http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,073,543
เปิดเพจ6,189,755

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

โหลดไปอ่านตรงนี้

https://is.gd/M66j0T

หรือ

https://drive.google.com/file/d/17Y_BUiK_0F4UUGpMNnUaEDpyWWMa7_wX/view?usp=sharing


พระราชบัญญัติ

ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา

พ.ศ. ๒๕๔๒

                  

 

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒

เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา

 

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๔๒”

 

มาตรา ๒[๑]  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓  ให้ยกเลิก

(๑) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑

(๒) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๓

(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

 

มาตรา ๔  บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งใดที่ได้กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยาหรือปลัดเมืองพัทยาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น อ้างถึงประธานสภาเมืองพัทยาหรือนายกเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี  ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๕  ในพระราชบัญญัตินี้

“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาเมืองพัทยา

“ข้อบัญญัติ” หมายความว่า ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

หมวด ๑

การจัดตั้งเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๗  ให้จัดตั้งเมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอาณาเขตตามเขตเมืองพัทยาที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ให้เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตเมืองพัทยาให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

 

หมวด ๒

การบริหารเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๘  การบริหารเมืองพัทยาประกอบด้วย

(๑) สภาเมืองพัทยา

(๒) นายกเมืองพัทยา

 

ส่วนที่ ๑

สภาเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๙  สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน ซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา

ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเพราะเหตุที่มีผู้ได้รับเลือกตั้งไม่ครบจำนวน ถ้าในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้นยังได้ไม่ครบจำนวนอีก ให้ถือว่าสภาเมืองพัทยานั้นประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะครบอายุของสภาเมืองพัทยา เว้นแต่จะมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงสองในสามของจำนวนตามวรรคหนึ่ง[๒]

 

มาตรา ๑๐[๓]  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

 

มาตรา ๑๑[๔]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๒[๕]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๓[๖]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๔[๗]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๕  อายุของสภาเมืองพัทยามีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง

 

มาตรา ๑๖  ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเมืองพัทยาด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้

“ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ  ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม”

 

มาตรา ๑๗  สมาชิกเป็นผู้แทนของประชาชนในเขตเมืองพัทยา และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ

 

มาตรา ๑๘[๘]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๙  สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อ

(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาเมืองพัทยาหรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา

(๒) ตาย

(๓) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาเมืองพัทยา

(๔)[๙] กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ วรรคสาม

(๕)[๑๐] ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐

(๖) ขาดประชุมสภาเมืองพัทยาสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(๗) สภาเมืองพัทยามีมติให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะมีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เมืองพัทยา หรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาเมืองพัทยา โดยมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเมืองพัทยาพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่  ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเมืองพัทยามีมติ

(๘) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยาได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (๔) (๕) หรือ (๖) หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (๕) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี แม้ว่าสมาชิกผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๑]

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงตาม (๔) (๕) หรือ (๖) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้ และให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่มีเหตุตาม (๔) (๕) หรือ (๖) แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีการประกาศคำวินิจฉัย ถ้าในขณะที่ประกาศคำวินิจฉัยดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย และในกรณีที่เป็นผลให้ถูกห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ถือว่าวันที่ประกาศคำวินิจฉัยเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามดังกล่าว  ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด[๑๒]

ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงตาม (๘) พร้อมกันทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นการยุบสภาเมืองพัทยา[๑๓]

 

มาตรา ๒๐[๑๔]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๒๑[๑๕]  ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกว่างลงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งยุบสภาเมืองพัทยาก็ได้

 

มาตรา ๒๒  ให้สภาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกเป็นประธานสภาเมืองพัทยาคนหนึ่งและรองประธานสภาเมืองพัทยาจำนวนสองคน แล้วเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง

การเลือกประธานสภาเมืองพัทยาและรองประธานสภาเมืองพัทยาให้กระทำในการประชุมสภาเมืองพัทยาครั้งแรกภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไป

 

มาตรา ๒๓[๑๖]  ประธานสภาเมืองพัทยาและรองประธานสภาเมืองพัทยา อยู่ในตำแหน่งจนครบอายุของสภาเมืองพัทยา หรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา หรือถือว่ามีการยุบสภาเมืองพัทยาตามมาตรา ๑๙ วรรคสี่

 

มาตรา ๒๔  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ ประธานสภาเมืองพัทยาและรองประธานสภาเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) พ้นจากสมาชิกภาพแห่งสภาเมืองพัทยา

(๒) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

 

มาตรา ๒๕  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานสภาเมืองพัทยาหรือรองประธานสภาเมืองพัทยาว่างลง เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา ๒๔ ให้สภาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกขึ้นเพื่อดำรงตำแหน่งที่ว่างแทนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง

 

มาตรา ๒๖  ประธานสภาเมืองพัทยามีหน้าที่ดำเนินการประชุมและดำเนินกิจการอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับเมืองพัทยา

รองประธานสภาเมืองพัทยามีหน้าที่ช่วยประธานสภาเมืองพัทยาปฏิบัติการตามหน้าที่และกระทำกิจการตามที่ประธานสภาเมืองพัทยามอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาเมืองพัทยาหรือประธานสภาเมืองพัทยาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้รองประธานสภาเมืองพัทยาคนที่หนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน และในกรณีที่ไม่มีประธานสภาเมืองพัทยาและรองประธานสภาเมืองพัทยาคนที่หนึ่ง หรือประธานสภาเมืองพัทยาและรองประธานสภาเมืองพัทยาคนที่หนึ่งไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้รองประธานสภาเมืองพัทยาคนที่สองปฏิบัติหน้าที่แทน

ในการประชุมครั้งใดถ้าไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุม ให้สมาชิกเลือกกันเองเพื่อทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมสำหรับการประชุมครั้งนั้น

ในการประชุมครั้งใด ถ้าผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมสั่งปิดประชุมก่อนหมดระเบียบวาระการประชุม แต่สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เสนอให้เปิดประชุม ให้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมนั้นต่อไป จนกว่าสมาชิกจะมีมติให้ปิดประชุม และให้นำความในวรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าว

 

มาตรา ๒๗  ประธานสภาเมืองพัทยาอาจแต่งตั้งเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยาและผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยาไม่เกินจำนวนรองประธานสภาเมืองพัทยา เพื่อช่วยเหลือกิจการตามที่ได้รับมอบหมาย

บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยาหรือผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา ต้องมิใช่รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษาหรือที่ปรึกษา

เลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา และผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) ประธานสภาเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง

(๒) ประธานสภาเมืองพัทยามีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

(๓) ตาย

(๔) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาเมืองพัทยา

(๕) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

 

มาตรา ๒๘  ให้ปลัดเมืองพัทยาทำหน้าที่เลขานุการสภาเมืองพัทยา มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดประชุมและงานอื่นใดตามที่สภาเมืองพัทยามอบหมาย

 

มาตรา ๒๙  ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมสภาเมืองพัทยาครั้งแรก

ในปีปฏิทินหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภาเมืองพัทยาไม่น้อยกว่าสองสมัย แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภาเมืองพัทยากำหนด แต่สภาเมืองพัทยาจะกำหนดจำนวนสมัยประชุมและวันเริ่มสมัยประชุมสำหรับปีแรกเป็นการเฉพาะก็ได้

สมัยประชุมสามัญให้มีกำหนดสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นสภาเมืองพัทยาจะมีมติขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกก็ได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน

 

มาตรา ๓๐  เมื่อมีกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยาหรือสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ อาจยื่นคำร้องต่อประธานสภาเมืองพัทยาขอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญได้ และให้ประธานสภาเมืองพัทยาเรียกประชุมสมัยวิสามัญโดยกำหนดวันประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดสิบห้าวัน

 

มาตรา ๓๑  ภายใต้บังคับมาตรา ๒๙ ให้ประธานสภาเมืองพัทยาเรียกประชุมสภาเมืองพัทยาตามสมัยประชุม

ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาเมืองพัทยาหรือประธานสภาเมืองพัทยาไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมและนัดให้สมาชิกมาประชุมในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้เรียกประชุมสภาเมืองพัทยาได้ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมสภาเมืองพัทยา ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

(๒) กรณีที่ไม่มีการประชุมภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันเริ่มกำหนดให้มีการประชุมตามมาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา ประธานสภาเมืองพัทยา และรองประธานสภาเมืองพัทยา จะทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมมิได้และให้สมาชิกเลือกกันเองเพื่อทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมสำหรับการประชุมครั้งนั้น

 

มาตรา ๓๒  การประชุมสภาเมืองพัทยา ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม

นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา หรือผู้ซึ่งนายกเมืองพัทยามอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภาเมืองพัทยา และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

 

มาตรา ๓๓  การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้

สมาชิกคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

 

มาตรา ๓๔  สภาเมืองพัทยาจะกระทำการใดอันมิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาไม่ได้

 

มาตรา ๓๕  การประชุมสภาเมืองพัทยาต้องกระทำโดยเปิดเผยตามลักษณะที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาเมืองพัทยา แต่ถ้านายกเมืองพัทยาหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

 

มาตรา ๓๖  ในที่ประชุมสภาเมืองพัทยา สมาชิกมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกเมืองพัทยาในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของนายกเมืองพัทยา

 

มาตรา ๓๗  สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาเมืองพัทยาเพื่อให้นายกเมืองพัทยาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการเมืองพัทยาโดยไม่มีการลงมติ

ญัตติตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภาเมืองพัทยา และให้ประธานสภาเมืองพัทยากำหนดวันสำหรับการอภิปรายทั่วไป ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าห้าวันและไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติ แล้วแจ้งให้นายกเมืองพัทยาทราบ

 

มาตรา ๓๘  สภาเมืองพัทยามีอำนาจเลือกสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเมืองพัทยา และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภาเมืองพัทยาเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยาแล้วรายงานต่อสภาเมืองพัทยา

ในการตั้งคณะกรรมการวิสามัญตามวรรคหนึ่ง นายกเมืองพัทยามีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิก เพื่อให้สภาเมืองพัทยาแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

คณะกรรมการที่สภาเมืองพัทยาตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้

 

มาตรา ๓๙  สภาเมืองพัทยามีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิก ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมืองพัทยา คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของสภาเมืองพัทยา วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การตั้งและตอบกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา

 

มาตรา ๔๐  เงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมืองพัทยา สมาชิก เลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา กรรมการสามัญหรือกรรมการวิสามัญที่สภาเมืองพัทยาตั้งขึ้น หรืออนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

 

ส่วนที่ ๒

นายกเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๔๑  ให้เมืองพัทยามีนายกเมืองพัทยาคนหนึ่งซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา

การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

 

มาตรา ๔๒[๑๗]  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง

(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

มาตรา ๔๓[๑๘]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๔๔[๑๙]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๔๕[๒๐]  นายกเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

ในกรณีที่นายกเมืองพัทยาดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง

 

มาตรา ๔๖  ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่นายกเมืองพัทยาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา

นายกเมืองพัทยาอาจแต่งตั้งรองนายกเมืองพัทยาจำนวนไม่เกินสี่คนซึ่งมิใช่สมาชิกเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย

 

มาตรา ๔๗[๒๑]  รองนายกเมืองพัทยาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๒ เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอายุให้นับถึงวันแต่งตั้ง

 

มาตรา ๔๘  นายกเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และนโยบาย

(๒) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเมืองพัทยา

(๓) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษา

(๔) วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยาหรือนายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรี

 

มาตรา ๔๙[๒๒]  นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษา ต้องไม่กระทำการ ดังต่อไปนี้

(๑) ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของเมืองพัทยาหรือบริษัทซึ่งเมืองพัทยาถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินหรือตามนโยบายของรัฐบาล

(๒) รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของเมืองพัทยาหรือบริษัทซึ่งเมืองพัทยาถือหุ้น นอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์หรือบริษัท ปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ

(๓) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่เมืองพัทยา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น โดยมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นการต่างตอบแทนหรือเอื้อประโยชน์ส่วนตนระหว่างกัน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับเมืองพัทยาอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน  ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่ในส่วนที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง

บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งรับเงินตอบแทนค่าเบี้ยประชุมหรือเงินอื่นใดเนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือสภาเมืองพัทยาหรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง

ให้นำความใน (๒) และ (๓) มาใช้บังคับแก่สมาชิกด้วยโดยอนุโลม

 

มาตรา ๕๐  นายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) ถึงคราวออกตามวาระ

(๒) ตาย

(๓) เมื่อมีการยุบสภาเมืองพัทยาตามมาตรา ๗๖

(๔) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

(๕)[๒๓] ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๒

(๖) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๙

(๗)[๒๔] รัฐมนตรีพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรา ๙๖/๑

(๘) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยาได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกเมืองพัทยาผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (๕) หรือ (๖) หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าความเป็นนายกเมืองพัทยาผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (๕) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี แม้ว่านายกเมืองพัทยาผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[๒๕]

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยว่านายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งตาม (๕) หรือ (๖) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้ด้วย และให้นายกเมืองพัทยาผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีเหตุตาม (๕) หรือ (๖) แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีการประกาศคำวินิจฉัย ถ้าในขณะที่ประกาศคำวินิจฉัยดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย และในกรณีที่เป็นผลให้ถูกห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ถือว่าวันที่ประกาศคำวินิจฉัยเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามดังกล่าว  ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด[๒๖]

ในระหว่างที่ไม่มีนายกเมืองพัทยา ให้ปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติหน้าที่ของนายกเมืองพัทยาเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนกว่านายกเมืองพัทยาซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่[๒๗]

 

มาตรา ๕๑  รองนายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) นายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง

(๒) นายกเมืองพัทยามีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

(๓) ตาย

(๔) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายกเมืองพัทยา

(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๗

(๖) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๙

ให้นำความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา ๕๐ มาใช้บังคับกับกรณีรองนายกเมืองพัทยาด้วยโดยอนุโลม[๒๘]

 

มาตรา ๕๒  นายกเมืองพัทยาอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกเมืองพัทยาและผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยาไม่เกินจำนวนรองนายกเมืองพัทยา และอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาได้จำนวนรวมกันแล้วไม่เกินห้าคน เพื่อช่วยเหลือในการบริหารราชการเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย

บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษา ต้องมิใช่สมาชิก และให้นำความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๖) มาใช้บังคับแก่การพ้นจากตำแหน่งของบุคคลดังกล่าวด้วยโดยอนุโลม[๒๙]

 

มาตรา ๕๓  เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษาหรือที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

 

หมวด ๓

ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๕๔  ให้นายกเมืองพัทยาควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเมืองพัทยาและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยา

 

มาตรา ๕๕  เมืองพัทยาแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้

(๑) สำนักปลัดเมืองพัทยา

(๒) ส่วนราชการอื่น ตามที่นายกเมืองพัทยาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย

การกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักปลัดเมืองพัทยา และส่วนราชการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่นายกเมืองพัทยาประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย

 

มาตรา ๕๖  ให้มีปลัดเมืองพัทยาคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยารองจากนายกเมืองพัทยา และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเมืองพัทยาให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย

การบริหารงานบุคคลของเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

 

มาตรา ๕๗  ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการเมืองพัทยาที่จะต้องอาศัยข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นมาปฏิบัติงานชั่วคราว นายกเมืองพัทยาอาจขอยืมตัวผู้นั้นมาช่วยปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาเป็นการชั่วคราวโดยมีกำหนดเวลาก็ให้กระทำได้ แต่ต้องทำความตกลงกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นก่อน และเมื่อหมดความจำเป็นเมื่อใดให้รีบส่งตัวผู้นั้นคืนสังกัดเดิม

ให้ถือว่าข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ขาดจากสถานภาพเดิม และคงได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง แล้วแต่กรณี จากสังกัดเดิม

 

มาตรา ๕๘  อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองนายกเมืองพัทยา ให้เป็นไปตามที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย

ในกรณีที่นายกเมืองพัทยาไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกเมืองพัทยาตามลำดับที่นายกเมืองพัทยาจัดไว้เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองนายกเมืองพัทยาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดเมืองพัทยาเป็นผู้รักษาราชการแทน

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่นายกเมืองพัทยาจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น นายกเมืองพัทยาอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายกเมืองพัทยาเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกเมืองพัทยาก็ได้ แต่ถ้ามอบให้ปลัดเมืองพัทยาหรือรองปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ

การปฏิบัติราชการแทนนายกเมืองพัทยาตามวรรคสาม ต้องกระทำภายใต้การกำกับดูแลและกรอบนโยบายที่นายกเมืองพัทยากำหนดไว้

 

มาตรา ๕๙  ในกรณีที่มีรองปลัดเมืองพัทยา อำนาจในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดเมืองพัทยา ให้เป็นไปตามที่ปลัดเมืองพัทยามอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดเมืองพัทยาเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดเมืองพัทยาหลายคนให้รองปลัดเมืองพัทยาผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดเมืองพัทยาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายกเมืองพัทยาแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดเมืองพัทยาจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ปลัดเมืองพัทยาอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติราชการแทนปลัดเมืองพัทยาก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้หัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ

 

มาตรา ๖๐  ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดเมืองพัทยาแต่งตั้งพนักงานเมืองพัทยาคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนได้  ทั้งนี้ ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่หัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าจะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้พนักงานเมืองพัทยาคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทนได้ แล้วแต่กรณี

 

มาตรา ๖๑  ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา และพนักงานเมืองพัทยาเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

หมวด ๔

อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๖๒  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมาย เมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเขตเมืองพัทยาในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) การรักษาความสงบเรียบร้อย

(๒) การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

(๓) การคุ้มครองและดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(๔) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง

(๕) การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม

(๖) การจัดการจราจร

(๖/๑)[๓๐] การส่งเสริมและสนับสนุนสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ (๖)

(๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(๘) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และการบำบัดน้ำเสีย

(๙) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

(๑๐) การจัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ

(๑๑) การควบคุมอนามัยและความปลอดภัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น

(๑๒) การควบคุมและส่งเสริมกิจการท่องเที่ยว

(๑๓) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(๑๔) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นของเทศบาลนครหรือของเมืองพัทยา

 

มาตรา ๖๓  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาหรือข้อบัญญัติ ให้นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยา หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า และพนักงานเมืองพัทยา ซึ่งนายกเมืองพัทยาแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้มีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑) เข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น

(๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติ

(๓) ยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี

(๔) จับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย หรือข้อบัญญัติเพื่อดำเนินคดี

หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่นายกเมืองพัทยากำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย

ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามกฎหมาย หรือข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง นายกเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยา หรือหัวหน้าส่วนราชการของเมืองพัทยา หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า แล้วแต่กรณี เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบ และเมื่อผู้กระทำความผิดชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดไม่ยอมเปรียบเทียบ หรือเมื่อยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลา ให้พนักงานเมืองพัทยาซึ่งนายกเมืองพัทยาแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อทำการสอบสวนเสร็จให้ส่งรายงานการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อดำเนินคดีในศาลต่อไป โดยให้ถือว่ารายงานการสอบสวนนั้นเป็นสำนวนการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เงินค่าปรับให้เป็นรายได้ของเมืองพัทยา

 

มาตรา ๖๔  เมืองพัทยาอาจให้บริการแก่บุคคล หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น โดยมีค่าตอบแทนได้ เมื่อบริการนั้นโดยปกติเป็นบริการที่มีค่าตอบแทน

การประกอบการพาณิชย์ของเมืองพัทยาให้ตราเป็นข้อบัญญัติ

การประกอบกิจการใดที่เมืองพัทยามีรายได้หรือผลพลอยได้อันเกิดจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่จะไม่ตราเป็นข้อบัญญัติก็ได้

 

มาตรา ๖๕  เมืองพัทยาอาจดำเนินกิจการนอกเขตเมืองพัทยา เมื่อการนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ภายในเขตเมืองพัทยา หรือเป็นประโยชน์แก่เมืองพัทยา

การดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา และได้รับความยินยอมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเข้าไปดำเนินการ

ในกรณีที่ไม่ได้รับความยินยอมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสอง ให้นายกเมืองพัทยารายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการดำเนินกิจการนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการให้นายกเมืองพัทยาและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาประชุม เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน

 

มาตรา ๖๖  ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดดำเนินกิจการใดที่อยู่นอกเขตเมืองพัทยาอันมีลักษณะที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย หรือความปลอดภัยของประชาชนในเขตเมืองพัทยา ให้นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวร่วมกัน

เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับข้อเสนอของนายกเมืองพัทยาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่ได้รับข้อเสนอและถ้าคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติอย่างใดแล้ว ให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อแจ้งให้เมืองพัทยาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติของคณะกรรมการต่อไป ในกรณีที่หาข้อยุติไม่ได้ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาด

คณะกรรมการตามวรรคสอง ให้ประกอบด้วยผู้แทนเมืองพัทยา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และบุคคลอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควร

 

มาตรา ๖๗  ในกรณีที่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ดำเนิน กิจการใดที่อยู่นอกเขตเมืองพัทยาอันมีลักษณะที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยของประชาชนในเขตเมืองพัทยา ให้นายกเมืองพัทยารายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแจ้งให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาและหาข้อยุติร่วมกัน

 

มาตรา ๖๘  ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและลดภาระทางการเงินของเมืองพัทยา เมืองพัทยาอาจมอบให้บุคคลอื่นหรือเข้าร่วมกับบุคคลอื่นกระทำกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาได้ ในกรณีเช่นนั้น ผู้กระทำกิจการมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทน ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้นแทนเมืองพัทยาตามอัตราที่ได้ทำความตกลงกับเมืองพัทยาได้

การกระทำกิจการตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา และรัฐมนตรีก่อน

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติ  ทั้งนี้ ข้อบัญญัติดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะที่อาจเป็นผลให้ประชาชนผู้ใช้หรือรับบริการต้องเสียค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นสูงขึ้น

 

มาตรา ๖๙  เมืองพัทยาอาจร่วมกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อทำกิจการใดอันอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาได้

การจัดตั้งสหการจะทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยระบุชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีการบริการและการดำเนินงานไว้ และเมื่อจะยุบเลิกสหการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย

 

หมวด ๕

ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

                  

 

มาตรา ๗๐  เมืองพัทยามีอำนาจตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) การปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา

(๒) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เมืองพัทยามีอำนาจตราข้อบัญญัติได้

(๓) การให้บริการโดยมีค่าตอบแทนตามมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง

(๔) การพาณิชย์ตามมาตรา ๖๔ วรรคสอง

(๕) การคลัง การงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ

ในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือนและโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้

ข้อบัญญัติตาม (๕) ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกลางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

ข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่งจะตราขึ้นได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา

 

มาตรา ๗๑  ร่างข้อบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยนายกเมืองพัทยา สมาชิก หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยาตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

ในกรณีที่สมาชิกเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ ต้องมีสมาชิกลงนามรับรองไม่น้อยกว่าสองคน

ร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน สมาชิกจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเมืองพัทยา

 

มาตรา ๗๒  ร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน หมายความถึงร่างข้อบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) การจัดเก็บ ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบ การบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร

(๒) การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน หรือการโอนงบประมาณของเมืองพัทยา

(๓) การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้

(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ

ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกเมืองพัทยา ให้ประธานสภาเมืองพัทยาเป็นผู้วินิจฉัย

 

มาตรา ๗๓  ภายใต้บังคับมาตรา ๗๖ ร่างข้อบัญญัติที่สภาเมืองพัทยาไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป

ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง จะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ร่างข้อบัญญัตินั้นตกไป

 

มาตรา ๗๔  งบประมาณรายจ่ายประจำปีของเมืองพัทยาต้องตราเป็นข้อบัญญัติ ในกรณีที่ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีงบประมาณก่อนนั้นไปพลางก่อน

ในกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้ไม่พอสำหรับการใช้จ่าย หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ระหว่างปีงบประมาณ ให้ตราเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

 

มาตรา ๗๕  ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภาเมืองพัทยาจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภาเมืองพัทยาได้รับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น

ถ้าสภาเมืองพัทยาพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสภาเมืองพัทยาได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น และให้นายกเมืองพัทยาลงนามใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายต่อไป

ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของสภาเมืองพัทยา การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้

 

มาตรา ๗๖  ในกรณีที่สภาเมืองพัทยาไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้สภาเมืองพัทยาตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการจำนวนสิบห้าคน เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น

คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งสภาเมืองพัทยาแต่งตั้งจำนวนเจ็ดคนและบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกซึ่งนายกเมืองพัทยาเสนอจำนวนเจ็ดคน และให้กรรมการทั้งสิบสี่คนร่วมกันปรึกษาและเสนอบุคคลซึ่งมิได้เป็นกรรมการและมิได้เป็นสมาชิกคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กรรมการครบจำนวนสิบสี่คน

ในกรณีที่ไม่สามารถเสนอบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นประธานได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นกรรมการและมิได้เป็นสมาชิกขึ้นทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการดังกล่าว

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งพิจารณาและรายงานผลการพิจารณาต่อสภาเมืองพัทยาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่แต่งตั้งประธานคณะกรรมการ ในกรณีที่คณะกรรมการไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ประธานคณะกรรมการรวบรวมผลการพิจารณา แล้ววินิจฉัยชี้ขาดและรายงานต่อสภาเมืองพัทยาโดยเร็ว

ถ้าสภาเมืองพัทยายังไม่เห็นชอบด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการ หรือผลการวินิจฉัยของประธานคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นอันตกไปและให้รัฐมนตรีสั่งยุบสภาเมืองพัทยา

 

มาตรา ๗๗  ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภาเมืองพัทยามีมติเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติใดให้ประธานสภาเมืองพัทยาส่งร่างข้อบัญญัตินั้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา

ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องพิจารณาร่างข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้เสร็จและส่งคืนประธานสภาเมืองพัทยาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติดังกล่าว

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งให้นายกเมืองพัทยาลงนามใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติต่อไป แต่ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบด้วยให้ส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยคืนไปยังสภาเมืองพัทยาเพื่อพิจารณาใหม่ ถ้าสภาเมืองพัทยามีมติยืนยันตามร่างข้อบัญญัติเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ให้ประธานสภาเมืองพัทยาแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและส่งร่างข้อบัญญัตินั้นให้นายกเมืองพัทยาลงนามใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติต่อไป

 

มาตรา ๗๘  ข้อบัญญัตินั้นให้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยาและให้มีผลใช้บังคับได้ ดังนี้

(๑) ถ้าเป็นข้อบัญญัติว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไปหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินั้น

(๒) ถ้าเป็นข้อบัญญัติอื่น ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันประกาศ เว้นแต่ข้อบัญญัตินั้นจะกำหนดไว้เป็นประการอื่น แต่ต้องไม่เร็วกว่าวันถัดจากวันประกาศ

ให้ปลัดเมืองพัทยาเป็นผู้รับผิดชอบในการประกาศข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง และให้ระบุวันที่ที่ประกาศไว้ด้วย

 

มาตรา ๗๙  ให้เมืองพัทยาจัดให้มีสำเนาข้อบัญญัติไว้ ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยาเพื่อให้ประชาชนตรวจดูได้ และหากประชาชนประสงค์จะได้สำเนาข้อบัญญัติใด ๆ ให้เมืองพัทยาจัดให้โดยคิดค่าตอบแทนได้ไม่เกินค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริงในการดำเนินการดังกล่าว

 

หมวด ๖

รายได้และรายจ่าย

                  

 

มาตรา ๘๐  ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และอากรการฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ในเขตเมืองพัทยา ให้เมืองพัทยาจัดเก็บเป็นรายได้ของเมืองพัทยาตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

 

มาตรา ๘๑  กิจการใดที่มีกฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลหรือนายกเทศมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการหรือกำหนดให้แบ่งรายได้ให้เทศบาล ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตเมืองพัทยา ให้เมืองพัทยาหรือนายกเมืองพัทยาเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการหรือให้เมืองพัทยาได้รับส่วนแบ่งรายได้ตามกฎหมายนั้นและบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้น ให้เป็นรายได้ของเมืองพัทยา

 

มาตรา ๘๒  เมืองพัทยามีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีอากรและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท ดังต่อไปนี้

(๑) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ซึ่งสถานประกอบการอยู่ในเขตเมืองพัทยา

(๒) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ซึ่งร้านขายสุราอยู่ในเขตเมืองพัทยา

(๓) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน ซึ่งสถานที่เล่นการพนันอยู่ในเขตเมืองพัทยา

ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้เศษของหนึ่งบาทให้ปัดทิ้ง

ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

 

มาตรา ๘๓  เมืองพัทยามีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ ให้เมืองพัทยาเก็บอัตราร้อยละศูนย์

(๒) ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น ให้เมืองพัทยาเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บเพิ่มขึ้นตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

 

มาตรา ๘๔  เมื่อเมืองพัทยาออกข้อบัญญัติตามมาตรา ๘๒ (๑) หรือมาตรา ๘๓ แล้ว ให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บภาษีดังกล่าวให้เมืองพัทยา

 

มาตรา ๘๕  เมืองพัทยาจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าตอบแทน หรือรายได้อื่นใด เพื่อเมืองพัทยาก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละหนึ่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง กรม นั้น ส่งมอบให้แก่เมืองพัทยา

 

มาตรา ๘๖  ในการปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ มาตรา ๘๑ หรือข้อบัญญัติที่ออกตามมาตรา ๘๒ (๒) หรือ (๓) ให้เมืองพัทยามีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ และให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

ในการบังคับเรียกเก็บภาษีค้างตามมาตรา ๘๐ มาตรา ๘๑ มาตรา ๘๒ (๒) หรือ (๓) หรือมาตรา ๘๓ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายกเมืองพัทยา ให้ปลัดเมืองพัทยามีอำนาจสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง แต่ถ้าจะขายทอดตลาดต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม

เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ให้หักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึดและขายและเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน

 

มาตรา ๘๗  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในจังหวัดชลบุรี ให้จัดสรรให้แก่เมืองพัทยาโดยให้ถือว่าเมืองพัทยาเป็นเทศบาล  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการนั้น

 

มาตรา ๘๘  ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้จัดสรรหรือแบ่งรายได้อันเกิดจากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต หรือค่าปรับใด ๆ ให้แก่เทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เมืองพัทยาได้รับส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวด้วย เช่นเดียวกับเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และเพื่อประโยชน์ในการนี้ ให้ถือว่าเมืองพัทยาเป็นเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น แล้วแต่กรณี

 

มาตรา ๘๙  เมืองพัทยาอาจมีรายได้อื่นดังต่อไปนี้

(๑) ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต หรือค่าปรับใด ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(๒) รายได้จากทรัพย์สินของเมืองพัทยา

(๓) รายได้จากสาธารณูปโภคของเมืองพัทยา

(๔) รายได้จากการพาณิชย์ของเมืองพัทยา

(๕) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตรเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังร่วมกัน และตราเป็นข้อบัญญัติแล้ว

(๖) เงินกู้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย และตราเป็นข้อบัญญัติแล้ว ถ้าเป็นเงินกู้จากต่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังด้วย

(๗) เงินอุดหนุนหรือรายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้

(๘) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ถ้าเป็นกรณีที่เงินช่วยเหลือดังกล่าวมีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังร่วมกันก่อน ถ้ากรณีไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ ให้รายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ

(๙) เงินช่วยเหลือและค่าตอบแทน

(๑๐) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้

(๑๑) รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของเมืองพัทยา

 

มาตรา ๙๐  การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนเมืองพัทยา ให้รัฐบาลตั้งให้เมืองพัทยาโดยตรง  ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของปริมาณงาน และรายได้ของรัฐที่ได้รับจากเมืองพัทยาด้วย

ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่เมืองพัทยา รัฐมนตรีจะออกระเบียบเพื่อกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้

 

มาตรา ๙๑  เมืองพัทยาอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้

(๑) เงินเดือน

(๒) ค่าจ้าง

(๓) ค่าตอบแทน

(๔) ค่าใช้สอย

(๕) ค่าวัสดุ

(๖) ค่าครุภัณฑ์

(๗) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

(๘) เงินอุดหนุน

(๙) รายจ่ายตามข้อผูกพัน

(๑๐) รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือข้อบัญญัติกำหนด

 

มาตรา ๙๒  การจ่ายเงินของเมืองพัทยา ให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

การจ่ายเงินที่มิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาประโยชน์ของเมืองพัทยา หรือการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย ในกรณีเช่นนั้น นายกเมืองพัทยาจะสั่งจ่ายเงินจากเงินสะสมไปก่อนก็ได้ แต่ต้องรายงานให้สภาเมืองพัทยาทราบในการประชุมครั้งแรกหลังจากการสั่งจ่ายเงินและให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินสะสมต่อไป  ทั้งนี้ การจ่ายเงินสะสมและการตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินสะสมให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อการใด จะโอนไปเพื่อใช้จ่ายสำหรับการอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะมีข้อบัญญัติให้โอนได้

การจ่ายเงินของเมืองพัทยาตามวรรคหนึ่ง หรือการนำเงินของกิจการที่เมืองพัทยาเป็นเจ้าของหรือเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในกิจการนั้น ไปใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของนายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมืองพัทยา สมาชิก เลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา หรือผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา จะกระทำมิได้[๓๑]

 

มาตรา ๙๓  เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้นายกเมืองพัทยาประกาศรายการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงพร้อมทั้งรายการผูกพันที่เบิกตัดปีงบประมาณไว้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สิ้นสุดปีงบประมาณ

ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี การเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ของเมืองพัทยา และทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอนายกเมืองพัทยาเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยาต่อไป

 

หมวด ๗

การกำกับดูแล

                  

 

มาตรา ๙๔  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยา เพื่อการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสั่งให้นายกเมืองพัทยาชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาได้

 

มาตรา ๙๕  บรรดาเรื่องที่เมืองพัทยาต้องเสนอไปยังรัฐมนตรีหรือกระทรวง ทบวง กรม ให้นายกเมืองพัทยารายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบด้วย ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะทำความเห็นเสนอรัฐมนตรี หรือกระทรวง ทบวง กรม แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้

 

มาตรา ๙๖[๓๒]  เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลตามมาตรา ๙๔ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า การปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาเป็นไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เมืองพัทยา หรือเสียหายแก่ราชการ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการชี้แจง แนะนำ หรือตักเตือนผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการดังกล่าว หรือในกรณีเห็นสมควรจะสั่งเพิกถอนการกระทำหรือให้ระงับการปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไว้ก็ได้ และในกรณีที่สั่งเพิกถอนหรือระงับ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด และเมื่อรัฐมนตรีวินิจฉัยเป็นประการใดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้น คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

เมื่อความปรากฏโดยมีหลักฐานตามสมควรต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่า นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา ประธานสภาเมืองพัทยา หรือรองประธานสภาเมืองพัทยาผู้ใด จงใจทอดทิ้งหรือละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่อันจะเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา ๙๖/๑[๓๓]  เมื่อผลการสอบสวนตามมาตรา ๙๖ วรรคสอง ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกสอบสวน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานให้รัฐมนตรีพิจารณาและสั่งให้ผู้ถูกสอบสวนพ้นจากตำแหน่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เพราะเหตุตายหรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี โดยในคำสั่งดังกล่าวให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้ และให้มีผลตั้งแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่ง แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีคำสั่งนั้น ถ้าในขณะที่มีคำสั่งดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย และให้ถือว่าวันที่สั่งให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

 

มาตรา ๙๗  ในกรณีที่เมืองพัทยาดำเนินการนอกเขตเมืองพัทยาตามมาตรา ๖๕ และกิจการนั้นมีลักษณะที่อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนในเขตเมืองพัทยา หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย หรือความปลอดภัยของประชาชนในเขตเมืองพัทยาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขหรือกระทำการใด ๆ ได้ตามสมควร ในกรณีที่เมืองพัทยาไม่ปฏิบัติตามและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกคำสั่งระงับการดำเนินกิจการดังกล่าวก็ได้

 

มาตรา ๙๘  เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเมืองพัทยาหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งยุบสภาเมืองพัทยาก็ได้

เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาเมืองพัทยา และให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย

 

มาตรา ๙๙  บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นสมควร จะทำหนังสือมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติแทนก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้เมืองพัทยาทราบและให้รายงานกระทรวงมหาดไทยทราบด้วย

 

บทเฉพาะกาล

                  

 

มาตรา ๑๐๐  ให้สมาชิกสภาเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง และให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๑๐๑  ให้ปลัดเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง และให้มีการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ในระหว่างที่ไม่มีนายกเมืองพัทยาตามวรรคหนึ่ง ให้ปลัดเมืองพัทยาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกเมืองพัทยาเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนกว่านายกเมืองพัทยาซึ่งได้รับเลือกตั้งจะเข้ารับหน้าที่

ในกรณีที่ไม่มีปลัดเมืองพัทยาตามวรรคสอง ให้หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกเมืองพัทยาเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราว จนกว่านายกเมืองพัทยาที่ได้รับเลือกตั้งจะเข้ารับหน้าที่

 

มาตรา ๑๐๒  ในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาหรือนายกเมืองพัทยาเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ ให้ยกเว้นไม่ต้องเรียกเก็บเงินประกันการสมัคร

ในการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา ให้ถือเขตเมืองพัทยาเป็นเขตเลือกตั้ง

ในกรณีที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยาในคราวเดียวกัน ให้ใช้หน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจคะแนน เจ้าหน้าที่คะแนน และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันก็ได้

ใบสมัครและบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา หรือนายกเมืองพัทยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทยอาจออกระเบียบกำหนดวิธีปฏิบัติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาหรือนายกเมืองพัทยาเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลได้

 

มาตรา ๑๐๓  ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และเงินงบประมาณของเมืองพัทยาที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไปเป็นของเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๑๐๔  ให้บรรดาพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นพนักงานเมืองพัทยาหรือลูกจ้างเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัตินี้

ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยา ให้การบริหารงานบุคคลของพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยาเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑

 

มาตรา ๑๐๕  ให้บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศของเมืองพัทยาและมติของเมืองพัทยาซึ่งออกโดยสภาเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ และใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และมติของเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๑๐๖  บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศในเรื่องใดที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ หรือที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือที่ใช้บังคับกับเมืองพัทยาหรือกิจการของเมืองพัทยา และใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศในเรื่องนั้น ตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใช้บังคับแทน

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน  หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น แต่เนื่องจากการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเมืองพัทยาในปัจจุบันซึ่งมีปลัดเมืองพัทยาทำหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาโดยสัญญาจ้างยังไม่สอดคล้องและเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ประกอบกับสมควรจัดระเบียบการปกครองเมืองพัทยาใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ และเพื่อให้เมืองพัทยามีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงิน และการคลัง สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

                     

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๓๔]

 

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยามีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน เป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน ทั้งสิทธิของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมควรเปิดกว้างให้เป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๕]

 

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๒๘  ให้นายกเมืองพัทยา ประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมืองพัทยา และสมาชิกสภาเมืองพัทยา ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๕/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๖๐ เรื่อง การแต่งตั้งนายกเมืองพัทยา ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา ลงวันที่ ๒๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา หรือสมาชิกสภาเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี โดยให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้ง หรือจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว

เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาหรือสมาชิกสภาเมืองพัทยาแล้ว ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเมืองพัทยาเป็นอันยกเลิก

 

มาตรา ๒๙  บทบัญญัติมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับกับนายกเมืองพัทยาซึ่งดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๓๐  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาเมืองพัทยา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา และผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเมืองพัทยา การพ้นจากตำแหน่งนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษา รวมทั้งการกระทำอันเป็นการต้องห้ามของนายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และสมาชิกเมืองพัทยา ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาและการกำกับดูแลเมืองพัทยา เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา และผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเมืองพัทยาที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีประสิทธิภาพ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม

๒๒ เมษายน ๒๕๖๒

 

พจนา/ตรวจ

๒๕ เมษายน ๒๕๖๒

 



[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๒๐ ก/หน้า ๒๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

[๒] มาตรา ๙ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔] มาตรา ๑๑ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๕] มาตรา ๑๒ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖] มาตรา ๑๓ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๗] มาตรา ๑๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๘] มาตรา ๑๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๙] มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๐] มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๑] มาตรา ๑๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๒] มาตรา ๑๙ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๓] มาตรา ๑๙ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๔] มาตรา ๒๐ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๕] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๖] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๗] มาตรา ๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๘] มาตรา ๔๓ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๑๙] มาตรา ๔๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๐] มาตรา ๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๑] มาตรา ๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๒] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๓] มาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๔] มาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๕] มาตรา ๕๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๖] มาตรา ๕๐ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๗] มาตรา ๕๐ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๘] มาตรา ๕๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๙] มาตรา ๕๒ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๐] มาตรา ๖๒ (๖/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๑] มาตรา ๙๒ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๒] มาตรา ๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๓] มาตรา ๙๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑๓/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

[๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๒๐/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒



Tags : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view