มีการใช้บัญชีมากที่สุด เพื่อ อปท. จะได้มีคนรุ่นใหม่ๆ ผู้มีความรู้มาทำงาน แต่ อปท. หลายแห่งไม่เร่งรัดการใช้บัญชี ไม่มีการเรียกใช้บัญชีมาทดแทนตำแหน่งว่าง ตามรูปแบบจัดโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ทั้งว่างเก่าว่างใหม่ ไม่ว่าการขอกำหนดอัตราตำแหน่งใหม่ หรือการพิจารณายุบตำแหน่งที่ว่างเกิน 1 ปี โดยไม่มีการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง ชี้ให้เห็นช่องว่างในการแก้ไขปัญหางบบุคลากรร้อยละ 40 ว่าได้ใช้งบด้านบุคลากรไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม หรือไม่เพียงใด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบริการประชาชน แม้ช่องว่างที่มีก็เป็นการจ้างเหมาบุคคลมาทำงานแทน ซึ่งถูกร้องเรียนว่าผู้บริหารท้องถิ่นมีส่วนได้เสียในสัญญาจ้างเหมาบุคคลนั้น จนเป็นคดีขึ้นสู่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (ศาล อท.) ในบางแห่ง
ปัญหาการกำหนดเงื่อนไขการสอบปี 2560 ที่ขัดต่อระบบคุณธรรม เช่น เงื่อนไขบรรจุที่ไปลดขั้นเงินเดือนของผู้ที่ขอรับรองใช้บัญชี ตามหนังสือสำนักงาน ก.กลาง ที่ มท 0809.3/ว 24 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ที่ให้ลดอัตราเงินเดือนในการย้ายสายงานสำหรับผู้ที่เงินเดือนเกินกว่าประกาศสอบระบุไว้ ตามประกาศสอบ ข้อ 11.3 คือให้ได้รับ 15,060 บาท นั้น ขัดกับ มาตรฐานทั่วไปให้ได้รับเงินเดือน กรณีการย้ายเปลี่ยนสายงานจากบัญชีสอบแข่งขันตามมาตรฐานทั่วไปที่มีอยู่เดิมที่ยังไม่ยกเลิก แม้มิใช่ปัญหาการสอบแข่งขัน แต่สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานCareer Path ในการบรรจุแต่งตั้งที่สืบเนื่องมาจากการสอบ ตามประกาศเงื่อนไขการขอรับรองบัญชีในครั้งผ่อนปรนให้มีการขอรับรองบัญชีสอบแข่งขันไปบรรจุแต่งตั้งได้เมื่อบัญชีครบกำหนด 1 ปี ในเหตุผลเชิงลึกทางการบริหารงานบุคคลไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้ หรือนี่เพราะปัญหาของ พรบ.ระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่ใช้มานานแต่ไม่แก้ไขหลักการโครงสร้างให้สอดคล้องกับบริบทของ อปท. ในปัจจุบัน
การคาดการณ์ผลการสอบท้องถิ่น จากสถิติเปรียบเทียบการสอบบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2562 กูรูติวข้อสอบเชื่อว่า การสอบครั้งนี้น่าจะจะมีผู้สอบผ่านมีจำนวนมากขึ้น โดยวิเคราะห์จากข้อสอบ ที่อยู่ในระดับความยากที่เหมาะสม แม้อาจมีพิมพ์ตกหล่นบ้างทำให้ผู้เข้าสอบหลายคนลังเลกับโจทย์ว่าพิมพ์ผิดหรือลวงกันแน่ แต่ตามหลักการให้คะแนนข้อสอบจะมีธงคำตอบอยู่แล้ว ยิ่งเป็นข้อสอบให้เลือกแบบปรนัย (Objective) ยิ่งต้องมีคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวเท่านั้น
ประเด็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากการสอบต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงจากการสอบของผู้เข้าสอบ การเยียวยาแก้ไขข้อสอบที่บกพร่องผิดพลาดที่ “มิใช่สาระสำคัญ” เชื่อว่า กสถ. คงไม่เปิดประเด็นให้ผู้เข้าสอบได้ร้องเรียน หรือเรียกร้องขอคะแนนเพิ่มขอคะแนนฟรีในข้อที่ “เป็นที่สงสัย” ว่า จะไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุด อันเนื่องมาจากข้อสอบที่พิมพ์ผิด พิมพ์ตก พิมพ์หล่น พิมพ์เกิน พิมพ์พลาด ฯลฯ ที่ทำให้ผู้เข้าสอบผิดหลง เข้าใจผิดไป ฉะนั้น โอกาสที่จะผ่านร้อยละ 60 ก็จะมากขึ้น และสำหรับผู้ที่เตรียมตัวมาพร้อมก็จะได้คะแนนเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น มองว่าคงไม่ใช่เรื่องโชคลาง หวังฟลุค แต่มันเป็นความผิดพลาดจริง ๆ ที่ผู้เข้าสอบต้องได้อานิสงค์จากคะแนนฟรี
ในมุมกลับมองเป็นเกมส์การสอบได้หรือไม่ เช่น หาก กสถ. ตั้งกำแพงการสอบไว้สูง เมื่อผู้เข้าสอบไม่ผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนมาก (สอบตกระนาว) เพราะไม่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานพอ เป็นเหตุผลไปประกอบแก้ไขการรับโอนข้าราชการอื่น ตามกระแสที่เป็นข่าวอยู่
 
กฎหมายบุคคลท้องถิ่นถูกดองเป็นตำนานไปพร้อมๆกับปัญหา ระยะเวลาบังคับใช้ พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มา 20 ปี จวนเจียนจะได้ตรา พรบ. ฉบับใหม่ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2554 จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถตรา พรบ. ฉบับใหม่ได้ จนกระทั่งเข้าสู่การปฏิรูปประเทศ คสช. โดย “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” (สปช.) และ “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” (สปท.) ในปี 2557-2559 ด้วยปัญหาใหญ่ทางด้านการบริหารงานบุคคลที่ท่านผู้รู้พยายามขมวดสรุปปมได้หลายข้อ แต่ที่แน่นอนว่าเป็นข้อหลักที่เหมือนกันมี 6 ประการ ขอลงซ้ำอีกหลายรอบคือ
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยคณะกรรมาธิการด้านการปกครองท้องถิ่น ได้เสนอเรื่อง “การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...” ไว้ มีปัญหาสำคัญ คือ (1) ปัญหาความไม่เป็นเอกภาพและมาตรฐานที่ต่างกันของคณะกรรมการการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (2) ปัญหาการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือกไม่โปร่งใส (3) ปัญหาการกำหนดโครงสร้างและอัตรากำลังมากเกินความจำเป็น (4) ปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (5) ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย (6) ปัญหาวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระดับคณะกรรมการข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ.จ., ก.ท.จ. และ ก.อบต.จังหวัด) ซึ่งบรรดาคณะกรรมาธิการซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิการปกครองท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ได้ตกผลึกกรอบความคิดออกมาแล้ว และ สำนักงาน ก.ถ. กระทรวงมหาดไทย ได้รับลูกมาจัดทำร่างกฎหมายระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่นแล้ว แต่เหตุใดจึงมีการนำมาแก้ไขกันใหม่ คิดในกรอบใหม่อีกไม่เป็นที่ยุติ ที่แสดงให้เห็นว่ามีความไม่ลงตัวมาแต่แรก เพราะหากมีการลงตัวกันมาแล้ว ก็ไม่ควรมีประเด็นที่จะต้องมาถกเถียงแก้ไขอะไรกันอีก
แน่นอนว่า ผู้ขับเคลื่อนการปฏิบัติเขาเหล่านี้ก็คือ “ข้าราชการส่วนท้องถิ่น” ให้นำความเดือดร้อนความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ของเขามาเป็น “นโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เจริญก้าวหน้า” ตามหลักการกระจายอำนาจตามระบบประชาธิปไตย มิใช่การรวมอำนาจโดยราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค

ที่มา




Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view