http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,078,857
เปิดเพจ6,196,594

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

รวมคำสัมภาษณ์ของท้องถิ่น ของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://pun2013.bth.cc/webboard/topic-view-338872

(อ่าน 57849/ ตอบ 8)

เว็บมาสเตอร์

รวมคำสัมภาษณ์ของท้องถิ่น ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ เลื่อนดูด้านล่างๆ (จะเอาลงเพิ่มเติมอีก หากมีข้อมูล)  (ลองดูครับ เผื่อใช้ประโยชน์ได้บ้าง)

โหลดไปอ่าน  
https://drive.google.com/file/d/0ByXtvclEr9I9eUJzWURPTmFDTEE/view?usp=sharing

แนะนำการสอบท้องถิ่น ภาค ค. สอบสัมภาษณ์
https://www.youtube.com/watch?v=g12jSSZymhE




ที่มา actgroup9



























คำถามสัมภาษณ์ สอบท้องถิ่น 
https://drive.google.com/file/d/1JFI09ssFpd0b9Dtfz0NQTHIDLC7ZhQFG/view?usp=sharing


 การเตรียมตัวสอบภาคค.ท้องถิ่น(อบต.อบจ.เทศบาล  เมืองพัทยา) 

คำแนะนำในการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง(สัมภาษณ์) 
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง(ภาคค)(คะแนนเต็ม100คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษาประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ทั้งนี้อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆเช่นความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความสามารถประสบการณ์ท่วงทีวาจาอุปนิสัยอารมณ์ทัศนคติจริยธรรมและคุณธรรมการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่นเป็นต้น
ตามประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ระบุขอบเขตในการประเมินผู้เข้าสอบในภาคค.จะจำแนกได้ดังนี้
1."จากประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษาประวัติการทำงาน"กรรมการจะดูจากตรงไหน?
-รายละเอียดในใบสมัครที่ผู้สมัครกรอกไว้ตอนสมัครสอบ
-จากการสอบถามผู้เข้าสอบโดยตรงหรือให้ผู้เข้าสอบแนะนำตัว(เจอแน่นอน)
-จากแฟ้มผลงาน(หากมีหรือหากเจ้าหน้าที่อนุญาตให้นำเข้าห้องสอบได้สำหรับผู้ที่ไม่มีก็ไม่ใช่ปัญหา)
ในส่วนประวัติฯให้ผู้สมัครเตรียมตัวสำหรับการพูดแนะนำตัวเองไปด้วยเพราะกรรมการจะต้องให้แนะนำตัวเอง"แนะนำตัวหน่อย","พูดเกี่ยวกับตัวคุณหน่อยชื่ออะไรทำงานที่ไหนอายุเท่าไหร่"คำถามก็ประมาณนี้
ในการตอบก็ให้ฝึกไว้ก่อนว่าจะพูดอะไรก่อนหลังเรียงลำดับไว้เพราะถ้าไม่ท่องไว้ก่อนพอไปเจอสถานการณ์จริงเกิดอาการตื่นเต้นจะหลงลืมพูดติดๆขัดๆได้
การแนะนำตัวเช่นกระผม/ดิฉันชื่อ..............อายุ......การศึกษา...........การทำงาน..........(อื่นๆที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์)จะเพิ่มเติมจะนำเสนอตัวเองในสิ่งที่คิดว่าน่าสนใจก็แนะนำด้วยเช่นความสามารถพิเศษเป็นต้น
2."พฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์"
ตรงส่วนนี้กรรมการจะดูเราตั้งแต่การแต่งกายทรงผมท่าทางที่เราแสดงออกเช่นการเดินการนั่งเป็นต้น
การแต่งกายของผู้เข้าสอบภาคค.จะต้องเรียบร้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ชายควรสวมเสื้อแขนยาวสีเรียบกางเกงขายาวรองเท้าหุ้มส้น
ก่อนจะเข้าห้องสอบให้เคาะประตูก่อนแล้วขออนุญาตพอเดินไปถึงโต๊ะกรรมการก็สวัสดีแล้วอย่ารีบนั่งรอฟังคำสั่งจากกรรมการก่อนว่าจะให้เราแนะนำตัวหรือจะให้นั่งก่อน
3."ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความสามารถประสบการณ์ท่วงทีวาจาอุปนิสัยอารมณ์ทัศนคติจริยธรรมและคุณธรรมการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น"
ส่วนนี้สำคัญมากคำถามที่กรรมการมักจะถามเช่น
-ทำไมถึงอยากรับราชการ?
-ทำไมถึงอยากรับราชการในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
-คุณคาดหวังอย่างไรกับอาชีพรับราชการ
-หากสอบตำแหน่งที่ไม่ตรงกับคุณวุฒิจะเจอคำถามเช่น"คุณจบนิติศาสตร์มาแล้วทำไมมาสอบตำแแหน่งนักพัฒนาชุมชน","คุณจะนำความรู้ที่คุณเรียนมาไปปรับใช้กับตำแหน่งที่สมัครได้อย่างไร(คำถามนี้มักจะเป็นคำถามที่กรรมการถามบ่อยในหลายๆหน่วยงาน)"
-หากคุณจบระดับปริญญาตรีแต่สมัครในระดับต่ำกว่ากรรมการจะถามว่า"คุณจบปริญญาตรีทำไมมาสอบในตำแหน่งวุฒิปวส.","เงินเดือนวุฒิปวส.น้อยกว่าปริญญาตรีรับได้ไหม"
-หากคุณทำงานมีอาชีพอยู่แล้วกรรมการมักจะถามว่า"อาชีพที่ทำก็ดีอยู่แล้วทำไมถึงอยากมาทำงานนี้","ถ้าหากคุณสอบได้คุณก็ต้องลาออกจากที่ทำงานเดิมคุณไม่ห่วงหน่วยงานเดิมเหรอที่ต้องขาดบุคลากรไปคุณไม่สงสารเพื่อนร่วมงานเหรอที่ต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น"
-หากคุณเพิ่งเรียนจบหรือยังไม่ได้ทำงานกรรมการอาจถามว่า"คุณยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานคุณจะมีแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างไร"
-กรรมการจะถามเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่สมัครสอบเช่นคุณทราบหรือไม่ว่าตำแหน่งนักพัฒนาชุมชนทำอะไรบ้างมีหน้าที่อย่างไร?(ปรับใช้กับตำแหน่งที่คุณสมัครสอบ)
-จงบอกข้อดีและข้อเสียของคุณ
-ถ้าคุณได้บรรจุฯคุณจะทำอะไรเป็นสิ่งแรก(อาจเกี่ยวกับงานในหน้าที่หรือถามเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว)
-หากคุณได้บรรจุฯเข้าไปทำงานแล้วเกิดปัญหาในการปฏิบัติงานคุณจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร?
-การจะเป็นข้าราชการที่ดีต้องปฏิบัติตนอย่างไร?
-หากได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำในสิ่งที่ผิดระเบียบฯคุณจะทำอย่างไร?(ตอบไปเลยไม่ทำเพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย,ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่หากคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ผิดระเบียบหรือมิชอบด้วยกฏหมายผู้ใต้บังคับบัญชาก็มีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งได้)
-อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชื่ออะไร
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชื่ออะไร
-คำขวัญประจำจังหวัดภูมิลำเนา
-หลักธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
-ถามความรู้เกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่สมัครสอบ
***เป็นเพียงตัวอย่างคำถามที่คณะกรรมการฯมักจะถามในการสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในหน่วยงานต่างๆโดยคำถามจะผันแปรไปกับตำแหน่งที่คุณสมัครและคำตอบของคุณอาจจะเป็นคำถามข้อต่อไปดังนั้นคุณจะต้องหาทางหนีทีไล่ให้ได้
***สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเข้าสอบสัมภาษณ์คืออาการตื่นเต้นโดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเคยเข้าสอบสัมภาษณ์เป็นครั้งแรกวิธีแก้สำหรับแต่ละบุคคลก็อาจจะแตกต่างกันออกไปคำแนะนำคือให้สูดลมหายใจเข้าปอดลึกๆหาวิธีผ่อนคลายตัวเองเช่นพูดคุยกับเพื่อนที่รอสอบสัมภาษณ์ด้วยกันหรือคุยกับพี่ๆเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบ
***ไม่จำเป็นต้องตอบทุกคำถามหากมีคำถามที่คุณไม่รู้จริงๆและหากตอบไปจะไม่เป็นผลดีกับตัวคุณก็ให้ตอบว่าไม่ทราบจะดีกว่า



รวมคำสัมภาษณ์ของท้องถิ่น ของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น 
มาดูทีละคนครับ
***************************************
1.คุณจะทำให้อบต. คุณมีความก้าวหน้าได้อย่างไร. 
2.ถ้าคนในอบต. ไม่ชอบหน้าคุณ คุณจะทำอย่างไงไร 
3.คุณจะทำให้ฝ่ายของคุณมีความเจริญอย่างไร 
4.นวัตกรรมคืออะไร แล้วจะใช้นวัตกรรมอะไรมาใช้ในฝ่ายของคุณ(หินมากๆ)
5.ตำแหน่งคุณมีหน้าที่อะไรบ้าง อธิบายมาหน่อย
****************************************************
กรรมการ 3 คน 3 คำถามค่ะ
1.คุณกำลังทำงานยุ่งๆ จนหัวหมุน แล้วมีคนมาติดต่อและเอะอะโวยวายเสียงดัง คุณมีวิธีจัดการอย่างไร
2.คุณมาสอบตำแหน่งนี้ติดถ้าได้บรรจุแล้วต้องออกไปอยู่ที่อื่นคุณคิดว่าผู้บังคับบัญชาของคุณจะรู้สึกอย่างไร
3.ผมอยากรู้ว่าคุณไปได้แนวความคิดมาจากไหนที่ทำกระดาษแนะนำตัวเองและความสามารถพิเศษแผ่นเดียวมาให้ผมดู คุณไปลงทุนจ้างใครทำให้หรือเปล่า

**********************************************
กรรมการสามคนเปลี่ยนกันถาม
คนที่ 1 ทำงานกับอบจ.ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรขนาดใหญ่แล้วต้องมาทำงานกับเทศบาล อบต. องค์กรขนาดเล็กจะสามารถปรับตัวได้ไหม
คนที่ 2 ถ้าคุณสอบได้ลำดับที่ 47 (มีตำแหน่งว่าง 46 ตำแหน่ง) แล้วคนที่สอบได้ลำดับที่ 48 หาที่ลงได้ แล้วเขาขอให้คุณสละสิทธิ์คุณจะทำอย่างไร , ลักษณะงานที่ปฏิบัติในหน้าที่ของคุณเป็นอย่างไร (หมายถึงตำแหน่งที่สอบได้)
คนที่ 3 คติประจำใจในการทำงานของคุณคือ

************************************
ถามประวัติ  การศึกษา  ประสบการณ์ทำงาน  เเล้วก็ถามว่าทำไมถึงอยากมาทำ ตน. นี้  เเล้วมีความคาดหวังอะไรกับงาน
******************************************************
- รู้สึกอย่างไรกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น?
- นิติกร ควรออกหน่วยเยี่ยมเยียนประชาชนไหม?
**********************************************

1.ถ้าคุณเป็นผู้บริหารส่วนท้องถิ่นคุณจะพัฒนาอะไรเป็นอย่างแรก
2.คุณคิดยังไงกับอปท.(ตัวเองอยู่หน่วยงานส่วนภูมิภาค)
3.คุณอยู่เสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง จะหาทางออกให้ประเทศชาติอย่างไร
4.คุณเป็นคุณญี่ปุ่นหรือป่าว (นามสกุลคล้ายญี่ปุ่น)  
5.คำถามเกี่ยวกับตำแหน่งประมาณ 2-3ข้อ  เช้น  แจ้งเกิดเมื่อไหร่ /แจ้งตายเมื่อไหร่ / ใครเป็นนายทะเบียนท้องถิ่น



****************************************************
ที่มา ชุมชนคนท้องถิ่น
*************************

การสอบภาคความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)

การสอบภาคความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง คือการสอบภาค ค. หรือการ สอบสัมภาษณ์ นั้นเอง

1. ความสำคัญของการสอบสัมภาษณ์ การสอบสัมภาษณ์มีความสำคัญมากด้วยเหตุผลดังนี้คือ

1.1 กรณีที่ผู้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ผ่านการสอบข้อเขียนแล้ว การสอบสัมภาษณ์จะเป็นด่านสุดท้ายที่จะชี้ขาดว่าผู้สอบจะสอบได้หรือสอบตก 

1.2 กรณีคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนนวิชาภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (การสอบสัมภาษณ์) มากกว่า ผู้นั้นจะได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ที่สอบได้ในอันดับที่สูงกว่า

2. วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังนี้ คือ

2.1 เพื่อพิจารณาบุคลิกลักษณะว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ 

2.2 เพื่อพิจารณากิริยามารยาท ท่วงที วาจา ว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่

2.3 เพื่อพิจารณาเชาว์ ไหวพริบ สติปัญญา และการใช้วาจาโต้ตอบว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ 

2.4 เพื่อทดสอบอารมณ์และจุดยืนที่ซ่อนอยู่ภายในว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ 



3. การอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับ การสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย

4. ลักษณะคำถามที่ใช้ในการสอบสัมภาษณ์



ประเภทที่ 1 เป็นคำถามอิสระแล้วแต่กรรมการสอบสัมภาษณ์จะเลือกตั้งคำถามขึ้นเองได้ตามความเหมาะสม 

ประเภทที่ 2 เป็นคำถามที่ฝ่ายดำเนินการสอบสัมภาษณ์จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ในทำนองเป็น คลังข้อสอบสัมภาษณ์ เมื่อถึงเวลาสอบสัมภาษณ์อาจให้ผู้เข้าสอบหรือกรรมการสอบสัมภาษณ์เป็นผู้หยิบคำถามจากกล่องหรือภาชนะที่จัดไว้เมื่อหยับได้คำถามใดก็สัมภาษณ์กันในคำถามนั้น

ประเภทที่ 3 เป็นการนำคำถามประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สองผสมกัน กล่าวคือเปิดโอกาสให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ตั้งคำถามได้โดยอิสระส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นคำถามที่ได้มาโดย การหยิบคำถามจากกล่อง หรือภาชนะที่ฝ่ายดำเนินการสอบสัมภาษณ์เตรียมไว้ ไม่ว่าเป็นคำถามประเภทใดก็ตาม คำถามที่ใช้ในการสอบสัมภาษณ์บ่อย ๆ มักเป็นดังนี้ 



4.1 คำถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว เพื่อทราบภูมิหลังและสร้างความคุ้นเคย เช่น ชื่อ สกุล อายุ ภูมิลำเนา การศึกษา 

4.2 คำถามเกี่ยวกับข้อสอบข้อเขียนที่สอบไปแล้ว เพื่อประเมินว่าผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้มากน้อยเพียงใด และเพื่อหาประเด็นซักถามในบางหัวข้อ 

4.3 คำถามเกี่ยวกับความเห็น หรือทัศนคติเกี่ยวกับตำแหน่งที่สอบ หน่วยงานที่รับสมัครสอบ 

4.4 คำถามเกี่ยวกับหลักธรรมในทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ศีลห้า พรหมวิหาร 4 ทศพิธราชธรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

4.5 คำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน เช่น อาจจะหยิบยกหัวข่าวบางหัวข้อที่หนังสือพิมพ์ พาดหัว เพื่อทดสอบความรอบรู้และความคิดเห็น 

4.6 คำถามเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิต 

4.7 คำถามเกี่ยวกับความล้มเหลวในชีวิต 

4.8 คำถามเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ 

4.9 คำถามเกี่ยวกับเชาวน์ ไหวพริบ สติปัญญา 

4.10 คำถามเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของประเทศ กระทรวง กรม หน่วยงานที่รับสมัครสอบ 

4.11 คำถามเบ็ดเตล็ด แล้วแต่กรรมการสอบสัมภาษณ์จะนึกขึ้นได้หรือแล้วแต่การสนทนาจะพาไปในทำนองลูกติดพัน



5. การแต่งกายเพื่อเข้ารับการสอบสัมภาษณ์



5.1 แต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบร้อย สีไม่ฉูดฉาด และไม่มีลวดลาย 

5.2 ตัดผมสั้น ไม่ไว้หนวดเครา 

5.3 ไม่ไว้เล็บยาว 

5.4 ติดกระดุมเสื้อให้ครบ 

5.5 เหน็บปากกาให้เรียบร้อย 

5.6 รองเท้าเช็ดให้สะอาด ขัดให้มันวาว 

5.7 ไม่ใส่แว่นตาที่มิใช่แว่นสายตา



6. การรายงานตัวเพื่อเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ การรายงานตัวที่ดีควรเป็นดังนี้



6.1 ชาย ยืนตรงแล้โค้งคำนับอย่างสวยงาม หญิง ยืนตรงแล้วก้มตัวลงไหว้อย่างนอบน้อม โดย ทำความเคารพกรรมการสอบสัมภาษณ์คนที่เป็นอาวุโสหรือประธาน หากไม่แน่ใจว่ากรรมการท่านใดเป็น ผู้อาวุโสหรือประธาน อาจทำความเคารพไปยังตรงกลางที่บรรดากรรมการนั่งอยู่ ไม่ควรจะทำความเคารพ ทีละคนเพราะจะดูรุ่มร่าม แต่ถ้ามีกรรมกรเพียง 2 คน ก็อาจพออนุโลมให้ทำความเคารพทีละคนได้ แต่ถ้ากรรมการสอบสัมภาษณ์นั่งอยู่คนเดียวก็หมดปัญหาไป 

6.2 ต่อจากนั้นให้รายงานตัวด้วยเสียงดังพอประมาณว่า ผู้เข้าสอบชื่อ – สกุลอะไร หมายเลขประจำตัวที่เท่าใด มาขอรับการสอบสัมภาษณ์

6.3 เมื่อกรรมการเชิญให้นั่ง ให้กล่าวคำว่า ขอบพระคุณหรือขอบคุณ ถ้าเป็นชายอาจโค้งคำนับ หญิง อาจไหว้อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนั่งลงในที่นั่งที่จัดไว้



7. การวางตัวในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์



ตามปกติการสอบสัมภาษณ์จะเป็นการคุยกันระหว่างผู้ใหญ่ (กรรมการ) กับผู้น้อย (ผู้เข้าสอบ) ดังนั้น ผู้เข้าสอบพึงวางตัวสำรวมเป็นการให้เกียรติหรือความเคารพแก่กรรมการ ไม่พึงวางตัวเสมอหรือทำตัวเหนือกว่า เพราะจะทำให้กรรมการขาดความเมตตาต่อผู้เข้าสอบได้ การวางตัวอย่างสำรวมนั้น หมายความว่า วางตัวอย่างสงบ ใบหน้ายิ้มน้อย ๆ พูดด้วยเสียงที่ดังพอประมาณ ไม่ค่อยเกินไปจนไม่ได้ยิน ไม่ดังจนเกินไปจนเป็นการตะโกน เสียงที่พูดไม่สั่นหรือประหม่า หากเกิดอาหารเสียงสั่นหรือประหม่า อาจแก้ไขด้วยการหายใจยาว ๆ ลึก ๆ เข้าปอดให้เต็มสัก 3 – 5 ครั้ง สายตา ไม่ควรเหม่อขึ้นบนหรือเหม่อลงล่าง ควรมองที่ใบหน้าของกรรมการที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างคิ้วหรือริมฝีปาก แต่ไม่ควรมองแบบจ้องเขม็ง



8. การซักถามกรรมการในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์



คนที่ตอบคำถามได้คล่องแคล่ว วาจาฉะฉานย่อมเป็นที่พอใจของกรรมการสอบสัมภาษณ์มากกว่า คนที่ตอบคำถามอย่างติดขัดหรืออ้ำอึ้ง กรณีกรรมการสอบสัมภาษณ์ซักถามในบางคำถามที่ผู้เข้าสอบตอบไม่ได้ หรือ ตอบไม่ได้ดี อาจทำให้เกิดอาการงงหรือเกร็ง นั่งนิ่งอึ้ง พูดไม่ออกซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้เข้าสอบเสียคะแนน เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการดังกล่าว เมื่อผู้เข้าสอบเผชิญสถานการณ์เช่นนั้น ควรจะปฏิบัติตนดังนี้ 



8.1 ขอประทานโทษกรรมการ ให้ถามซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่ากรรมการถามอะไรกันแน่ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสอบมีโอกาสตรึกตรองในระหว่างที่รอกรรมการถามซ้ำ 



8.2 เมื่อได้ฟังคำถามซ้ำจากกรรมการแล้ว หากปรากฏว่ายังตอบไม่ได้ หรือตอบไม่ได้ดีควรจะออกตัวอย่างสุภาพว่า เรื่องดังกล่าวผู้เข้าสอบไม่ค่อยสันทัด โดยให้เหตุผลประกอบ เช่น ไม่เคยศึกษามาก่อน ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่ก็จะขออธิบายตามความเข้าใจ ด้วยวิธีนี้กรรมการจะเกิดความประทับใจในตัว ผู้เข้าสอบที่รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ยอมนั่งนิ่งจนมุม คำอธิบายในกรณีเช่นนี้ถูกหรือผิดไม่ใช่ประเด็นสำคัญแล้ว



9. การถูกยั่วยุในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

การสอบสัมภาษณ์มีวัตถุประสงค์ประการหนึ่ง คือ ต้องการทดสอบอารมณ์ของผู้เข้าสอบว่าจะมีขีดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดีเพียงใด กรรมการอาจตั้งคำถามหรือใช้ข้อความบางอย่างยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธ เกลียด เสียใจ หรือน้อยใจ ผู้เข้าสอบบางคนเกิดความสะเทือนใจอย่างมากถึงกับร้องไห้ต่อหน้ากรรมการก็มี เช่น หญิงหม้ายบางคนซักถามถึงชีวิตครอบครัว กรรมการบางคนพยายามใช้ถ้อยคำซักถามต้อนให้ ผู้เข้าสอบพูดในสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจจนผู้เข้าสอบเกิดอาการอึดอัด บางทีกรรมการใช้ถ้อยคำในลักษณะเป็นเชิงดูหมิ่น เพื่อให้โกรธ ในสถานการณ์เหล่านี้พึงทำใจให้สงบ สบาย ๆ พยายามยิ้มเข้าไว้แม้ว่า จะ เป็นการฝืนยิ้มก็ตาม

10. การเกิดอารมณ์ขันในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

ในการสอบสัมภาษณ์ครั้งใดหากผู้เข้าสอบสามารถพูดคุยหรือสนทนาจนกรรมการยิ้ม หัวเราะหรือเกิดอารมณ์ ขอให้สบายใจได้ว่าจับทางกรรมการถูกต้อง และถ้าผู้เข้าสอบสามารถตอบคำถามได้คล่องแคล่วถูกต้อง คะแนนสัมภาษณ์ในครั้งนี้จะต้องดีแน่นอน อย่างไรก็ดี การมีอารมณ์ขันก็มีขอบเขตจำกัดคือ ควรจะมีอารมณ์ขันในอาการสำรวม ไม่ควรปล่อยให้มีอารมณ์จนดูเสียบุคลิกหรือมารยาทไป มิฉะนั้น กรรมการอาจจะมองว่าผู้เข้าสอบเป็นคนเจ้าสำราญ ไม่เอาจริงเอาจัง ขี้เล่น จนไม่ว่าไว้ใจว่าจะมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ถ้าเผอิญเกิดอารมณ์ขันสุดขีดจนหัวเราะไม่หยุด ควรจะรีบนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องจริงจัง เพื่อน้อมใจให้สงบ เสร็จแล้วควรจะขออภัยกรรมการด้วย

11. กรณีที่กรรมการสอบสัมภาษณ์ไม่ค่อยซักถาม

บรรยากาศปกติของการสัมภาษณ์น่า จะ เป็นว่ากรรมการถาม ผู้เข้าสอบตอบและสนทนากันไป โดยผู้เข้าสอบควรดูสีหน้าของกรรมการประกอบด้วยว่า ยังคงให้ความสนใจที่จะฟังคำตอบของตนเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ หากดูทีท่ากรรมการไม่สนใจที่จะฟังคำตอบอาจจะหยุดเพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการซักถามต่อ อาจจะเป็นเพราะว่ากรรมการเหนื่อยเนื่องจากสอบสัมภาษณ์มาทั้งวัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเกิดสภาพแบบต่างฝ่ายต่างนิ่ง สภาพเช่นนี้ไม่เป็นผลดีแก่ผู้เข้าสอบ กรรมการอาจจะเห็นว่าพูดไม่คล่องไม่น่าฟังไม่น่าประทับใจ หรืออาจจะเชิญผู้เข้าสอบลุกขึ้นและบอกว่าเสร็จแล้ว การป้องกันและแก้ปัญหาเช่นนี้ ควรจะทำโดยผู้เข้าสอบเป็นฝ่ายเริ่ม พูดขึ้นก่อน เช่น ขอเสริมคำพูดในบางประเด็นที่ได้พูดไปแล้วแต่เห็นว่ายังไม่ชัดเจนหรือแม้ว่าจะเสนอข้อเท็จจริง หรือความเห็นบางอย่างให้กรรมการรับทราบก็ยังได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การสนทนาดำเนินต่อไปได้

12. เมื่อการสอบสัมภาษณ์ยุติลง

เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์บอกว่า การสอบสัมภาษณ์เสร็จแล้วให้ท่านกล่าว ขอบคุณ ลุกขึ้น แล้วทำความเคารพอย่างนอบน้อม โอกาสนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่ผู้เข้าสอบจะตักตวงคะแนนจากการสอบสัมภาษณ์ ดังนั้นจึงไม่ควรรีบลุกขึ้น




เว็บมาสเตอร์

เทคนิคการเตรียมตัวตอบสัมภาษณ์ในการสอบเป็น”ครูผู้ช่วย”



...จินตนาการเหนือกว่าความรู้...ไอสไตน์พูดเอาไว้  ขณะที่นักพูดสร้างแรงจูงใจหลายท่าน ก็กล่าวว่า ...หากเราคิดและจิตนาการเป็นภาพใส่อารมณ์ร่วมเข้าไปด้วย สิ่งที่จินตนาการนั้นก็จะเป็นผลจริง..... ปรารถนาให้ผู้เข้าสอบแข่งขันเป็นครูผู้ช่วย ได้จินตนาการว่าได้ทำข้อสอบข้อเขียนในห้องสอบได้อย่างมีความสุข เดาข้อสอบไม่กี่ข้อ นอกนั้นทำได้หมดเลย สุขใจมาก คะแนนข้อเขียนผ่านเกณฑ์ชัวร์  เหลือแต่สัมภาษณ์ "จะต้องก้าวข้ามได้อย่างข้อเขียนแน่นอน"


 


..ข้อเขียนต่อไปนี้จะช่วยให้ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ได้ใช้จินตนาการเพื่อความสำเร็จสมบูรณ์ โดยมีเป้าหมายว่าทำคะแนนสัมภาษณ์ได้ 50 หรือใกล้ 50 คะแนน ตังเป้าอย่างนั้น…


 


การสรรหาบุคคลเข้าทำงานในหน่วยงานหรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรืองานราชการ มักจะใช้การสัมภาษณ์เป็นวิธีหนึ่งในการคัดเลือกเพื่อดูความเหมาะสมของบุคคล ยิ่งหากเป็นการคัดเลือกบุคคลให้เข้ารับราชการจะมีหลักสูตรกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ดังเช่น การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรเข้ารับราชการเป็นราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ. 0206.6/ว14 ลงวันที่ 24 กรกฏาคม 2557 ที่เรียกย่อว่า “การสอบครูผู้ช่วยตาม ว14/2557” ได้กำหนดให้ประเมินในภาคความเหมาะสมด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งกำหนดคะแนนเต็มในส่วนนี้ไว้ 50 คะแนน


 


จึงเป็นโจทย์สำคัญของผู้เข้าสอบว่า จะทำอย่างไรที่จะให้ได้คะแนนเต็ม 50 หรือใกล้เคียง 50 ...เพราะคะแนนส่วนนี้หากประมวลในภาพรวมแล้วจะได้ง่ายที่สุด เป็นคะแนนที่ไปเติมเต็มภาคข้อเขียนได้เป็นอย่างดี... ผู้เข้าสอบสามารถแก้โจทย์นี้ได้ หากเรียนรู้และปฏิบัติตามเทคนิควิธีการการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ ..ดังนี้ครับ


 



การสอบสัมภาษณ์และการให้คะแนนมีหลักเกณฑ์อย่างไร?


“การสอบสัมภาษณ์”  เป็นวิธีการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตามหลักสูตรสอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของส่วนราชการต่างๆ โดยทั่วไปการพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง จะพิจารณาจาก ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัย ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ  คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือ อื่นๆ ตามหน่วยงานผู้สอบฯ กำหนด


 


ดังเช่น การสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. กรณีทั่วไป ตาม ว14/2557 ได้กำหนดให้มีการสอบสัมภาษณ์ โดยประเมินจาก “ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  บุคลิกลักษณะท่วงทีวาจา  วุฒิภาวะทางอารมณ์ การมีปฏิญาณไหวพริบ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติและอุดมการณ์”


 


การประเมินความเหมาะสมด้วยวิธีการสัมภาษณ์ หลักสูตรการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันฯจะกำหนดคะแนนเต็มในส่วนนี้รวมเป็นคะแนนเต็ม 50 คะแนน ส่วนจะแยกย่อยคะแนนแต่ละประเด็นหรือไม่อย่างไร ขึ้นกับหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานของหน่วยสอบ ในการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. กรณีทั่วไป ตาม ว14/2557 หลักเกณฑ์กำหนดแค่ประเด็นการประเมินฯ แต่หน่วยสอบ (กศจ.) อาจกำหนดรายละเอียดคะแนนในแต่ละประเด็น เช่น “ประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษา (10 คะแนน)  บุคลิกลักษณะท่วงทีวาจา (10 คะแนน)  วุฒิภาวะทางอารมณ์ (10 คะแนน)  การมีปฏิญาณไหวพริบ  (10 คะแนน)  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เจตคติและอุดมการณ์ (10 คะแนน) รวมคะแนนเต็ม 50 คะแนน”


 


ในการให้คะแนนการสอบสัมภาษณ์ของกรรมการผู้สอบสัมภาษณ์ (เป็นแนวทางปฏิบัติมักกำหนดโดยหน่วยสอบ) จะกำหนดช่วงของคะแนนที่จะให้ไว้อย่างชัดเจน เหมาะสม และเป็นธรรม เช่น กำหนดความต่างของคะแนนผู้เข้าสอบฯไม่เกิน 3 คะแนนบ้าง (ต่ำสุด 47 คะแนน สูงสุด 49 คะแนน) หรือ 5 คะแนน (ต่ำสุด 45 คะแนน สูงสุด 49 คะแนน) มักไม่นิยมให้คะแนนเต็ม 50 เพราะโดยหลักการแล้วจะไม่มีใครที่จะสมบูรณ์ เยี่ยมยอด (หากจะให้คะแนนเต็ม 50 ก็สามารถทำได้ แต่กรรมการอาจบันทึกชี้แจงเพิ่มเติม อันนี้ก็เป็นเรื่องที่หน่วยสอบกำหนดเช่นกัน)


 


ดังนั้นผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จึงไม่ต้องวิตกหรือกังวลมากนัก อย่างไรก็ได้คะแนนส่วนนี้เกิน 40 คะแนน อย่างแน่นอน นั่นหมายถึง สิ่งที่ทำให้สอบได้หรือสอบตกจึงไม่ได้อยู่ที่การสอบสัมภาษณ์แต่อยู่ที่การสอบข้อเขียนต่างหาก


 


จะเตรียมตัวและเข้าสอบสัมภาษณ์อย่างไรให้ได้คะแนนมากที่สุด?


ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นแล้วว่า การสัมภาษณ์ เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยประเมินผู้เข้าสอบทุกคน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย เจตคติ และบุคลิกภาพ ดังนั้นการจะเป็นผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ดีและได้คะแนนมากที่สุด (ให้ถูกตัดน้อยที่สุด) ควรมีและ ใช้เทคนิคการเตรียมสอบสัมภาษณ์ การเข้าสอบสัมภาษณ์ จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจ


 


จากที่เคยผ่านการถูกสัมภาษณ์ และเคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ใคร่แนะนำดังนี้


1) เบื้องต้นควรกรอกใบสมัครให้ดี และมีความสมบูรณ์มากที่สุด เพราะกรรมการสอบสัมภาษณ์ส่วนมากจะดูข้อมูลส่วนตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากใบสมัครประกอบการสัมภาษณ์ด้วย(ตอนสมัครสอบ)


2) ในวันสอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย สะอาด ภูมิฐานมากที่สุด หากใส่สูท ผูกไทด์ รองเท้าคัทชู จะสุดยอดมากเลย


3) ควรงดสูบบุหรี่ เครื่องดื่ม หรืออาหารกลิ่นจัด เพราะหากขณะสัมภาษณ์กลิ่น คงไม่เป็นที่สบอารมณ์กรรมการมากนัก ทางที่ดีนอกจากไม่ดื่มแล้วควรอมลูกอมให้ปากหอมแทนจะดีกว่า


4) ขณะรอสัมภาษณ์ควรรอด้วยความอดทน ทำจิตใจให้สงบ สดชื่น ผ่องใส มีอารมณ์ร่าเริง เบิกบาน


5) ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน่วยงานที่เราสมัครสอบว่า มีความเป็นมาอย่างไร หัวหน้าหน่วยงานชื่ออะไร เพราะหากถูกสัมภาษณ์ แล้วตอบไม่ได้ อาจส่งผลต่อการให้คะแนนในภาพรวม


6) เมื่อผู้สอบคนอื่นออกจากห้องสอบสัมภาษณ์ หากมีโอกาสก็สอบถามข้อมูลหรือประเด็นที่กรรมการสัมภาษณ์ถาม เพื่อจะเตรียมคำตอบ เพราะโดยทั่วไปประเด็นที่ถาม มักจะถามคล้ายๆ กัน


7) เมื่อถูกเรียกชื่อให้เข้ารับการสัมภาษณ์ ขณะเดินเข้าห้องสอบช่วงนั้นโดยทั่วไปมันจะหวิวและตื่นเต้นมาก ให้หายใจลึก ๆ และเรียกกำลังใจ สู้ ๆ ขณะเดิน ควรก้าวเดินให้เป็นปกติ ระมัดระวัง แต่เต็มไปด้วยความมั่นใจ


8) เมื่อไปถึงหน้าโต๊ะสัมภาษณ์ ควรยกมือไหว้กรรมการ และนั่งลงเมื่อได้รับการบอกให้นั่ง บางที่กรรมการอาจมีกติกาหรือแนวทางที่ไม่บอกเพื่แประเมินอะไรซักอย่าง อย่างนี้ดูห่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วนั่งลง


9) ตั้งใจฟังประเด็นคำถามที่ถาม ตอบให้ตรงประเด็น โดยเล่าสั้นๆ เฉพาะที่จำเป็นพอสังเขป เว้นแต่กรรมการถามซ้ำ ถามเพิ่มเติม หรือให้อธิบาย


10) ขณะถูกสัมภาษณ์ควรแสดงสีหน้าให้เป็นปกติ ยิ้มแย้ม และแสดงความตั้งใจ สนใจกรรมการสัมภาษณ์ทุกคน


11) เมื่อถูกถามให้ตอบด้วยน้ำเสียงปกติ หากตอบไม่ได้ควรบอกว่า เรื่องนี้ผม/ดิฉันไม่ทราบ หรือ ตอบไม่ได้ครับ / ค่ะ เพราะบางคำถามกรรมการไม่ต้องการคำตอบที่ถูกทั้งหมด หากแต่ต้องการสังเกตปฏิภาณไหวพริบ และท่วงทีวาจาด้วย


12) คำถามบางคำถาม กรรมการบางคนต้องการอธิบายให้เราฟัง อาจเป็นการเสนอแนะ หรือเจตนาไรก็แล้วแต่ หากเป็นเช่นนี้ ควรแสดงความสนใจใคร่รู้ ใคร่ฟัง แสดงอาการสนใจ ผงกศีรษะเบาๆรับ หรือตอบ... "ครับ/ ค่ะ"... ในบางครั้งเราควรพูดว่า ..."เรื่องนี้ผม/ดิฉัน/หนูเพิ่งทราบ นับว่าท่านได้กรุณาให้ความรู้เป็นอย่างมาก ขอบคุณท่านมากครับ/ ค่ะ"...(มธุรสวาจาเหล่านี้ ตรงกับบทสักวา ที่ว่า ..." สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม"...) อันจะส่งผลต่อความพึงพอใจให้กรรมการมากที่สุด บางโอกาสกลับกลายเป็นว่าเราเป็นผู้ถาม และเป็นผู้สัมภาษณ์กรรมการเสียเลย (ฮา..ความจริงมี เกิดประจำ)


13) เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์จบ กล่าวให้กำลังใจ สร้างความหวัง ควรยกมือไหว้และกล่าวขอบคุณ แล้วลุก เดินออกจากห้องสอบด้วยอาการปกติ หากอยากแสดงความสะใจ จนอดไม่ได้ ให้พ้นห้องสอบเสียก่อนแล้วค่อย...เย้..


 


แนวคำถามคำตอบในการสอบสัมภาษณ์มีอะไรบ้าง?


แนวคำถามคำตอบในการสอบสัมภาษณ์ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย รวมทั้งตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา(ข้อความในวงเล็บ) ให้เตรียมในเรื่องเหล่านี้


1) คำถามทั่วไป เช่น ให้แนะนำตัว สอบถามถึงภูมิลำเนา การศึกษา ความชอบ ไม่ชอบ ปัญหาหรือแนวทางแก้ไข การปรับตัวเข้ากับเพื่อนครู ผู้บริหาร ชุมชน เป็นต้น


2) หลักการทั่วไป เช่น เป้าหมายการสอน คุณลักษณะที่ดีของครู คุณลักษณะของผู้เรียน (เป้าหมายของการบริหาร หลักการบริหารงาน การบริหารความขัดแย้ง องค์ประกอบการทำงานให้สำเร็จคุณธรรมของผู้บริหาร ครองตน ครองคน ครองงาน องค์ประกอบของระบบงานโรงเรียน ปัจจัยในการบริหารงานโรงเรียน เทคนิคหรือทักษะการบริหาร กลวิธีทำงานร่วมกับเพื่อน ผู้บังคับบัญชา แนวคิดพื้นฐานของมนุษย์ ปัจจัยที่ทำให้คนอยากทำงาน) เป็นต้น


3) หลักวิชาชีพครู เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพครู เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ วินัย ข้อห้ามสำหรับครูคุณลักษณะครูที่ดี ที่พึงประสงค์ ลักษณะครูมืออาชีพ (ลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ) เป็นต้น


4) ทิศทางความเคลื่อนไหวการศึกษา เช่น นโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการยุทธศาสตร์ของ สพฐ. เขตพื้นที่ จังหวัด ชื่อบุคคลสำคัญ ผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ เป็นต้น


5) แนวทางการสร้างความเป็นเลิศ การจัดการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญ การพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ หลักการและเทคนิคการบริหาร ทรัพยากรบริหาร นโยบายยุทธศาสตร์ของชาติ ศธ. สพฐ. เขตพื้นที่ จังหวัด หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศหรือ Best Practice) เป็นต้น


 


จำเป็นจะนำแฟ้มสะสมผลงาน (PORTFOLIO) ไปใช้สอบสัมภาษณ์ด้วยหรือไม่?


แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) หมายถึง แหล่งรวมข้อมูลที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูลดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์สำหรับประเมินผลการทำงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป นอกจากนั้น แฟ้มสะสมผลงานยังมีประโยชน์ในการเป็นเอกสารประกอบการประเมินคุณลักษณะหรือผลการปฏิบัติงาน หรือ การคัดเลือกในโอกาสต่างๆ เช่น การสอบคัดเลือกเข้าทำงาน การสอบสัมภาษณ์เข้ารับราชการ เป็นต้น ดังนั้นการเก็บรวมรวมข้อมูลจึงควรครอบคลุมประเภทต่างๆ ที่เป็นสิ่งสะท้อนความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมของบุคคล


 


สำหรับการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. กรณีทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ ว14/2557กำหนดการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ โดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจเอกสาร หรือวิธีการที่เหมาะสม เพื่อสะท้อนและแสดงถึงประวัติส่วนตัว การศึกษา ประวัติการทำงานประสบการณ์การทำงาน บุคลิกภาพ คุณลักษณะความเหมาะสมของผู้ที่จะเป็นครู ท่วงที วาจา ปฏิภาณ ไหวพริบ คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติต่อวิชาชีพ หลักเกณฑ์ไม่ได้กำหนดให้จัดทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับการสอบสัมภาษณ์ไว้เป็นการเฉพาะแต่อย่างไร (แต่บางหน่วยสอบอาจกำหนดได้ อันนี้ดูประกาศสอบฯ) ดังนั้น หากประกาศสอบไม่ได้กำหนดก็ไม่จำเป็นต้องจัดทำ หรือนำไปใช้ในการสอบสัมภาษณ์  แต่อย่างไรก็แล้วแต่ปัจจุบันผู้เข้าสอบสัมภาษณ์มักนิยมจัดทำแฟ้มผลงาน แผ่นพับ โบชัวร์ผลงานไปใช้ในการสอบสัมภาษณ์ด้วย อาจเพื่อสร้างความมั่นใจ สร้างความอุ่นใจ ลดความประหม่า เพื่อขู่คู่แข่ง หรือเจตนาใดก็แล้วแต่  หากผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ตัดสินใจและจะนำใช้ประกอบการสัมภาษณ์ก็ไม่ได้เสียหายอะไรถึงแม้ประกาศไม่ได้กำหนด เกณฑ์ให้คะแนนส่วนนี้ไม่มี แต่อาจส่งผลดีในทางจิตวิทยานอกจากต่อตนเองดังกล่าวมาแล้ว อาจมีผลโน้มนำให้กรรมการเห็นถึงความตั้งใจของเรา กรรมการบางท่านอาจเปิดดูและนำข้อมูลในนั้นมาถาม หากอย่างนี้เราก็จะตอบได้ดี ตรงประเด็นเพราะเป็นผลงานที่เราได้จัดทำอยู่แล้ว มีผลต่อคะแนนอย่างแน่นอน


 


ดังนั้น แฟ้มสะสมผลงานของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ จึงควรจัดทำด้วยความประณีต ดูดี ไม่หนาเกินไป ในแฟ้มควรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ


 1) ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับประวัติ  ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติการรับราชการ (ถ้ามี) ประวัติการสัมมนา / ฝึกอบรมหรือศึกษาดูงาน ประวัติการสอน คุณลักษณะพิเศษส่วนตัว โดยแนบหลักฐานประกอบเฉพาะที่สำคัญ สิ่งนี้จะตอบโจทย์ประเด็น ประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษา อาจรวมถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เจตคติและอุดมการณ์


 2) ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่เคยได้รับ ได้แก่ งานที่ทำในปัจจุบัน งานสอน (ถ้ามี) แนบหลักฐานประกอบเฉพาะที่สำคัญ สิ่งนี้จะตอบโจทย์ประเด็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติและอุดมการณ์


          3) ส่วนที่ 3 เกี่ยวกับวิสัยทัศน์หรือแนวคิดเมื่อได้เป็นครู ได้แก่ แนวทางในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเมื่อได้บรรจุเป็นครูผู้ช่วย ความคาดหวังที่ต้องการ แนบแผนผังมโนทัศน์ประกอบ สิ่งนี้จะตอบโจทย์ประเด็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติและอุดมการณ์


           ซึ่งทั้งสามส่วน อาจเป็นข้อมูลและโน้มนำให้กรรมการได้ตั้งเป็นประเด็นขึ้นมาถาม ก็จะส่งผลให้ตอบโจทย์ประเด็น บุคลิกลักษณะท่วงทีวาจา วุฒิภาวะทางอารมณ์  การมีปฏิญาณไหวพริบ ได้


 


การสอบสัมภาษณ์หากเป็นอย่างที่เล่ามา ถึงคะแนนโดยรวมไม่ต่างกันมากนัก และทำให้มั่นใจว่าผ่านเกณฑ์ภาคนี้ (เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60) อย่างแน่นอน แต่หนึ่งหรือสองคะแนนที่ทำได้จากการสอบสัมภาษณ์ดีกว่าผู้เข้าสอบท่านอื่น ก็จะส่งผลให้เรามีลำดับที่ที่ดีกว่า (หากคะแนนข้อเขียนได้ไม่ต่างกัน) มีโอกาสได้บรรจุแต่งตั้งก่อนแน่นอน ดังนั้นผู้เข้าสัมภาษณ์ควรศึกษาประเด็นการให้คะแนน เตรียมตัวอย่างดี ฝึกถามตอบตนเอง สร้างเอกสารให้ประณีตตรงประเด็น เชื่อว่าจะทำให้เกิดความมั่นใจ และส่งผลให้ได้คะแนนสัมภาษณ์ 50 หรือใกล้เคียง 50 อย่างแน่นอน

http://www.kruwandee.com/news-id34353.html

เว็บมาสเตอร์

เทคนิคในการเข้าสอบสัมภาษณ์ เตรียมตัวสอบครู


 1.หลักเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์และการให้คะแนน


การสอบสัมภาษณ์เป็นวิธีการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตามหลักสูตรสอบแข่งขันหรือ สอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของส่วนราชการต่างๆ โดยทั่วไปการพิจารณา ความเหมาะสมกับตำแหน่ง จะพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้


1.1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)


1.2) บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผ้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการคร


1.3) ท่วงทีวาจาปฏิภาณไหวพริบ


1.4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ


1.5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่


1.6) ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ


1.7) อื่นๆ ตามหน่วยงานผู้สอบฯกำหนด 


การให้คะแนนของการสอบสัมภาษณ์โดยทั่วไป (คะแนนเต็ม 50 คะแนน ) การให้คะแนนของ กรรมการสอบสัมภาษณ์ จะกำหนดช่วงของคะแนนที่จะให้ไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดความต่างของคะแนน ผู้เข้าสอบฯไม่เกิน 3 คะแนน ( ตํ่าสุด 47 สุงสุด 49 ) หรือ 5 คะแนน (ตํ่าสุด 45 สุงสุด 49) มักไม่นิยมให้คะแนนเต็ม 50 เพราะโดยหลักการแล้วจะไม่มีใครที่เยี่ยมยอด


 ดังนั้นผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จึงไม่ต้องวิตกหรือกังวลมากนัก สิ่งที่ทำให้สอบได้หรือสอบตกไม่ได้อยู่ที่ การสอบสัมภาษณ์แต่อยู่ที่การสอบข้อเขียนต่างหาก


 2.การเตรียมตัวและวิธีการเข้าสอบสัมภาษณ์ให้ได้คะแนนมากที่สุด


 ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นแล้วว่า การสัมภาษณ์เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินผู้เข้าสอบทุกคน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการ ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งความร้ความสามารถ ประสบการณ์ท่วงทีวาจา อุปนิสัย เจตคติ และบุคลิกภาพ


 ดังนั้นการจะเป็นผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ดีและได้คะแนนมากที่สุด(ให้ถูกตัดน้อยที่สุด) ควรมีและใช้เทคนิคการเตรียมสอบสัมภาษณ์การเข้าสอบสัมภาษณ์จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจ


 จากที่เคยผ่านการถูกสัมภาษณ์ และเคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ใคร่แนะนำ ดังนี้


 


2.1) เบื้องต้นควรกรอกใบสมัครให้ดี และมีความสมบุรณ์มากที่สุด เพราะกรรมการสอบสัมภาษณ์ส่วนมากจะดูข้อมูลส่วนตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากใบสมัครประกอบการสัมภาษณ์ด้วย(ตอนสมัครสอบ)


 2.2) ในวันสอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย สะอาด ภูมิฐานมากที่สุด


 2.3) ควรงดสูบบุหรี่ เครื่องดื่ม หรืออาหารกลิ่นจัด เพราะหากขณะสัมภาษณ์กลิ่น คงไม่เป็นที่สบอารมณ์กรรมการมากนัก ทางที่ดีนอกจากไม่ดื่มแล้วควรอมลูกอม ให้ปากหอมแทนจะดีกว่า


 2.4) ขณะรอสัมภาษณ์ควรรอด้วยความอดทน ทำจิตใจให้สดชื่น ผ่องใส มีอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน ไม่ควรบ่น หรือนินทา ว่าร้ายกรรมการ


 2.5) ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน่วยงานที่เราสมัครสอบว่า มีความเป็นมาอย่างไร เพราะหากถูกสัมภาษณ์แล้วไม่มีความรู้เลย คุณคงไม่ได้คะแนน(อาจถูกตัด)แน่นอน


 2.6) ขณะที่คนอื่นเข้าสัมภาษณ์ ควรอยู่และสังเกตผู้ที่เข้าสัมภาษณ์ เพื่อติดถามข้อมูลหรือประเด็นที่กรรมการสัมภาษณ์ถาม เพื่อเตรียมคำตอบ เพราะโดยทั่วไปประเด็นที่ถาม มักจะถามคล้ายๆ กัน


 2.7) ขณะที่ถูกเรียกชื่อเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรก้าวเดินเข้าไปให้เป็นปกติ และมีความมั่นใจให้มากที่สุด


 2.8) เมื่อไปถึงหน้าโต๊ะสัมภาษณ์ ควรยกมือไหว้กรรมการทุกคน และนั่งเมื่อได้รับการบอกให้นั่ง


 2.9) ประเด็นคำถามที่ถาม (บอกให้พูด : ควรเตรียมไปให้ดี และเล่าสั้นๆ เฉพาะที่จำเป็น)


       2.9.1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)


       2.9.2) บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู


       2.9.3) ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ


       2.9.4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ


       2.9.5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่


       2.9.6) ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ


 2.10) ขณะถูกสัมภาษณ์ควรแสดงสีหน้าปกติ และแสดงความสนใจกรรมการสัมภาษณ์ทุกคน


 2.11) เมื่อถูกถามให้ตอบด้วยนำเสียงปกติ หากตอบไม่ได้ควรบอกว่า เรื่องนี้ ผม/ดิฉันไม่ทราบ หรือ ตอบไม่ได้ครับ / ค่ะ  เพราะบางคำถามกรรมการไม่ต้องการคำตอบที่ถูกทั้งหมด หากแต่ต้องการสังเกตปฏิภาณไหวพริบ และท่วงทีวาจาด้วย


2.12) คำถามบางคำถาม กรรมการบางคนต้องการอธิบายให้เราฟัง เพื่ออวดภูมิรู้ด้วย หากเป็นดังนี้


คุณควรแสดงความสนใจใคร่รู้ ใคร่ฟัง แสดงอาการยิ้ม ผงกศีรษะรับ หรือตอบ... "ครับ/ ค่ะ"... ในบางครั้ง


 ควรพูดว่า..."เรื่องนี้ผมเพิ่งทราบนับว่าท่านได้กรุณาให้ความรู้เป็นอย่างมากขอบคุณท่านมากครับ/ค่ะ"... (มธุรสวาจาเหล่านี้ตรงกับบทสักวา ที่ว่า ..." สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม"...) อันจะส่งผลต่อความพึงพอใจให้ กรรมการมากที่สุด บางโอกาสกลับกลายเป็นว่าเราเป็นผู้ถาม และเป็นผู้สัมภาษณ์กรรมการเสียเลย (ประเด็น นี้ ผมมักใช้บ่อย และรู้สึกว่าจะได้ผลดีด้วย)


 2.13) เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์จบ ควรยกมือไหว้และกล่าวขอบคุณ


 3. แนวคำถามคำตอบในการสอบสัมภาษณ์


แนวคำถามคำตอบในการสอบสัมภาษณ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นแนวคำถามสอบสัมภาษณ์เพื่อบรรจุ เป็นข้าราชการครุและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการสรุปได้ดังนี้


 3.1) หลักการทั่วไป เช่น เป้าหมายการสอน คุณลักษณะที่ดีของครุ คุณลักษณะของผู้เรียน เป้าหมายของการบริหาร หลักการบริหารงาน การบริหารความขัดแย้ง องค์ประกอบการทำงานให้สำเร็จ คุณธรรมของผู้บริหาร ครองตน ครองคน ครองงาน องค์ประกอบของระบบงานโรงเรียน ป้จจัยในการ บริหารงานโรงเรียน เทคนิคหรือทักษะการบริหาร กลวิธีทำงานร่วมกับเพื่อน ผู้บังคับบัญชา แนวคิดพื้นฐาน ของมนุษย์ ป้จจัย ที่ทำให้คนอยากทำงาน เป็นต้น


3.2) หลักวิชาชีพครู เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพครุ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ วินัย ข้อห้ามสำหรับครุ คุณลักษณะครูที่ดี พึงประสงค์ ลักษณะครุมืออาชีพ ลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ เป็นต้น


3.3) คำถามทั่วไป เช่น ให้แนะนำตัว สอบถามถึงภูมิลำเนา การศึกษา ความชอบ ไม่ชอบ ป้ญหา หรือแนวทางแก้ไข การปรับตัวเข้ากับครุ ชุมชน เป็นต้น


3.4) ทิศทางความเคลื่อนไหวการศึกษาเช่นนโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ยุทธศาสตร์ของ สพฐ. สพท. การบริหารโรงเรียน ชื่อบุคคลสำคัญ ผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ เป็นต้น


3.5) การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ(สำหรับสายบริหาร) เช่น หลักการและเทคนิคการบริหาร ทรัพยากรบริหาร นโยบายยุทธศาสตร์ของชาติ ศธ. สพฐ. สพท. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ROAD MAP ทางการศึกษา การจัดการเรียนรู้ หลักสูตรสถานศึกษา การจัด Best Practice เป็นต้น


 


4. การจัดทำแฟ้มผลงานใช้สำหรับการสอบแข่งขัน


4.1) ความสำคัญของแฟ้มสะสมผลงาน (PORTFOLIO)


แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) หมายถึง แหล่งรวมข้อมูลที่จัดทำขั้นอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูล ดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์สำหรับประเมินผลการทำงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้ สมบูรณ์ยิ่งขั้นต่อไป นอกจากนั้นแฟ้มสะสมผลงานยังมีประโยชน์ในการเป็นเอกสารประกอบการประเมิน คุณลักษณะหรือผลการปฏิบัติงาน หรือการคัดเลือกในโอกาสต่างๆ เช่น การสอบคัดเลือกเข้าทำงาน การ


สอบสัมภาษณ์เข้ารับราชการ เป็นต้น ดังนั้นการเก็บรวมรวมข้อมูลจึงควรครอบคลุมประเภทต่างๆ ที่เป็น หลักการสำคัญในการจัดทำแฟ้มสะสมงานนั้นๆ


 


4.2) แฟ้มสะสมงานครู (TEACHER PORTFOLIO)


แฟ้มสะสมผลงานครู เป็นแฟ้มสะสมผลงานส่วนบุคคล ควรจัดทำอย่างประณีตและให้มีสาระสำคัญ ประกอบไปด้วย สามส่วนที่สำคัญ ดังนี้


        4.2.1) ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัว ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประวัติการรับราชการ ประวัติการหยุดราช การประวัติการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประวัติการสัมมนา /แกอบรมหรือศึกษาดูงาน ประวัติ การสอน ลักษณะพิเศษส่วนตัว เป็นด้น


        4.2.2) ส่วนที่ 2 สรุปงานที่ปฏิฟ้ติ ได้แก่ งานสอน (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานบริการทางการศึกษา (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานอบรมปกครองดูแล (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานกิจกรรมนักเรียน


(ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานศึกษาและพัฒนาตนเอง (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) การรักษาวินัยและ ประพฤติตน (ด้านปริมาณ-คุณภาพ) งานติดต่อกับผู้ปกครอง (ด้านปริมาณ-คุณภาพ) ผลงานดีเด่น (ด้าน ปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานบริการชุมชน (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) การร่วมมือกับผู้บริหาร (ด้านปริมาณ- ด้านคุณภาพ)งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ)


        4.2.3) ส่วนที่ 3 ภาคผนวก ประกอบไปด้วย เอกสารอ้างอิง เช่น คำสั่ง ประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นด้น


 


4.3) การทำแฟ้มผลงานประกอบการสอบสัมภาษณ์ (การสอบแข่งขัน)


ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนด้นว่า การสอบสัมภาษณ์เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการสอบแข่งขัน บรรจุบุคคลเข้ารับราชการภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยหลักเกณฑ์และประเด็นที่นิยมนำมาใช้ใน การสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติส่วนตัว การศึกษา ประวัติการทำงานประสบการณ์การทำงาน บุคลิก ภาพ คุณลักษณะความเหมาะสมของผ้ที่จะเป็นครู ผ้บริหาร ท'วงที วาจา ปฏิภาณ ไหวพริบ คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติต่อวิชาชีพ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานความรอบรู้ทั่วไป และความรอบรู้ ด้านการศึกษา(สำหรับสอบบรรจุครู) และ ผลงานดีเด่น ผลงานภาคภูมิใจ


 ดังนั้น แฟ้มสะสมผลงานของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จึงควรจัดทำด้วยความประณีต ดูดี ไม่หนาเกิน ไปในแฟ้มควรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ


ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประวัติ การทำงาน ประวัติการรับราชการ(ถ้ามี) ประวัติการสัมมนา /แกอบรมหรือศึกษาดูงาน ประวัติการสอน ลักษณะพิเศษส่วนตัว


ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่เคยได้รับ ได้แก่ งานที่ทำในป้จจุบัน งานสอน (ถ้ามี) และ


ส่วนที่ 3 ภาคผนวก ประกอบไปด้วย เอกสารอ้างอิง เช่น คำสั่ง ประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นด้น


 ขอบคุณข้อมูล จากสอบครูดอทคอม

http://group.wunjun.com/valrom2012/topic/605479-11251

Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view